ปราชญ์ชาวบ้านด้านวัฒนธรรม บุญส่ง อินทยารัตน์


ประวัติบุคคลสำคัญในชุมชน

ปราชญ์ทางวัฒนธรรมไทยสานสายใยชุมชน


นายบุญส่ง อินทยารัตน์

ต.ท่าข้าม อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร ๘๖๑๔๐

มือถือ ๐๘๖ ๒๗๐ ๐๘๗๔

นายบุญส่ง อินทยารัตน์ อดีตครู โรงเรียน

ท่าข้ามวิทยา ต.ท่าข้าม อ.ท่าแซะ จ. ชุมพร

ได้ลาออกมาเพื่อจะได้มีเวลาทำงานให้กับสังคม

มากขึ้น เนื่องจากต้องเข้าไปเป็นคณะกรรมการ

ต่าง ๆ ในชุมชน อำเภอและจังหวัดมากมาย

นายบุญส่ง อินทยารัตน์ เป็นบุคคลเดียวในอำเภอท่าแซะที่สามารถเก็บข้อมูลและเล่า ประวัติศาสตร์จังหวัดชุมพรได้ทุกอำเภอ เนื่องจากท่านเป็นคนรุ่นเก่า รุ่นก่อน และในวัยเด็กได้อยู่ในเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมชุมพร

ครูบุญส่ง เป็นปราชญ์ชาวบ้าน ที่คนท่าแซะ ใคร ๆ ต้องรู้จัก โดยเฉพาะทางวัฒนธรรมจังหวัดชุมพร ท่านเติบโตมาพร้อม ๆ กับการเปลี่ยนแปลงของสังคมชุมพร แต่ละยุคแต่ละสมัย และเป็นผู้สนใจเกี่ยวกับโบราณสถานโบราณวัตถุต่าง ๆ ของจังหวัดชุมพร แต่ความที่ท่านเป็นคนอำเภอท่าแซะ ทำให้ท่านมีความรู้เกี่ยวกับอำเภอท่าแซะและความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทางวัฒนธรรม อย่างละเอียด

การเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ของ คุณครูบุญส่ง เกี่ยวกับจังหวัดชุมพร ดังนี้

ชื่อชุมพร ใช้สัญลักษณ์ อุทุมพร ซึ่งอุทุมพรคือ ต้นมะเดื่อใหญ่ ปัจจุบันคือ มะเดื่อชุมพร ซึ่งคำว่าอุทุมพร ตามหนังสือหมายถึง ประตูที่เดินผ่านไปมา

ในอดีตพื้นที่ดอนจะเป็นพื้นที่ทะเลทั้งหมด ตั้งแต่ปะทิว สะพลี ถึงควนทราย (ท่าแซะ) ไปจนถึง รับร่อ กิโล 18 ทะลุไปจนถึงหินกองทะลุอันดามันที่ปากจั่น เป็นเกาะอันดับที่ 12 ในอดีตเมื่อ 2000 ปีมาแล้วมี น้ำทะเลซัดสาด ถือว่าเป็นพื้นที่ทะเลทั้งหมด

จังหวัดชุมพรในอดีตเป็นที่อยู่ของอารยธรรมของมนุษย์ยุคหิน เมื่อ 8000 ปีผ่านมาพบซากหม้อดิน โครงกระดูกต่าง ๆ อารยธรรมนุษย์ชุมพรมีความเก่าแก่ที่สุด ซึ่งศิลปากรยอมรับ อำเภออื่น ๆ ที่ถือว่าเป็นเมืองประวัติศาสตร์คือ พะโต๊ะ , ละแม ซึ่งเราพยายามหาประวัติศาสตร์ อำเภอละแม หลังสวนพบว่าเป็นเมืองโบราณทั้งหมด ตั้งแต่มนุษย์ยุคหิน เมืองอุทุมพร ภารกิจของอุทุมพร จากมนุษย์ยุคหินมาเป็นสังคมมนุษย์ที่มีการจับกลุ่ม มาเป็นสังคมกลุ่มต่าง ๆ เช่น กลุ่มหลังสวน กลุ่มท่าแซะ กลุ่มปะทิว แต่ไม่ฟันธงว่าอุทุมพรก่อเกิดที่ไหน มีมาแต่สมัยอาณาจักรทราวดี ปี 1098 ซึ่งยุคที่เกิดจตุคามรามเทพนั้น พบว่ามีเมืองอุทุมพรแล้ว ตรงกับประวัติศาสตร์ของศรีวิชัย พระยาศรีธรรมโศก ขณะนั้นชุมพรเป็นเมืองอุทุมพรแล้ว ยุค 1700 ปี มีเมืองอุทุมพรแล้ว ทำหน้าที่เป็นเมืองหน้าด่านชั้นเหนือ หรือเรียกว่าเมืองแพรก ถ้ากองทัพผ่านอุทุมพรได้ อุทุมพรอยู่ในฐานะอะไร อุทุมพรใช้แพะนามเมือง ภาพสลักบนหินเป็นโลโกของพระศรีธรรมโศก ซึ่งถือว่าเป็นอาณาจักรของพระศรีธรรมโศก

อุทุมพรในสมัยสุโขทัย อารยธรรมทางเหนือมาสู่อุทุมพรแล้ว ที่ปะทิวพบว่ามีอารยธรรม อโยธยา พิพิธภัณฑ์ละแม รับร่อ เขาสามแก้ว จะมีศิลปะในสมัยสุโขทัยอยู่ ซึ่งถือว่าเป็น สังคโลกสมัย พ่อขุนรามคำแหง ยุคอโยธยา พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้แผ่อาณาจักร ถึงแหลมมลายู ต่อมาเจ้าศรีธรรมโศกได้ตีหลวง พระบาง อโยธยา เอาพี่น้องชาวอุทุมพรไปทำนาที่บ้านแพรก อ. สวี

อโยธยา ตอนปลาย อโยธยาแตกใน 2510 เกิดก๊ก ทับกรุง (ธนบุรี) ให้เดินทัพไปปราบแก๊ง ชายคนหนึ่งบ้านอยู่ปะทิวตำบลบางสน ชื่อนายมั่น รวบรวมเกณฑ์คน 5 คน ร่วมเป็นทหารรบ ชนะ จนกองทัพถอยไป ต่อมานายมั่นได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระยาชุมพร และเลื่อนเป็นพระยาเพชรกำแหงสงคราม

สมัย ร.6 ให้ทุกคนตั้งนามสกุล นามสกุลแรกคือ สี่ยัง

ร. 5 รัตนโกสินทร์ สั่งยุบท่าแซะให้เป็นอำเภอ ยุบปะทิว ยุบสวี ให้ขึ้นกับมลฑลชุมพร ยุคพะโต๊ะ หลังสวน รวมกับท่าชนะไชยา ขึ้นกับมลฑลสุราษฎร์ อดีตชุมพรทุกอำเภอคือ เมือง เมื่อมีผู้ว่าราชการจังหวัด ตำแหน่งพระยาสงครามก็เปลี่ยนไป เจ้าเมืองชื่อเก่า ๆ คือ ออกยา ผู้ดูแลความเรียบร้อยของท้องน้ำและคลื่นลมอันกว้างใหญ่ เรามีศักดิ์ศรีในการดูแลอาณาจักรศรีวิชัย 100 เปอร์เซ็นต์ ต่อมาเมืองอุทุมพรเปลี่ยนแปลงไปเปลี่ยนแปลงมา ก็มาอยู่ที่ อู่ตะเภา

อาณาจักรอุทุมพร กินทะเลตะวันออกถึงทะเลตะวันตก ฉะนั้นเมืองตะนาวศรี เมืองทวาย คืออุทุมพรทั้งนั้น ศิลาจารึกที่พบที่ถ้ำรับร่อ มีแกะสลักเป็นเรือตะเภา รูปแพะ รูปช้าง เป็นโลโกของเมืองอุทุมพร มีต้นมะเดื่อ ที่ถ้ำรับร่อ พบหลายอย่าง มีหลักเมืองที่สร้างในยุคพระศรีธรรมโศก ในพิพิธภัณฑ์มีพี่น้องชาวรับร่อคนหนึ่งเอาดาบมาให้ แต่ไม่ใช่ดาบฆ่าฟัน แต่เป็นดาบกายะสิทธิ์ ซึ่งพระศรีธรรมโศกให้พี่น้องไปครองเมืองสงขลา

ประเพณีที่เป็นสัญลักษณ์ของชุมพร 1) งานขึ้นธรรมรับร่อ และ 2) งานแห่พระแข่งเรือ อ. หลังสวน ตรงกับวันออกพรรษา (งานขึ้นถ้ำรับร่อ ตรงกับวันแรม 14 ค่ำ เดื่อน 5 ซึ่งเป็นวันเดือนขาด)

นี่คือ เรื่องเล่าที่ออกจากการเล่าของนายบุญส่ง อินทยารัตน์ ทั้งหมด ไม่ได้คัดลอกมาจากหนังสือใด ๆ ทั้งสิ้น


นายบุญส่ง เป็นบุคคลสำคัญ ทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะโบราณวัตถุของอำเภอท่าแซะ ซึ่งทางสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชุมพร ได้ยกย่องเป็นบุคคลต้นแบบทางวัฒนธรรม เรื่องประวัติศาสตร์เมืองชุมพร จึงได้รับการยกย่องและเชิดชูเกียรติ ให้เป็นที่รู้จักกันทางด้านวัฒนธรรม ของจังหวัดชุมพร

คำสำคัญ (Tags): #้รับร่อ ,ท่าแซะ
หมายเลขบันทึก: 591053เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2015 16:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2015 16:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท