นุชรัตน์
ดร. นุชรัตน์ ประสิทธิศิลป์ชัย

ว่าด้วยเรื่องการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาอำเภอดอนจาน


ต้องหารูปแบบและแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน อาจจะเห็นผลช้าแต่ถ้ารากฐานพวกเรามั่นคง ก็น่าจะเป็นเรื่องราวดีๆ ที่ถึงเวลาแล้ว ที่พวกเราจะต้องแสวงหารูปแบบและวิธีการใหม่ๆ มาลองปฏิบัติดู

กลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาดอนจาน อ.ดอนจาน สพป.กาฬสินธุ์ เขต 1 มีปัญหาด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าระดับประเทศเกือบทุกวิชา ซึ่งผู้เขียนเป็นศึกษานิเทศก์ ผู้รับผิดชอบ และ ได้รับมอบหมายให้ประจำกลุ่มฯ นี้ ในปีการศึกษา 2/255ึ7 และเมื่อได้รับโจทย์ใหญ่ จากผูบริหารเขต ผอ.สพป. ให้งบประมาณ 50,000 บาท ให้หาแนวทางการยกระดับผลสัมฤทธิ์ จากประสบการณ์ ของเรา ทำมาทุกอย่างแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ติวข้อสอบ อบรม สอนซ่อมเสริม ฯ แต่ไม่ได้ผล คงต้องหารูปแบบและแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน อาจจะเห็นผลช้าแต่ถ้ารากฐานพวกเรามั่นคง ก็น่าจะเป็นเรื่องราวดีๆ ที่ถึงเวลาแล้ว ที่พวกเราจะต้องแสวงหารูปแบบและวิธีการใหม่ๆ มาลองปฏิบัติดู

พวกเรา ประกอบด้วย รอง ผอ.สพป. ศึกษานิเทศก์ ผอ.รร. และครู เริ่มต้นด้วยการ วิเคราะห์ข้อมูล แบบหยาบๆ เพื่อวิเคราะห์ตัวเองก่อน จะพบว่า ผลการประเมิน ค่อนข้างต่่ำ ในทุกกลุ่มสาระ

เราเริ่มต้นด้วยการ สนทนากลุ่ม (focus group) เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหา ระหว่าง ศึกษานิเทศก์ และ ผอ.โรงเรียน ซึ่งได้ข้อสรุปว่า พวกเราจะเริ่มต้นการทำงาน สองระยะ คือ ระยะสั้น และระยะยาว

มาตรการระยะสั้น และ มาตรการระยะยาว ที่ทั้งกลุ่มฯ 15 โรงเรียน พวกเราจะทำเหมือนกันหมด และ ที่แต่โรงเรียนจะทำกิจกรรม/โครงการ ของแต่ละโรงเรียน ในส่วนภาพรวมที่เราจะทำร่วมกันทั้งอำเภอ มีดังนี้

ระยะสั้น - เริ่มจาก ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลระดับชาติ และ การสอบโอเน็ต Blue Print และแนวทางการสร้างข้อสอบ ตามรูปแบบโอเน็ต กลุ่มเราเลือกเพียงมาตรการเดียว โดยให้ครู ป.6 และ ม.3 ทุกคนเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งได้เริ่มไปแล้ว



สำหรับมาตรการระยะยาวแน่นอนว่า อาจจะไม่เกิดในเร็ววันนี้ แต่พวกเราวางแผนว่า กลุ่มของเราจะปฏิรูปใน 4 เรื่อง ที่พอจะทำได้


ปฏิรูประบบการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน - พวกเราวางแผนกันไว้ว่า จะพัฒนาครูทุกคน ตั้งแต่ปฐมวัย จนถึง ม.ต้น ให้มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถสร้างข้อสอบ ที่อิงมาตรฐานและตัวชี้วัด และ สอดคล้อง เพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับข้อสอบแบบสถานการณ์ ในลักษณะเดิมที่วัดปรนัย 4 ตัวเลือก เน้น ความจำ ความเข้าใจ พวกเราจะพยายามฝึกและเริ่มต้น ใหม่ จะช่วยกันพัฒนาข้อสอบ ที่สอดคล้องกับตัวชี้วัด ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เป็นคลังข้อสอบ ของ กลุ่มเรา

ปฏิรูประบบการนิเทศภายในสถานศึกษา - ปัจจุบัน ผู้บริหารไม่นิเทศภายใน โดยเฉพาะงานวิชาการ เราจะเริ่มต้นด้วยการสนทนากลุ่ม ร่วมกันหาแนวทางและรูปแบบการนิเทศภายใน ที่สอดคล้องกับบริบท ของกลุ่มเราที่เป็นแนวทางเดียวกัน เน้นการสังเกตการสอน โดย ผอ.รร.และครู ภายในโรงเรียน จัดทำแผนนิเทศ ฯ บันทึกการนิเทศ ตลอดจน เครื่องมือการนิเทศภายในที่เป็นระบบ

ปฏิรูปการจัดการเรียนรู้ - กลุ่มสถานศึกษาเรา เลือกที่จะสนับสนุนให้ครูได้จัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับ ศต.21 ที่การสอนแบบโครงการ Project based learning และวิธีการแบบเปิด open approach และ BBL ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ Active Learner ปฏิบัติจริง เรียนรู้ผ่านกระบวนการ ไม่ใช่ content based

ปฏิรูประบบการนิเทศภายนอก- โดยศึกษานิเทศก์ จะเน้นไปที่การนิเทศการสอน การ coaching ที่มีการประชุมก่อนสอน สังเกตการสอน และสะท้อนผลร่วมกัน สร้างระบบการนิเทศทั้งภายในและภายนอกให้เข้มแข็ง สร้างเครือข่าย PLC

บางเรื่องเราเริ่มทำแล้ว บางเรื่องเพียงแค่คิดและวางแผนการทำงานอย่างคร่าวๆ การสื่อสาร ให้ครูทุกคนได้รับทราบยังไม่ทั่วถึง แต่คณะของพวกเรา ศึกษานิเทศก์ และ สถานศึกษา ได้แต่คาดหวังว่า ผลน่าจะออกมาดี ..เป็นหนังเรื่องยาว ต้องตามต่อกันไปเรื่อยๆ ค่ะ


หมายเลขบันทึก: 581698เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2014 21:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ธันวาคม 2014 21:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท