สัญญะสีขาว


ภาพของนักปฏิบัติธรรมสำนักใหญ่แห่งหนึ่ง ใส่ชุดสีขาวสุดลูกหูลูกตา
ทุกคนใส่เสื้อสีขาวที่ถูกกำหนดให้ นั่งสมาธิเป็นระเบียบเรียบร้อย นั่นคือ
สัญญะแทนความบริสุทธิ์ แต่ก็ไม่ใช่แค่สำนักนี้สำนักเดียวที่ใช้สีขาวเป็น
สัญญลักษณ์ แต่มีการใช้สีขาวนี้กับเกือบทุกสำนัก แต่ก็ใช้กับฆราวาสคนบ้าน
ไม่ใช่พระสงฆ์พระสงฆ์นั้นล้วนใส่หลากสีพอสมควร เช่นมหานิกายสีส้ม ธรรมยุติ
สีแก่นขนุน และสีรวม ๆ สีพระราชนิยมออกไปทางแก่นขนุน และก็มีสีปลีกย่อย
เช่นกรักแดง กรักดำ แต่ ก็ไม่ใช่สีขาว

ย้อนหลังกลับไปยุคสมัยที่ต้องรวมศูนย์อำนาจไว้ยังที่แห่งเดียว ก็มีกรณี
ครูบาศรีวิชัย ได้บวชให้กับลูกศิษย์ตามประเพณีภาคเหนือ ซึ่งไม่ได้รับอนุญาต
จากส่วนกลาง ทำให้พระนั้นต้องใช้สีขาวแทน เช่นครูบาขาวปี ครูบาคำปัน

ภาพ ครูบาคำปัน

ภาพ ครูบาขาวปี
ส่วนพระที่ห่มผ้าขาว ก็มีวัตรปฏิบัติแบบพระสงฆ์ตามปกติ มีเพียงอย่างเดียว
ก็คือการครองสีขาว ในความศรัทธาของสาธุชน ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงกลับมี
ศรัทธามากขึ้น กรณีตัวอย่างของครูบาขาวปี ท่านก็ดำเนินรอยตามพระครูบาศรีวิชัย
อย่างเคร่งครัด เช่น ฉันมังสวิรัติ บูรณะก่อสร้างศาสนสถาน กรณีนี้เป็นการใช้สีขาว
เพื่อเป็นสัญญะชนิดหนึ่ง สามารถแทนความเป็นพระตามปกติ เป็นสัญลักษณ์ว่าเมื่อ
ถูกอธิกรณ์ คือ ภาระกิจที่คณะสงฆ์ต้องทำให้เสร็จเรียบร้อย เมื่อเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ
โดยใช้หลักระงับที่เรียกว่า อธิกรณสมถะ 7 ดังนี้คือ

  1. สัมมุขาวินัย ตัดสินในที่พร้อมหน้าทั้ง โจทย์และจำเลยพร้อมพยาน ตามพยานหลักฐาน
  2. สติวินัย ถือสติเป็นหลัก การยกเลิกความผิดเพราะเป็นพระอรหันต์หรืออริยบุคคลที่จะไม่ทำผิดวินัยในข้อนั้นได้
  3. อมูฬหวินัย ผู้หายจากเป็นบ้า การเลิกความผิดเพราะผู้กระทำผิดนั้นวิกลจริตหรือเป็นบ้า
  4. ปฏิญญาติกรณะ ทำตามที่รับ การตัดสินตามการยอมรับผิด คำสารภาพของผู้กระทำผิด
  5. ตัสสปาปิยสิกา ลงโทษแก่ผู้ผิดที่ไม่รับ การลงโทษพยานผู้ที่ไม่ยอมพูดในการสอบสวนของคณะสงฆ์
  6. เยภุยเยสิกา การตัดสินตามมติเสียงข้างมาก
  7. ติณวัตถารกะ ดุจกลบไว้ด้วยหญ้า วิธีประณีประนอม การตัดสินยกฟ้อง เลิกแล้วต่อกัน

กรณีอธิกรณ์บางอย่างต้องดำเนินการตามกฎหมายที่ต้องจำคุก มีความจำเป็นที่ต้องถอดผ้าเหลือง
ก่อน เช่นกรณีพระพิมลธรรม ซึ่งท่านได้พิสูจน์ในตอนหลังได้ว่าท่านบริสุทธิ์ และกรณีพระโพธิรักษ์
ที่ไม่ได้เปล่งวาจาลาสิกขา และถูกฟ้องคดี เพื่อไปตั้งนิกายใหม่ ก็ใส่ผ้าสีขาวในตอนนั้น


การใส่สีขาวในกรณีศิษย์ของครูบาศรีวิชัย เป็นการครองสีขาวเป็นการถาวรโดย
ไม่ได้คำนึงว่าจะมีผู้นับถือศรัทธาว่าเป็นพระหรือไม่ ส่วนการครองชั่วคราวในกรณีหลัง
เป็นการครองโดยการถูกคดีแบบชั่วคราว โดยพระพิมลธรรมได้รับความเป็นธรรมภายหลัง
แต่ในระดับการปฏิบัติธรรมเข้มข้นเช่นเดียวกับพระอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากกรณีที่นำเสนอ
เหล่านี้เป็นกรณีดังถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์เช่นกัน

Sign หรือ Icon ที่เป็นผ้านุ่งสีขาว มีความหมายถึงความบริสุทธิ์ใจของตนเอง
เช่นเดียวกับกรณีกูรูของอินเดีย คือ ศรีสัตยา ไส บา บา ตอน
ที่ท่านมีปัญหาเกี่ยวพันกับคดี ท่านก็เปลี่ยนจากสีส้มมาเป็นสีขาวเช่นเดียวกัน

โดยปกติแล้วนักบวชพุทธส่วนใหญ่ไม่ใส่สีขาว มีกูรูหลายท่านอธิบายว่าสาเหตุ
ที่ไม่ใช้สีขาว ก็เพราะว่า เป็นสัญลักษณ์ของศาสนาพราหมณ์ และศาสนาอื่น ๆ
สีของนักบวช จึงมีความหมายจากสีหลายสีดำแดงเหลือง ไปสู่สีขาว ดังนั้นการ
กำเนิดนักบวชหญิงที่ครองสีขาวมีศักดิ์แค่แม่ชี แต่ถ้าได้บวชเป็นสิกขมานา เป็น
สามเณรี เป็นภิกษุณี ก็จะได้ครองผ้าสี ซึ่งมีความหมายที่สูงกว่า เช่นนักบวชชาย

ดังนั้นการครองผ้าสีขาว จึงเป็นสัญญะว่าอยู่ในฐานะที่ต่ำกว่า ดูไม่ใช่พระ ในระดับ
การต่อสู้เพื่อสิทธิและความเสมอภาค สิ่งที่เปลี่ยนแปลงภายนอกเพียงอย่างเดียว
คือ "สี" เท่านั้น ดังนั้น "สี" จึงเป็นอำนาจและการต่อสู้ เพื่อจะนิยามความหมาย
และสีขาวในระดับนักบวชนอกจากมีความหมายว่านอกศาสนาแล้ว ยังหมายความ
ถึงคนที่ยังไม่ได้บวช ซึ่งจะใส่สีขาว ในฐานะที่เป็นอุบาสก อุบาสิกา

ส่วนในอินเดีย นักบวชจะบวชสีอะไรก็ได้ เป็นเสรีภาพ มีทั้งแบบมีสังกัดศาสนาใหญ่ ๆ
หรือเป็นอิสระต่างคนต่างใส่สีอะไรมีทุกสี แถมยังมีศาสนาเชน ที่ไม่ต้องนุ่งห่มอะไร
เป็นสัญญะว่าบรรลุจุดสูงสุด ด้วยการไม่ยึดติดวัตถุใด ๆ

นักบวชศาสนาเชน นิกายดั้งเดิม ที่ไม่นุ่งผ้า เป็นสัญญะแห่งการบรรลุธรรม

นักบวชศาสนาเชน อีกนิกายหนึ่ง นุ่งห่มสีขาว ซึ่งมีนักบวชสตรีเช่นเดียวกันก็นุ่งห่มสีขาว


นักบวชศาสนาพราหมณ์ ใช้สีขาวเป็นสัญลักษณ์ แทนความบริสุทธิ์
(ยังมีต่อ)





































คำสำคัญ (Tags): #สีขาว
หมายเลขบันทึก: 591057เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2015 20:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2015 20:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท