นุชรัตน์
ดร. นุชรัตน์ ประสิทธิศิลป์ชัย

ถอดบทเรียน - ชุมชนนักปฏิบัติ PBL กลุ่มดอนจาน


กระบวนการนิเทศ เป็นเรื่องสำคัญไม่ได้น้อยกว่าเรื่องอื่นๆ เลย บางท่านบอกว่า ถึงแม้ว่าการสอนแบบนี้จะดีและได้ผลมาก แต่ว่าอาจจะไม่ทำต่อ เพราะ ผอ.บอกว่า ต้องดูทีวีทางไกลผ่านดาวเทียม

กลุ่มครูในดอนจาน (14 คน / โรงเรียน) เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการพัฒนาให้เกิดการจัดกิจกรรมแบบ PBL ทำไม ต้องเป็นที่นี่ .เพราะ กลุ่มดอนจาน เป็นพื้นที่การนิเทศเฉพาะ ที่ ศึกษานิเทศก์ สามารถวิเคราะห์ สภาพ ปัญหา และพัฒนาครูให้สอดคล้องกับบริบท ได้ .(ในเขตพื้นที่ฯ ของ สพป.กส.1 ต้องสนองนโยบายบายของ สพฐ. , สพป. , ประสาน นิเทศการทำงาน ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีแนวปฏิบัติเดียวกันทั่วประเทศ เช่น เรื่องที่รับผิดชอบ จะมี โรงเรียนขนาดเล็ก (คละชั้น) ทีวีทางไกลผ่านดาวเทียม ห้องสมุด ที่ต้องทำภายใต้นโยบายเดียวกัน )

หลังจากได้วิเคราะห์ปัญหาร่วมกัน และ เลือกที่จะพัฒนาครูให้ สามารถจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้วยรูปแบบ โครงการ/โครงงาน หรือ PBL (เป้าหมาย คือในการจัดกิจกรรมครูต้องเปลียนพฤติกรรมการสอนเป็น coach พี่เลี้ยง ผู้อำนวยการ ยกเลิก การบรรยาย บอกความรู้ สอนเนื้อหา)

ภาพการทำงาน เริ่มต้นเมื่อภาคเรียนที่ 2/2557 เป็นต้นมา อ่านรายละเอียดได้ที่นี่

และในครั้งนี้ วันที่ 11 - 12 พฤษภาคม 2558 จึงเป็นวันนัดหมายเพื่อถอดบทเรียน ของ "ชุมชนนักปฏิบัติการสอน PBL
(คิดว่าน่าจะใช้คำพูดนี้ได้เต็มปาก เต็มคำแล้วค่ะ โดยเรานัดหมายกันที่ โรงแรมริมปาว โรงแรมอันดับ 1 ของจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นกัลยาณมิตรในการพัฒนาครูของดิฉัน ที่ มักจะไปใช้คำขอร้องว่า มีเงินเพียงแค่นี้ ทำได้ไหม และไม่เคยผิดหวัง ก็ต้องขอขอบคุณ)



ในวันแรก วันที่ 11 พฤษภาคม 2558

เริ่มต้นด้วยการทบทวนการทำงาน ที่ลงพื้นที่ของ ศน. ที่ได้จัดกิจกรรม สำหรับครูกลุ่มนี้ โดยมีเป้าหมายเพื่อ "ให้มีความรู้เพียงพอสำหรับการปฏิบัติการสอนแบบ PBL" อ่าน บล็อกครู PBL ทั้งหมด ที่นี่


คุณครูแต่ละท่านได้เล่าเรื่อง ออกมา ในมุมมองของแต่ละคน มีคุณครูเข้ามาใหม่ 3 ท่าน โดย ผอ.รร.ให้มาแทน ทั้งสามท่าน ออกตัว ขอสังเกต ไม่เล่า และ ไม่ทำ (.หมายเหตุ. มี คุณครูสองท่านเปลี่ยนใจหลังจากได้ฟังเรื่องเล่า คือ ครูอี๊ด และ ครูมนูญ และยังได้ร่วมแชร์ประสบการณ์ การสอน และจะเข้าร่วมกับ cop ของพวกเรา // อีก 1 ท่าน มาวันเดียว และไม่กลับมาอีกเลย)


ทุกคนได้เล่าเรื่อง โดยเราไม่กำหนดเวลา จะมี ศน.นุชร้ตน์ (ตัวเอง) เป็นผู้ดำเนินรายการ ศน.สุริยา ผ่องเสียง เป็นผู้ช่วยดำเนินรายการ (ตอนสุดท้าย ท่านกลายเป็นพระเอกขี่ม้าขาว และเป็นขวัญใจของคุณครู) ซึ่ง ตัวเองก็รู้สึกว่า บุคลิก ลักษณะ คำถาม ความลึกซึ้ง ลุ่มลึก ในการทำงาน ต้องเรียนรู้จากท่านอีก โดยปกติท่านจะชำนาญเรื่องของวัดผล และจะมีมุมมองการตีความในเรื่องวัดผลที่ลึกซึ้ง ไม่ค่อย จะเห็นท่าน ได้ตีความแง่มุม การสอน แบบ PBL จึงทำให้เกิดความประหลาดใจ เราทั้งสองคน จะฟังเรื่องเล่าคุณครู กระตุ้นให้พูด และซักถามในประเด็นของการทำงาน

ประเด็นการเล่า

บทบาทคุณครู ไม่ค่อยจะแตกต่างกัน ครูจะอำนวยการสอน ติดตาม กำกับ แก้ปัญหา
(แต่บางท่านก็ยอมรับว่า ใจร้อนไป รีบบอก นร. เน้นผลลัพธ์ มากกว่ากระบวนการ)


เป้าหมายการเรียนรู้ ไม่มีท่านใด ได้กล่าวอ้างถึง มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด (หลักสูตรแกนกลาง) แต่ทุกคนมีเป้าหมายสิ่งที่ต้องการจะให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน ในการทำงาน

ผู้เรียน ต้องมีการทำงานเป็นทีม รับผิดชอบการทำงาน และต้องรู้สึกเป็นเจ้าของงาน มีคุณครูท่านนึงเล่า ว่าขณะปลูกผัก เด็กไม่อยากรดน้ำ โดยอธิบาย เหตุผลว่า ถ้าผักงามครูก็จะเอาไปกิน ทำให้ครูรู้สึกว่าตัวเองยังไม่สามารถทำให้เด็กเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ โครงการ ได้

คุณครูทุกคน เล่าเหมือนกันว่า สิ่งที่ไปอบรมที่ผ่านมากับการนำมาปฏิบัติ มันสวนทางกัน เมื่อมาถึง รร.หลายเรื่องก็ทะลักเข้ามา เพราะฉะนั้น หลักการ หรือ ความรู้ใด ๆ จะลงสู่การปฏิบัตินั้นยากมาก แต่ PBL เกิด เพราะ เป็นนโยบาย และ ศึกษานิเทศก์ บอกจะมาติดตาม เอาจริง

คุณครูไม่สะท้อนปัญหา หรือโทษ พฤติกรรมนักเรียน (ส่วนตัวพอใจมากๆ) แต่มักจะเล่าออกมาว่า ตัวเองใจร้อน รีบร้อน บางที ก็ลืม และ ละเลยบางขั้นตอน ทำให้ เด็กไม่ได้เป็นไปตามเป้าหมาย

ขณะที่ครูเล่า ท่านไม่ได้บอกว่า แบ่งเป็นขั้นตอนอะไรบ้างท่านก็ได้เล่าไปเรื่อย แต่ ตัวเองตีความ และ จัดกลุ่มกิจกรรมการสอนแบบ PBL ออกมาได้ 4 ขั้นตอน ดังนี้ค่ะ

แต่ละคนจะมีกระบวนการทำงาน ระยะเวลา กลุ่มผู้เรียน แตกต่างกัน ไป

มีบางท่านให้ข้อคิด สะท้อนตนเอง มุมมอง บอกว่า ครั้งหน้า เขาจะต้องปรับแก้ไข การทำงานของตัวเอง การสอนแบบนี้ ต้องใช้ระยะเวลาในการสอน แต่ถ้าทำสำเร็จ สิ่งที่ภูมิใจ คือนักเรียนได้คิดและลงมือปฏิบัติ จริง และตัวครูเองก็ได้ความสุขที่ได้รับจากการทำงาน


กระบวนการนิเทศ เป็นเรื่องสำคัญไม่ได้น้อยกว่าเรื่องอื่นๆ เลย บางท่านบอกว่า ถึงแม้ว่าการสอนแบบนี้จะดีและได้ผลมาก แต่ว่าอาจจะไม่ทำต่อ เพราะ ผอ.บอกว่า ต้องดูทีวีทางไกลผ่านดาวเทียม .(รร.ขนาดเล็กเยอะมาก) แต่ถ้ามีเพื่อนทำงาน มี ศน.คอยติดตาม เขา ก็จะ ทำไปเรื่อยๆ และหาเวลา จากการดูทีวี เสริมประสบการณ์ด้วยกิจกรรม PBL

เรื่องเล่า วันแรก พวกเราจบกันที่ 5 โมงเย็น

วันที่ 12 พฤษภาคม 2558

เป้าหมายคือ อยากจะเสร็จสักประมาณ 4 โมงเย็น แต่สุดท้าย ก็จบที่เวลาเดิม เพราะอะไร

เรานัดหมายกันว่า จะให้คุณครูที่มาใหม่เล่า อะไรก็ได้เกี่ยวกับวิธีสอนตัวเอง สองท่าน เมื่อวานเล่าไปแล้ว 1 คน ปรากฏว่าครูท่านที่จะต้องได้เล่าหายไป 1 คน และ ที่ยังอยู่คือ พี่มนูญ ดิฉันได้คุยเป็นการส่วนตัวกับพี่มนูญว่า อยากเล่าไหม ท่านบอกไม่อยากเล่า ฟังดูแต่ละคนเล่า ก็เหมือนตัวเองไม่เคยทำแบบนี้กับนักเรียนเลย มีแต่สอน บอก ให้ ท่อง ให้เขียน (ป.3) แต่ ฟังแล้ว รู้สึกชอบ และอยากลองทำ ท่านเลือกที่จะไม่เล่า แต่ยินดี จะทำ

เมื่อถึงเวลา ..ท่านก็ได้กล่าวทักทายเพื่อนครู ภายในกลุ่ม และบอกความในใจ ให้เพื่อนๆ ฟัง

เริ่มต้น การ show , share

ครูนุ่ม และ ครูเปี้ยก . โชว์ผลงาน หนังสั้นฝีมือนักเรียน จากการทำ PBL ซึ่งได้รับความชื่นชม เป็นอย่างมาก ครูนุ่มบอก ทำไปเอง คิดไปเอง ไม่รู้จะถูกไหม และสอนมัธยม ชั่มโมง fix มาก ขยับไม่ได้ ต้องให้ นร.ที่เป็น ชุมนุมคอมพิวเตอร์และถ่ายภาพ .กว่าจะเป็น หนังสั้น ก็มีเรื่องราวมากมาย

ภาพยนตร์สั้น โรงเรียนหนองพอกวิทยายน

ต่อด้วยครู เปี๊ยก แตรเชียร์บอล ฝีมือนักเรียน แบบง่าย และมานำเสนอด้วยโปรแกรม dbook pro (ขออภัยลืมขอตัวอย่าง) ครูเปี้ยก ได้สะท้อนหลายครั้ง ให้ข้อคิดการทำงาน .การนิเทศ .ท่านบอกว่า พอจะได้สอน มีแต่ความสงสัยไม่เคยทำ ผิดบ้างถูกบ้าง มี ศน.มานิเทศ และไกด์ ก็เดา ทำไป แต่ตอนนี้ พอจะเข้าใจ และ มีสไตล์การสอนของตัวเอง คือ ก่อนจะปิดคอร์สการสอน นักเรียนจะต้องมี โครงการ อะไรสักอย่าง มานำเสนอ ... และ ลองได้เริ่มทำ และได้ผล

คุณครูท่านอื่นๆ ครูนัน ครูสิทธิ์ ครูอี๊ด ครูบุญสิตา ครูกีร์ ครูตุ้บตั้บ ครูน้ำมนต์ ครูอังกฤษ ได้ร่วมแชร์ แลกเเปลี่ยน ครูนงค์ (ซึ่งดิฉัน กับ ศน.สุริยา ได้ชื่นชม และมีความหวังลึกๆ บางอย่าง)

หลังจากนั้น ได้ให้คุณครูได้วางแผนออกแบบการทำงาน ในภาคเรียนต่อไป โดยตัวเองมี timeline การทำงาน เป็นแนวทางในการนำไปวางแผน


ในครั้งนี้ ได้บอกคุณครูว่า การทำงาน เราต้อง อยู่ในกรอบของหลักสูตร ในกระบวนการทำงาน เป้าหมาย กระบวนการ จะชัดเจนขึ้น โดยเสนอแนะ ให้ครูได้ ดู หลักสูตร และ องค์ประกอบต่าง ที่เกี่ยวข้อง พร้อมให้ชื่อย่อ กำกับ ให้ ครูได้เห็นว่า มันมี ตัวแปรหลายตัว ที่เราทำ หลายคน หลายหน่วยงาน แต่ถ้าคลี่ออกให้เห็น จะพบว่า มันคือตัวร่วมเดียวกัน จึง ให้คุณครูได้ วิเคราะห์ และหยิบมาใส่ ดู

DC-คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทํางาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ
LC-สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
LI-ตัวชี้วัดตามหลักสูตร (ตัวอย่าง) ง1.1 ป.3/1 (สาระที่ ชั้นประถม-มัธยม / ข้อที่)
3R7C ทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
3R-reading, writing, Arithmetic's การอ่าน การเขียน คำนวณ 7C- ทักษะด้านการคิด,ทักษะด้านความร่วมมือ,ทักษะด้านการสื่อสาร,ทักษะด้าน ICT, ทักษะอาชีพ
TV-ค่านิยมไทย
1.รักชาติ 2.ซื่อสัตย์ เสียสละ 3.กตัญญูต่อพ่อแม่ 4.ใฝ่หาความรู้ 5.รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม 6.มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ 7.เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย 8.มีระเบียบวินัย 9.มีสติ รู้ตัว 10.รู้จักดำรงตนอยู่ โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกายและจิตใจ 12คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมและต่อชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง

และ นำเสนอ ในครั้งนี้ การเติมเต็ม การจัดกิจกรรม ทุกคนในห้องได้ช่วยกัน ทุกคนเป็นผู้เชี่ยวชาญหมด (ไม่อยากจะเชื่อเลย แต่บรรยากาศเปลี่ยนไปจากวันแรกมาก)



วันนี้ ได้คุยกับ ท่าน ศน.สุริยา ว่า ให้เติมเต็ม เรื่องการ วัดผลและประเมินผล การจัดกิจกรรมแบบ PBL โดยที่ไม่ให้ครูรู้สึกตัวว่า กำลังบรรยาย ให้ความรู้ .. ซึ่งท่าน ศน.สุริยา ทำได้ดีมาก จนตัวเอง มานั่งคิดว่า ตัวเอง เป็นคนใจร้อนมาก มีลำดับขั้นตอน เป้าหมาย ความคาดหวัง ซึ่งบางครั้ง อาจทำให้คนรอบข้างเครียด ..

แต่เมื่อ เห็น ศน.สุริยา ทำงาน ทำให้คิดได้ "ท่านใช้การตั้งคำถาม ให้กับผู้นำเสนอ ให้กับคุณครู ช่วยกันตอบและคลี่คลายปัญหาร่วมกัน แทนที่ จะตั้งตัวเป็นผู้รู้ทุกเรื่อง " ตัวดิฉันเองกลับใจร้อน พลั้งเผลอ และ หลุดออกไปหลายครั้ง

ประเมินการถอดบทเรียนในชุมชนของเรา ..ตัวดิฉันก็จะชวนครูทำเรื่อยๆ ในวันนี้ ได้กัลยาณมิตรหลายคน ทั้งเพื่อนครูที่ดิฉันต้องอาศัยและเรียนรู้ไปกับท่าน สถานที่ (โรงแรมริมปาว ขออนุญาต เชียร์ เพราะ เขาไม่ได้จัดในเชิงธุรกิจ แต่เพียงอย่างเดียว) เราได้นัดหมายกัน ว่าจะไปเยี่ยม และกำชับ ให้มีการบันทึก

ตอนจบ ..ที่ประหลาด ครูนัน พี่ใหญ่ ได้ขอ สรุป และกล่าวจบ ด้วยการชื่นชมครู ศน. ทีมงาน อยากให้ สร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกัน เกาะกันไว้ ช่วยเหลือการทำงานกัน และขอบคุณทุกคน พวกเราจบลง ง่ายๆ ไม่มีพิธีรีตรอง ไร้การบรรยาย แต่อย่างใด และนั่งคุยกันต่อสักพัก จนท่าน ศน.สุริยา ถามว่า จบแล้ว ทำไมไม่กลับกัน ซึ่งก็เรียกเสียงหัวเรา ครื้นเครง

เราเรียนรู้ร่วมกันผ่านกระบวนการทำงาน ของทุกๆ คน



ขอบคุณทุกๆ ท่าน ที่ได้ร่วมกันสร้างวันนี้

บรรทัดสุดท้าย ก็ขอขอบคุณ ดร.ฤทธิไกร ไชยนาม ที่ทำให้เราได้แนวคิดในการทำงาน และในการประชุมครั้งนี้คุณครูได้กล่าวอ้างท่านในหลายๆ ครั้ง รวม ทั้ง ศน.หลายๆ คน ก็กล่าวถึงด้วย.. ขอขอบพระคุณ ผอ.สพป.กส.1 (ดร.ชนาธิป สำเริง) ที่ เป็นคนแนะนำท่านและได้เชิญท่านมา ที่นี่ เป็นคนแรกๆ ..ค่ะ


หมายเลขบันทึก: 590160เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2015 07:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2015 09:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นบันทึกที่น่าอ่านมากครับ

ผมอ่านบันทึกอย่างละเอียด และจบด้วยความสุขที่ยิ่งจากบรรทัดท้ายๆ ที่ทราบว่าได้มีส่วนในการทำงานของท่าน... ผมมีความคิดเห็นต่องานของท่านอาจารย์ ดังนี้ ครับ

๑) ผมชอบมาก ตรงที่ท่านอาจารย์ "จับ" เอาประเด็น "เจตคติต่อการสอน PBL" ซึ่งสรุปออกมาชัดเห็นทั้งแบบ "ลบ" ที่มองว่าใช้เวลาในการจัดกิจกรรมนาน "เชิงบวก" ที่บอกว่า นักเรียนตื่นเต้นและสนุกเพราะได้ปฏิบัติจริง และ ที่บอกว่า ตอบสนองได้ทั้งนักเรียนเก่งและอ่อน อีกทั้งยังเห็นแบบ "กลาง" คือมองว่า เป็นนโยบาย และสะท้อนความเข้าใจต่อ PBL ว่า ครูต้องไม่บอกคำตอบและทำบทบาทเหมือนโค้ช ...... ... ผมคาดเดาไปเบื้องหน้าว่า หากครูทดลองทำ PBL ไปเรื่อยๆ เจตคติที่เคยเป็น "ลบ" จะน้อยลงและหายไปเมื่อครูเข้าใจและออกแบบพลิกแพลงได้ด้วยตนเอง....

๒) ตรงที่มีการเปิดโอกาสให้นักเรียนต่างระดับชั้นกัน มาร่วมกลุ่มทำ PBL ร่วมกัน น่าสนใจมากๆ ครับ....

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท