หลงทะเล: ชาวพุทธไทย และความมีมนุษยธรรม


หลักการของชาวพุทธในเรื่องความเมตตากรุณาที่จะช่วงพวกโรฮิงยาได้หายไป แต่ชาวพุทธใช้หลักการความสงบมาทำให้พวกโรฮิงยากลับคืนสู่มหาสมุทร (โดยที่ไม่มีจิตใจเรื่องความเมตตากรุณาเลย)

อุปลักษณ์ที่เป็นรู้จักดีในหมู่ชาวพุทธมากที่สุดก็คือเรื่องทุกข์ภัยในวัฏสงสาร ก็คือ การว่ายในทะเลอย่างไม่มีวันสิ้นสุด ดังนั้นมันจึงเป็นสิ่งที่น่าเยาะเย้ยว่า ภาพที่น่าทนทุกข์ทรมานของประชาชนที่อยู่บนเรือนับพันๆคน กลับได้รับความน่าเห็นใจน้อยมากในหมู่ชาวพุทธ, ถึงแม้ว่าบทสวดที่ท่องอยู่ซ้ำๆซากว่า พวกมนุษย์ที่อยู่บนเรือนั้นกำลังทุกข์ทรมานอยู่ก็ตาม

วิกฤตการณ์เกี่ยวกับมนุษยธรรมที่กำลังดำเนินอยู่ก่อให้เกิดคำถามที่น่ากังวลเกี่ยวกับสภาวะของพุทธศาสนาในเมืองไทย ข้อถกเถียงที่ปรากฏขึ้นในสื่อสังคมในเรื่องประเทศไทยควรจะช่วยพวกโรฮิงยาด้วยมนุษยธรรม กับสิ่งที่น่ากังวลเกี่ยวกับทรัพยากรของประเทศและความปลอดภัย ควรจะเลือกอะไรดีกว่ากัน

สิ่งนี้ช่างน่าประหลาดใจ ในประเทศ ที่ 94 % ของประชากร ต่างอ้างว่า เป็นคนเคร่งศาสนามากกว่าประเทศอื่นๆ หลักการของชาวพุทธ เช่น เมตตา, กรุณา ไม่ได้นำมาใช้ปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือชีวิตของมนุษย์อื่นๆ ในทางตรงกันข้าม ก็มีหลักการของชาวพุทธอีกอันหนึ่ง เช่น อุเบกขา ได้รับการนำมาใช้ เพื่อเป็นเหตุผลในการผลักพวกโรฮิงยาไปที่ทะเล แม้กระทั่งพวกเขาได้ถูกซื้อขายโดยเพื่อนมนุษย์ชาวไทยก็ตามความมีเมตตา, กรุณา, อุเบกขา จริงๆแล้วต่างก็เป็นกลุ่มของหลักธรรมที่ชื่อว่าพรหมวิหาร ตามคำบรรยายที่สืบทอดกันมา หลักการทั้งสี่ อันได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขานั้น ก็เปรียบเหมือนกับความผูกพันของแม่ต่อลูกๆ ใน 4 ช่วงของชีวิต ตั้งแต่เด็กทารก, เด็กที่ป่วย, วัยรุ่นที่มีความสุขกับชีวิต, และผู้ใหญ่ที่ยุ่งอยู่กับเรื่องราวของตนเอง

ถึงแม้ว่าการจะเลือกข้อใดข้อหนึ่งของหลักพรหมวิหารต้องเป็นไปตามเหตุการณ์นั้นๆ แต่เห็นได้ชัดเจนว่าพวกโรฮิงยาสมควรได้รับความเมตตา มากกว่าความเซื่องซึม หรือความเฉยเมย

ถ้ามีเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้น การทดสอบที่เป็นจริงในเรื่องความเมตตา และความกรุณา ก็ตอนที่ความโชคร้ายตกลงมากับคนที่เรามีความคิดไม่ตรงกับพวกเขาหรือไม่ชอบหรือรังเกียจเขา, มีความสุขเมื่อพวกเขาพบกับความสุข และมีอุเบกขากับความทุกข์ยากตกลงมาที่เราหรือคนที่เรารัก ไม่ใช่ตรงกันข้ามจากนี้

การเลือกว่าจะมีความเมตตาเพียงแค่การเมตตานั้นจะตอบสนองผลประโยชน์ของตนเองได้ เรียกว่า เห็นแก่ตัว ไม่ใช่ความไม่มีตัวตน หรืออนัตตา ที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน

การจำกัดความกรุณาเพียงเพื่อให้เห็นแก่ผู้รักชาติ เป็นเพียงพวกชาตินิยม แต่พวกนั้นก็ไม่ใช่คนที่มีศรัทธาต่อศาสนาในโลก จริงๆแล้ว สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนว่า ข้อแต่ละข้อในพรหมวิหารจะต้องประยุกต์ใช้ทั้ง 4 ข้อ โดยปราศจากการแบ่งแยก

ในพระพุทธศาสนาแบบเถรวาท พระนิพพานและทางไปสู่พระนิพพานบ่อยครั้งที่จะถูกถือว่าลดทอนสิ่งต่างๆลง ราวกับว่าการลดทอนความโลภ, ความโกรธ, และความหลง สิ่งนี้จะทำให้การตรัสรู้เป็นเหมือนกับการแช่แข็ง และไม่มีเลือกเนื้อ แต่นี่เป็นวิธีการเดียวที่จะบรรยายพระนิพพานได้

ใน "ความเมตตาและความกรุณา ก็เหมือนกับวิธีการที่จะไปถึงซึ่งพระนิพพาน ในพุทธศาสนายุคแรกๆ" Richard Gombrich ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญภาษาบาลี กล่าวว่า พรหมวิหาร คือ การบรรยายเชิงบวก ที่เป็นวิถีไปสู่พระนิพพาน เป็นทั้งจริยธรรม, สมาธิ, และความเข้าใจ ศาสตราจารย์ Gombrich เขียนไว้ว่า " ทัศนะแบบประเพณีที่มีต่อสารของพระพุทธเจ้า และสถานะในประวัติศาสตร์เป็นเรื่องที่ผิด: นอกเหนือจากการสอนที่ว่าวิธีการเดียวที่จะแก้ปัญหาของชีวิตก็คือลดทอนซึ่งอารมณ์ แต่พระพุทธเจ้าก็เป็นบุคคลผู้ซึ่งพบวิธีการที่จะหลุดพ้นจากอารมณ์ โดยการใช้อารมณ์ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การใช้อารมณ์ทำลายซึ่งความเห็นแก่ตัวออกไปซะ นั่นเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าผู้นำความเมตตาและกรุณามาอยู่ในศาสนาของชาวอินเดีย"

ความมีมนุษยธรรม ตั้งอยู่บนหลักการที่ว่าชีวิตมนุษย์แต่ละคนมีคุณค่าภายในอย่างเท่าเทียมกัน ดังนั้นพวกโรฮิงยา ในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่ง ควรได้รับการช่วยเหลือ ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นมนุษย์ปิงปอง ที่เร่ไปตามทะเลอย่างทุกวันนี้ (ทั้งนี้ไม่ต้องไปถามถึงรากเหง้าที่มา และเหตุผที่ออกจากเมือง)

ในขณะที่ประเทศไทยต้องการที่จะคิดถึงตนเองว่าเป็นศูนย์ของพุทธศาสนา และกำลังวุ่นวายกับกาฉลองกับวันวิสาขบูชา ถ้าเข้าใจไม่ผิดแล้วหละก็ ไม่มีองค์ของชาวพุทธใดๆ หรือวัดใดๆ จะมีน้ำเสียงเพื่อเห็นแก่มนุษย์ที่น่าสงสารเหล่านี้ สิ่งนี้แตกต่างอย่างกันข้ามสำหรับการบริจาคสำหรับแผ่นดินไหวในเนปาล

เมื่อโรฮิงยากำลังไปขอความช่วยเหลือนาๆประเทศ พวกเราในประเทศนี้จะต้องคิดให้จงหนักว่า สมควรจะเป็นเวลาที่จะส่งออกการช่วยเหลือในนามของความเป็นมนุษย์ชาวไทย และพุทธศาสนาที่กำลังหลงอยู่ในทะเลได้แล้วหรือยัง (แปลว่าเราจะร่วมทุกข์ร่วมสุขกับพวกเขาได้แล้วหรือยัง)

มาจาก

Paisarn Likhitpreechakul. (2015). Lost at Sea: Thai Buddhism and humanitarianism

http://www.nationmultimedia.com/opinion/Lost-at-Sea-Thai-Buddhism-and-humanitarianism-30261341.html

หมายเลขบันทึก: 590797เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2015 19:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2015 19:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท