ระวังการใช้ AND ให้ถูกต้องด้วย


ได้มีโอกาสอ่านบทคัดย่อภาษาอังกฤษของพวกเราคนไทยกันอยู่เรื่อยๆ แล้วพบว่าพวกเรามีจุดอ่อนในการใช้ตัวเชื่อมตัวนี้เป็นอย่างยิ่ง แทบจะพบได้ในทุกครั้งที่ได้อ่านทีเดียว และเท่าที่สังเกตจะพบว่าเป็นการใช้ผิดแบบที่เจ้าของภาษาเองเขาจะไม่ใช้ผิดแบบเรา อาจจะเป็นเพราะเป็นสิ่งที่สามัญมากสำหรับการใช้คำๆนี้นั่นเอง

สิ่งที่เห็นชัดมากๆก็คือ ความไม่สอดคล้องกันระหว่าง AND ที่เราคนไทยทั่วไปอาจจะไม่ได้สังเกตเห็น แต่เราๆที่อ่านภาษาอังกฤษจากเจ้าของเป็นประจำจะคุ้นกับความสอดคล้องนี้ ทำให้เวลาเราเขียนจะถูกต้องไปโดยอัตโนมัติ และเวลาเห็นคนไทยเราเองเขียนแบบไม่สอดคล้อง เราก็จะรู้สึกได้ทันที เพราะอ่านปั๊บก็สะดุดปุ๊บทันที จึงคิดว่าเป็นสิ่งที่น่าจะเอามาเน้นกันสักหน่อย น่าแปลกที่ตัวเชื่อมอื่นๆในภาษาอังกฤษนั้นเราจะใช้ผิดน้อยกว่านี้ (เอ๊ะ หรืออาจจะเป็นเพราะเราใช้คำอื่นๆน้อยกว่านะคะ)

สำหรับข้อควรจำที่เป็นหลักๆของการใช้คำเชื่อม ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า conjunction นี้ ชอบคำอธิบายง่ายๆที่ testDEN ค่ะ รู้สึกว่าเขาอธิบายอะไรไว้เข้าใจง่ายๆดี ใครที่อยากเตรียมตัวสอบภาษาอังกฤษทั้งหลายน่าจะใช้เป็นแหล่งฝึกฝนได้นะคะ

สำหรับ AND เป็นตัวเชื่อมแบบที่เรียกว่า Coordinating conjunction ซึ่งเขาอธิบายการใช้ไว้ว่า


"Coordinating conjunctions join together words or clauses of equal importance.
They are and, but, nor, or, for, so and yet.
The coordinating conjunctions and, but, nor and or always join words or word groups of the same kind: two or more nouns, verbs, adjectives, adverbs, phrases, independent clauses and dependent clauses."

สรุปได้ว่า Coordinating conjunctions ซึ่งมีดังนี้คือ and, but, nor, or, for, so และ yet ใช้เพื่อเชื่อมคำหรือวลีที่สำคัญเท่ากัน

สำหรับสี่ตัวนี้คือ and, but, nor, or จะใช้เชื่อมคำหรือกลุ่มคำที่เป็นชนิดเดียวกัน นั่นคือ คำนามกับคำนาม คำกริยากับคำกริยา คำคุณศัพท์กับคำคุณศัพท์ คำวิเศษณ์กับคำวิเศษณ์ วลีกับวลี

จุดนี้แหละค่ะเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่เราจะผิด เพราะเท่าที่พบคือ คนไทยเรามักจะเขียนตัวหน้า and กับหลัง and เป็นคำคนละชนิดกันโดยไม่ได้คิดอะไร ในขณะที่เจ้าของภาษาเขาใช้แบบคู่กันโดยธรรมชาติ (เหมือนกับที่ตัวเองก็ใช้แบบธรรมชาติเหมือนกันค่ะ มารู้กฎเอาทีหลังนี่แหละ grammar มาทีหลัง หลังจากที่เราชินกับการใช้แล้วนั้นดีกว่าตรงนี้เอง คนไทยเราเรียนกันมาผิดวิธีนี่แหละค่ะ ทำให้มีปัญหาเยอะ...บ่นความในใจอีกตามเคย)

เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะทำให้เขียนไม่ผิด ใช้ไม่ผิดก็คือ ดูว่าสิ่งที่เราเขียน หน้าหลัง AND นั้นเป็นคำชนิดเดียวกันหรือไม่กันด้วยนะคะ

ตัวอย่างที่ผิดอันนี้ ลองแก้กันดูนะคะว่าที่ถูกควรเป็นอย่างไร

"The basic data summary is presented and interpretation."

หมายเลขบันทึก: 590342เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2015 18:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2015 18:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณค่ะ รื้อฟื้นภาษาอังกฤษค่ะ ทิ้งไปนาน ค่ะ

I think we Thais have this 'how to use and' problem because we are not paying enough attention to grammar (for Thai and hence for English). We don't learn (in school) how to analyze clauses grammatically. Had we learn Pali (the Buddhist language) in school, we would have had a firmer base to learn English (and Spanish and French and Italian and so on). We would have had awareness of time (or tenses), number (plurality), gender, and so on. These details in several aspects could make us better thinkers and learners!

เห็นด้วยกับคุณ sr มากเลยค่ะว่าคนที่ใส่ใจกับเรื่องพวกนี้จะเป็นคนที่ช่างคิด ใฝ่เรียนรู้

ได้พยายามทำความเข้าใจกับการที่คนใช้กันผิดๆและหาวิธีที่จะทำให้จำวิธีการใช้ได้ง่ายๆ เมื่อก่อนก็ไม่ได้สังเกตว่าการที่คนไทยใช้ภาษาอังกฤษไม่ถูก grammar เพราะอะไร แต่พอเห็นบ่อยๆและพยายามคิดหาวิธีที่จะช่วยให้ไม่ผิดถึงเข้าใจขึ้นเรื่อยๆนะคะว่า การเรียนภาษาในแบบที่ใช้มาของบ้านเรานี่แหละตัวปัญหาจริงๆ แทนที่จะเรียนการฟังการพูดให้เป็นธรรมชาติ ไปเริ่มที่กฎเกณฑ์ซึ่งทำให้การเรียนภาษากลายเป็นเรื่องยากกันไปเสีย ทั้งที่เราเรียนภาษาก็เพื่อการสื่อสารนะคะ ทำได้เรื่อยๆก็คือการหาวิธีช่วยแก้แบบที่จำได้ง่ายๆนี่แหละค่ะ

เรียนภาษาอังกฤษมานานหลายปี แต่ก็ให้คะแนนเต็ม 10 แค่ 3 ขอบคุณนะครับ เป็นความรู้ใหม่สำหรับผมมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท