การสำรวจเรื่องประเด็นต่างๆและการเขียนข้อทดสอบ ในการทดสอบภาษา ตอนที่ 5 (A Survey of Issues and Item Writing in Language Testing)


4. ความน่าเชื่อถือ (Reliability)

ความน่าเชื่อถือในแบบทดสอบเกิดขึ้นมาจากปัจจัยหลักๆ 3 ประการ กล่าวคือ 1. ผลของการสอบเรื่องหนึ่งมีความแน่นอน คงที่ (Consistency) ความเชื่อมั่นของการทดสอบ เกี่ยวข้องโดยตรงและเป็นผลพวงจากคุณภาพของการวัดในการทดสอบ 2. ความเชื่อมั่นที่เป็นความถูกต้องในการวัดสิ่งที่ ต้องการวัดอย่างไม่ผิดพลาด และ 3. ความเชื่อมั่นเป็นคุณสมบัติของการวัดที่ไม่มีความคลาดเคลื่อน ในการวัดให้ผลการวัดที่ถูกต้อง ชัดเจนแน่นอน

ในตำรากล่าวถึงการวัดค่าน่าเชื่อถือของแบบทดสอบไว้ ดังนี้

1. ความเชื่อมั่นแบบวัดความคงที่(Measure of Stability) ที่เป็นวิธีการทดสอบซ้ำ

(Test-Retest Method) โดยใช้เครื่องมือชุดเดียวกันไปทดสอบกับผู้ให้ข้อมูลกลุ่มเดียวกัน 2 ครั้ง

ที่ใช้ช่วงเวลาที่ต่างกันแล้วนาคะแนนที่ได้มาคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient)

2. วิธีการแบบแบ่งครึ่งแบบทดสอบ(Split-half Method) เป็นการนา แบบทดสอบฉบับเดียวไปทดสอบกับผู้สอบกลุ่มเดียว แล้วแบ่งข้อสอบออกเป็น 2 ส่วนที่มี ความสมมูลกันมากที่สุด(จาแนกตามข้อคู่-ข้อคี่,จับฉลาก,จับคู่ตามเนื้อหาแล้วแยกเป็น 2 ฉบับ) นำมาตรวจให้คะแนนแล้วนาคะแนนที่ได้จากแบบทดสอบทั้ง 2 ส่วน มาหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สันได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นครึ่งฉบับ จะต้องนาไปค่าที่ได้คานวณหาสัมประสิทธิ์ ความเชื่อมั่นทั้งฉบับของสเปียร์แมน-บราวน์(Spearman-Brown)

3. ความเชื่อมั่นแบบสมมูล(Measure of Equivalence) หรือวิธีการทดสอบโดยใช้ เครื่องมือวิจัยที่สมมูลกัน(Equivalent-Form Method) เป็นการนาเครื่องมือวิจัย 2 ชุดที่มี ความสมมูลกันไปทดสอบกับผู้ให้ข้อมูลกลุ่มเดียวกันในเวลาเดียวกันแล้วนาคะแนนที่ได้จากเครื่องมือ วิจัยทั้ง 2 ชุดมาหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

4. ความน่าเชื่อระหว่างผู้ตรวจคนเดียวกับผู้ตรวจตั้งแต่ 2 คน (Inter-Rater amd Intra-Rater Reliability)

ความน่าเชื่อถืออีก 2 ประการ ก็ได้แก่ 1. ความน่าเชื่อถือสำหรับผู้ตรวจคนเดียว กับ 2. ความน่าเชื่อถือสำหรับผู้ตรวจตั้งแต่ 2 คน ความน่าเชื่อถือทั้งสองประการดังกล่าวจะใช้กับข้อสอบที่เป็นอัตนัย เช่น การสอบเขียนเรียงความ และ การเขียนจดหมาย เป็นต้น

การตรวจตั้งแต่ 2 คนคือคะแนนที่ผู้ตรวจ 2 คนตั้งแต่ให้ต่อคะแนนที่เป็นอัตนัย และ การตรวจเพียงคนเดียว คือ การให้คะแนน โดยผู้ตรวจเพียงแค่คนเดียว

จากการให้คะแนนจริง พบว่าไม่ว่าจะตรวจตั้งแต่ 2 คน หรือตรวจแค่คนเดียวจะไม่มีความน่าเชื่อถือใดๆเลย วิธีการแก้ มีดังนี้

4.1 ให้ตั้งเกณฑ์ไว้ล่วงหน้า

4.2 นำเสนอตัวอย่างให้แก่ผู้ตรวจ

4.3 พยายามให้ความรู้แก่ผู้ตรวจในเรื่องเกณฑ์

4.4 พยายามตรวจแบบทดสอบของนักเรียนอย่างน้อย 2 ครั้ง

หนังสืออ้างอิง

Gregory strong. (1995). A Survey of Issues and Item Writing in Language Testing. http://eric.ed.gov/?id=ED397635

หมายเลขบันทึก: 590057เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2015 18:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2015 18:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท