ครอบครัวเดียวกัน


วันที่ 1-3 พ.ค. 58 ที่ผ่านมา ได้ไปเข้าค่ายครอบครัวที่คณะสตรีภาค 8 ได้จัดขึ้นที่บ้านเพชรสำราญ หัวหิน

และหมอหนุ่มได้เป็นวิทยากรใน Workshop หัวข้อ "ครอบครัวเดียวกัน " มีพระพรมากมายที่เราได้จดบันทึก แต่อาจไม่มากนัก เพราะครั้งนี้เป็นผู้ช่วยวิทยากร ต้องคอยกด slide ให้ ซึ่งคิดว่ามีประโยชน์ทั้งคนที่เป็นและไม่เป็นคริสเตียนค่ะ

ลองอ่านกันดู นะคะ

ครอบครัวเดียวกัน<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:office:office" />

สดุดี 127:1 “ถ้าพระเจ้ามิได้ทรงสร้างบ้าน บรรดาผู้สร้างก็เหนื่อยเปล่า

โดย นพ.เจนศักดิ์ พนิตอังกูร วันที่ 2 พฤษภาคม 2558 ณ บ้านเพชรสำราญ หัวหิน

หัวข้อ 1 : ความหวัง

กิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน การฉีกกระดาษให้ใหญ่พอที่ตัวเราสามารถลอดผ่านได้ ( ซึ่งเป็นโจทย์ที่ยาก)

สรุปกิจกรรม การทำโจทย์ที่สั่งนั้น ดูเหมือนเป็นไปได้ยาก บางคนก็ถอดใจ ไม่อยากทำแล้ว ซึ่งถ้าถามถึงโจทย์ชีวิตครอบครัวของเรายากหรือไม่ คำตอบคือ ยาก บางคนถึงกับยากมาก ๆ เหมือนกัน เช่น

- คู่ครองที่ไม่เป็นคริสเตียน

- เป็นคริสเตียนคนเดียวในบ้าน

- ปัญหาสุขภาพ

- ปัญหาเศรษฐกิจ

...ปัญหาที่พบเจอดูเหมือนจะไม่มีทางออก แต่ก็ไม่ควรสิ้นหวัง

ดังนั้น สิ่งที่ในชีวิตคริสเตียนเราควรจะมีอันแรกคือ ความหวัง ตามที่พระคัมภีร์บอกไว้ใน (1 โครินธ์ 13:7) คุณลักษณะอย่างหนึ่งของความรัก คือ มีความหวังอยู่เสมอ...

ใจมนุษย์กะแผนงานของเขา แต่ พระเจ้าทรงนำย่างเท้าของเขา (สุภาษิต 16 :9)

เราอาจเคยได้ยิน คำ 2 คำ คือคำว่า ความคาดหวัง กับความหวัง ซึ่งจะแยกได้ก็ตอนที่เราผิดหวัง

ความคาดหวัง หมายถึง สิ่งที่เรากะแผนงานของเราว่าน่าจะเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ เมื่อไม่ได้ตามนั้นก็จะเกิดความรู้สึก ผิดหวังท้อแท้ สิ้นหวัง

แต่ความหวัง เป็นการที่ใจเราจดจ่ออยู่ที่พระเจ้า เมื่อไม่ได้ตามนั้นเรายังตั้งมั่นอยู่ในพระองค์ ยังมีความหวังในพระองค์เสมอ แม้ไม่แน่ใจไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรกับชีวิต

พระเยซู อยากให้เราเหมือนเด็กเล็กๆ เหมือนตอนที่เราพาลูกไปฉีดวัคซีน แม้ว่าลูกเขาเจ็บ แต่หลังจากนั้น เขาก็ยังวิ่งกลับมาพ่อแม่เสมอ รับการปลอบโยน ยังมีสัมพันธ์ที่มั่นคง ไม่เคยสิ้นหวังในพ่อแม่ คริสเตียนก็ควรเป็นเช่นนั้น
พระเยซูตรัสว่า ฝ่ายมนุษย์ก็เหลือกำลังที่ทำจะได้ แต่พระเจ้าทรงกระทำให้สำเร็จได้ทุกสิ่ง (มธ.9:26)

ความรักที่ไม่มีความหวัง = ความรักที่ สิ้นหวัง - เมื่อสิ้นหวังก็จะขาดพลังในการดำเนินชีวิต แค่อยู่ไปวัน ๆ

ครอบครัวควรมี ความหวัง อยู่เสมอ เพราะ.....

เหตุแห่งความหวัง

พระเจ้าทรงเป็นที่ลี้ภัย และเป็นกำลังของข้าพระองค์ทั้งหลาย เป็นความช่วยเหลือที่พร้อมอยู่ในยามยากลำบาก (สดุดี 46 :1)

เพราะเขาผูกพันกับเราด้วยความรัก เราจะช่วยกู้เขา เราจะป้องกันเขาไว้ เพราะเขารู้จักนามของเรา เมื่อเขาร้องทูลเรา เราจะตอบเขา เราจะอยู่กับเขาในยามลำบาก เราจะช่วยเขาให้พ้นและให้เกียรติเขา (สดุดี 91 :14-15)

ครอบครัวคริสเตียนจึงสามารถมีความหวังอยู่เสมอ / แม้ในยามยากลำบาก แม้ในครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์ ( ไม่มีครอบครัวใดที่สมบูรณ์พร้อม หรือไม่มีความพร่องใด ๆ )

ตัวอย่างครอบครัวในพระคัมภีร์

· อาดัม เอวา เป็นครอบครัวที่พระเจ้าจัดเตรียม แต่ก็ไม่ใช่ครอบครัวที่สมบูรณ์ อาดัมไม่เป็นผู้นำ เอวาถูกชักจูงง่าย คาอินทำร้ายอาเบล แม้มีปัญหาในครอบครัว แต่ครอบครัวนี้พระเจ้าก็ยังสถิตย์อยู่ด้วย แต่พระเจ้าก็ยังคงอวยพร และไม่ทอดทิ้ง อาดัมเอวาก็ไม่ปล่อยให้ความผิดพลาดในอดีตมาทำลายความสัมพันธ์ระหว่างเขากับพระเจ้า

· ยาโคบ เลอาห์ ราเชลแม้ยาโคบจะรู้สึกว่าแต่งงานผิดคน แต่พระเจ้าก็ทรงนำให้เกิดพระพรจากครอบครัวนี้ เลอาห์ ก็เป็นท่อพระพร ก่อกำเนิดพงศ์พันธ์ ของพระเยซูต่อมา

· ฮันนาห์ ซามูเอล : แม่ที่มีความเชื่อมั่นคงเลี้ยงดูลูก ท่ามกลางวิกฤตครอบครัว นำไปสู่พระพรมากมายต่อชนชาติอิสราเอล

· นางรูธ นาโอมี : หญิงม่ายที่ไม่สิ้นหวัง และพบการช่วยกู้จากพระเจ้า

· โฮเชยา นางโกเมอร์ มีเรื่องการนอกใจ การทรยศของภรรยา โฮเชยายังคงแสดงความรักและการให้อภัย

·โยเซฟ มาเรีย ประสบกับวิกฤต ความเชื่อใจความยากลำบากในขณะตั้งครรภ์

จากตัวอย่างที่กล่าวมา เห็นว่า พระเจ้าไม่เคยทอดทิ้งประชากรของพระองค์ ขอให้เราสัตย์ซื่อ อยู่ในทางของพระเจ้าอยู่เสมอ ไม่ว่าวิกฤตใดในครอบครัว

บทสรุป : เชิญชวนให้เราลองเปิดใจ ยอมรับว่าทุกครอบครัว ต่างก็มีความพร่อง แต่ครอบครัวที่ยังดำเนินไปกับพระเจ้าอย่างไม่สิ้นหวัง บนความไม่สมบูรณ์ของครอบครัวต่างหาก เป็นชีวิตครอบครัวอย่างที่พระเจ้าต้องการและอวยพระพรได้ ตาม สภาพความเป็นจริง ของแต่ละครอบครัว ไม่ใช่ครอบครัวที่สมบูรณ์พร้อมตามอุดมคติ ซึ่งไม่มีอยู่จริง

และจากบทเรียนการฉีกกระดาษนั้น เราจะพบว่าปัญหาไม่สามารถแก้ได้ เพราะเราอาจไม่รู้วิธีที่ถูก เพราะฉะนั้น นอกจากมีความรักแล้วเรายังต้องมีความรู้และรู้วิธีที่ถูกด้วย


หัวข้อความรัก + ความรู้ + วิธีที่ถูกต้อง

ฟิลิบปี 1 : 9ข้าพเจ้าอธิษฐานขอให้ความรักของท่านจำเริญยิ่ง ๆ ขึ้น พร้อมกับ ความรู้และวิจารณญาณทุกอย่าง

สุภาษิต 16 : 7 เมื่อทางของมนุษย์เป็นที่โปรดปราณแก่พระเจ้า แม้ศัตรูของเขานั้น พระองค์ก็ทรงกระทำให้คืนดีกับเขาได้ (วิธีการของเราต้องถูกต้องตามน้ำพระทัยพระเจ้า

- ใช้วิธีแก้ปัญหาที่ผิด ก็เกิด ผลลัพธ์ที่ผิด เช่น เรามีความรัก แต่เราใช้การตำหนิ กล่าวโทษ วิวาท

- วิธีที่ถูกต้อง คือวิธีตามพระวจนะของพระเจ้า

ในยามที่ครอบครัวประสบวิกฤต สนามทดสอบความรัก ความเชื่อ ความหวัง

อาบีกายิล และ นาบาล 1 ซามูเอล 25 : 1 38

วิทยากรให้อ่านข้อพระคัมภีร์ แล้วตอบคำถาม 3 ข้อ

ประเด็นแลกเปลี่ยน

1. นาบาล มีลักษณะนิสัย เช่นไร ( ประพฤติชั่ว ไร้น้ำใจ ไม่รู้คุณคน ดื่มเหล้า ฯลฯ)

2. หากท่านต้องพบกับคู่ครองและวิกฤตครอบครัวเช่นนี้ ท่านจะตอบสนองอย่างไร

3. อาบีกายิล ตอบสนอง ต่อสามีและวิกฤตครอบครัว อย่างไร

เมื่อเกิดวิกฤต / ปัญหา ในครอบครัวคุณสามารถ เลือกตอบสนองด้วยสิ่งที่เลวร้าย / แง่ลบ ได้ตั้งแต่วิธี

· แก้แค้น , ต่อสู้ / ทะเลาะกัน , ทำร้ายตัวเอง

· ปลีกตัวไม่เกี่ยวข้องด้วย (เพชฆาตเงียบ)

· หาความสุขนอกบ้าน ( การนอกใจ , สารเสพติด )

· ทนอยู่กันไป ( ภาวะสิ้นยินดี )

· หย่าร้าง / แยกทาง

อะไรเป็นสาเหตุของสงครามและการทะเลาะวิวาทกันในพวกท่าน มิใช่กิเลส ตัณหาของท่านหรือที่ทำให้ท่านต่อสู้กัน (ยากอบ 4:1 )

การงานของเนื้อหนัง และผลของพระวิญญาณ (กาลาเทีย 5 : 16-24)

จากเรื่องราวที่ได้อ่าน พบว่า ในยามที่เลวร้ายที่สุด - อาบีกายิลเลือกทำสิ่งที่ดีที่สุด

(ทำทุกอย่างเพื่อช่วยสามีและครอบครัว: ไม่ตอบโต้ / แก้แค้น แต่ตอบสนองด้วยความรัก)

หากชีวิตครอบครัวของคุณ ไม่ได้เป็นอย่างที่ควรจะเป็นใครสักคนจะต้องเป็นฝ่าย เริ่มต้น ทำ สิ่งที่ดีที่สุด ให้ครอบครัว( นี่คือสิ่งที่อาบีกายิลทำ และ คุณก็ทำได้ )

เอเฟซัส 2:10 เราเป็นฝีพระหัตถ์ของพระองค์ที่ทรงสร้างขึ้นในพระเยซูคริสต์ เพื่อให้ ประกอบการดี ซึ่งพระเจ้าได้ทรงดำริไว้ล่วงหน้าเพื่อให้เรากระทำ

……..ถ้ามีเรื่องเลวร้าย ในครอบครัว ต้องมีใครสักคน เริ่มต้นทำสิ่งที่ดีที่สุด พระเจ้าทำหน้าที่ของพระองค์ เราต้องทำหน้าที่ของเรา ทุกคนในครอบครัวต้องทำหน้าที่อย่างเต็มที่ ให้ครอบครัวใช้ความรักเมตตา อดทน ซึ่งการอดทนมี 2 แบบ แบบแรก ใจขมขื่น เท่ากับการอดทนที่ไม่มีความสุข เต็มไปด้วยการตัดสิน แบบที่สอง อดทนแบบมีใจรัก มีสันติสุข สงบในใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่พระเจ้าต้องการ

ข้อพระคัมภีร์

1 โครินธ์ 7:3 สามีควรทำหน้าที่ต่อภรรยาของตนอย่างสมบูรณ์ และเช่นเดียวกันภรรยาก็ควรทำหน้าที่ต่อสามีของตนอย่างสมบูรณ์ด้วย(อมตธรรมร่วมสมัย)

เอเฟซัส 5:25 ฝ่ายสามีจงรักภรรยาของตน เหมือนอย่างพระคริสต์ทรงรักคริสตจักร

สุภาษิต 31:12 (ภรรยา) เธอทำความดีให้เขา ไม่ทำความร้ายตลอดชีวิตของเธอ

เอเฟซัส 6:1-2 …บุตร จงเชื่อฟังและให้เกียรติบิดามารดา...

เอเฟซัส 6:4 อย่ายั่วบุตรของตนให้เกิดโทสะ แต่จงอบรมบุตรด้วยการสั่งสอนและการเตือนสติ ตามหลักขององค์พระผู้เป็นเจ้า

พระเจ้าทำหน้าที่ของพระองค์เสมอ - ทุกคนในครอบครัวควรทำหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่

บางครั้งพระเจ้าก็ใช้ วิกฤต/ปัญหาในครอบครัว เพื่อเปิดเผย ความอ่อนแอ ด้านเนื้อหนังของเรา

พระเจ้าสามารถใช้ ความอ่อนแอ/ความล้มเหลวของครอบครัว นำเราไปสู่ การเติบโตทางจิตวิญญาณ ในพระองค์ได้เสมอ ( ความรัก / การให้อภัย )

วิธีรับมือที่ดีที่สุด ต่อ วิกฤต / ปัญหา ในครอบครัว คือ ความรักต้องมาก่อนเสมอ เช่น อาบีกายิล , บุตรน้อยหลงหาย


หัวข้อสนามลบในบ้าน
ความเข้าใจผิด : เรามักคาดหวังผลบวก จากการแสดงพลังลบ ตอบโต้

ความจริง : เวลาที่ใครแสดงอารมณ์ลบ เช่น การบ่น ด่า พูดหยาบ ถากถาง เยาะเย้ย ก้าวร้าว ใช้กำลัง ทำลาย ขโมย ฯลฯ แสดงว่าเขามีความทุกข์ ข้างในเขามีความขุ่นมัว / ขมขื่น / ทุกข์ นั่นคือเวลาที่เขาต้องการ ความมั่นใจในความรัก มากที่สุด

ถ้าเรายิ่งแสดงลบตอบกลับ เช่น การบ่นเทศนา สั่งสอน ด่าว่า ข้างในเขาจะยิ่งไม่มั่นคงก็จะเกิดสนามรบ ( ลบ+ลบ= รบ) ซึ่งแก้ไม่ได้

ดังนั้น ถ้าเราอยากให้เขาหยุดพฤติกรรมลบ ควรทำสภาวะในใจของเราให้ใจเย็น เป็นบวกก่อน โดยการแสดงความรักจากเรา ดังคำที่ว่า

Love is very simple , it’s we who are complex ( Leo Buscaglia)

วิทยากร พาดู Clip ชื่อ still face

สุภาษิต 20 : 3 ที่จะรักษาตนให้พ้นจากการวิวาทก็เป็นเกียรติ แต่คนโง่ทุกคนจะทะเลาะวิวาท

22 อย่าพูดว่า ข้าจะแก้แค้นความชั่ว จงรอคอยพระเจ้า พระองค์จะทรงช่วยเจ้า

หลักการตอบสนองต่อความขัดแย้ง

อฟ.2:14 เพราะว่าพระองค์ทรงเป็นสันติสุขของเรา เป็นผู้ทรงกระทำให้ทั้งสองฝ่ายเป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน และทรงรื้อกำแพงที่กั้นระหว่างทั้งสองฝ่าย

อฟ.4: 2-3 , 31-32

- คือจงมีใจถ่อมลงทุกอย่าง และใจอ่อนสุภาพอดทนนาน และ อดกลั้นต่อกันและกันด้วยความรัก จงเพียรพยายามให้คงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ซึ่งพระวิญญาณทรงประทานนั้นด้วยสันติภาพเป็นพันธนะ

- จงให้ใจขมขื่น และใจขัดเคืองและใจโกรธและการทะเลาะเถียงกันและการพูดให้ร้าย กับการคิดปองร้ายทุกอย่างอยู่ห่างไกลจากท่านเถิด และท่านจงเมตตาต่อกัน มี ใจเอ็นดูต่อกัน และอภัยโทษให้กัน เหมือนดั่งที่พระเจ้าได้ทรงโปรดอภัยโทษให้แก่ท่าน ในพระคริสต์นั้น

ทางออกสำหรับเรื่องนี้

ต้องมี หนึ่งคน ที่ ยอม เชื่อมั่นพระเจ้ามากกว่าฟังเสียงเนื้อหนังของตัวเอง ( Why me?)

ต้องยอม : ยอมจำนนกับพระเจ้า ยอมริเริ่มสำแดงความรัก ในสถานการณ์ที่เลวร้าย (อาบีกายิล)

การคืนดี ต้องมีฝ่ายริเริ่มเสมอ (องค์พระเยซูคริสต์)

- 2 โครินธ์ 8:9 … พระเยซูคริสต์.. แม้พระองค์มั่งคั่ง พระองค์ก็ยังทรง ยอมเป็นคนยากจนเพราะเห็นแก่ท่านทั้งหลาย

- มธ. 5 : 9 บุคคลผู้ใดสร้างสันติ ผู้นั้นเป็นสุข เพราะพระเจ้าจะทรงเรียกเขาว่าเป็นบุตร

- (23-24 ) ถ้าท่านนำเครื่องบูชามาถึงแท่นบูชาแล้ว และระลึกขึ้นได้ว่าพี่น้องมีเหตุ ขัดเคืองข้อหนึ่งข้อใดกับท่าน จงวางเครื่องบูชาไว้ที่หน้าแท่นบูชา กลับไปคืนดีกับพี่น้องผู้นั้นเสียก่อน จึงค่อยกลับมาถวายเครื่องบูชา

เคล็ดลับ การคืนดี : ความรัก มาก่อนเหตุผล (ซักเคียส, หญิงล่วงประเวณี)

คำถามทิ้งท้าย ส่วนใหญ่ในบ้าน เราใช้พลังลบ หรือบวก ในครอบครัว มีใครสักคนหนึ่งมั้ย ที่ต้องการความรักเหมือนซักเคียส หญิงล่วงประเวณี

หัวข้อสุนทรียสนทนา

: ฟังอย่างไรเมื่อเขาพูด พูดอย่างไรให้เขาฟัง

หลักการสำคัญของการสื่อสารในครอบครัว

1. การสื่อสาร คือการ แบ่งปันและเปิดเผยตนเอง ในเรื่อง ความคิด ความรู้สึก และความต้องการ อย่างชัดเจน เพื่อให้อีกฝ่าย รับฟังและเข้าใจถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ในจิตใจของเรา

2. เป้าหมายของการสื่อสาร ไม่ใช่ การทำให้อีกฝ่ายเห็นด้วยกับเรา หรือเปลี่ยนความคิดของเขา แต่เป้าหมายที่แท้จริงคือ ความเข้าใจซึ่งกันและกัน( อาจมีความเห็นไม่ตรงกัน แต่ควรมีความเข้าใจ ตรงกัน)

3. การสื่อสาร เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุด ในการสร้างความเข้าใจในครอบครัวซึ่งนำไปสู่ความเห็นอกเห็นใจ และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

(1 เปโตร 3:7-8) จงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เห็นอกเห็นใจกัน รักกันฉันพี่น้อง มีจิตใจอ่อนโยน และอ่อนน้อม )

ปัญหาเรื่องการสื่อสารในครอบครัวมักเกิดขึ้น มาจากการคิดว่าเขาน่าจะรู้แล้ว เราจึงไม่สื่อสาร หรือไม่มีพื้นที่ปลอดภัย ที่คนในครอบครัวสามารถบอกความรู้สึกของตัวเองได้โดยไม่โดนตำหนิ
Deep listening การฟังอย่างใส่ใจ

เนื่องจากสิ่งที่ ยากที่สุด ในการสื่อสาร คือ การฟังเพราะว่า เรามักอยากเป็นผู้พูด มากกว่า ผู้ฟัง โดยการเข้าไปแทรก ขัดจังหวะ ด่วนตัดสิน ระหว่างการฟัง

อฟ.5:21 จงยอมฟังกันและกันด้วยความเคารพ ในพระคริสต์

<?xml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" /> <?xml:namespace prefix = w ns = "urn:schemas-microsoft-com:office:word" /> ตัวอย่างการฟังที่ไม่น่ารัก คือ

- การถามแทรก

- การแย่งซีน แย่งพูด

- ทำตลก ไร้สาระ

- เข้าข้างคนเล่า

- อธิบายแก้ต่าง

- ฟังครึ่งเดียว

- สั่งสอน

พระคัมภีร์เรียก คนที่ไม่ยอมฟังว่า คนโง่

สุภาษิต

18:2 คนโง่ไม่เพลิดเพลินในความเข้าใจ แต่เพลิดเพลินในการแสดงความคิดเห็นของตนเท่านั้น

18:13 ถ้าคนหนึ่งคนใดตอบก่อนที่เขาได้ยิน ก็เป็นความโง่ และความอับอายของเขา

17:27-28 บุคคลที่ยับยั้งถ้อยคำของเขา เป็นคนมีความรู้และบุคคลผู้มีจิตใจเยือกเย็น เป็นคนมีความเข้าใจ

20:12 หูที่ฟังได้ และตาที่มองเห็น พระเจ้าทรงสร้างมันทั้งสอง

20:5 ความประสงค์ในใจของคนเหมือนน้ำลึก แต่คนที่มีความเข้าใจจะสามารถโพงมันออกมาได้

อุปสรรคของการฟัง / มองเห็น เพื่อความเข้าใจผู้อื่น คือ

การด่วนตัดสิน

วิทยากร พาดู clip Don’t judge+listen

มธ.7:1 อย่ากล่าวโทษเขา เพื่อพระเจ้าจะไม่ทรงกล่าวโทษท่าน

3 เหตุไฉนท่านมองดูผงที่ในตาพี่น้องของท่าน แต่ไม้ทั้งท่อนที่อยู่ในตาของท่านท่านไม่รู้สึก

5 ท่านคนหน้าซื่อใจคด จงชักไม้ทั้งท่อนออกจากตาของท่านก่อน แล้วท่านจะเห็นได้ถนัด จึงจะเขี่ยผงออกจากตาของพี่น้องของท่านได้

กรณีศึกษา : เพื่อนโยบ , เอลี-ฮันนาห์, ซักเคียส, ชายตาบอด,ยูดา ฯลฯ

การฟังอย่างใส่ใจ หมายถึง การหยุดความคิดตัวเองไว้ก่อน พยายามเข้าใจว่าเขากำลังพูดอะไร รู้สึกอย่างไร ใส่ใจเขาอย่างเต็มที่ และเปิดโอกาสให้เขาพูดจบ โดยไม่ขัด และไม่ด่วนตัดสิน ดังทฤษฎีตัว U

ทฤษฎีตัว U ของ Otto Scharmer

เมื่อเราได้ฟังสิ่งใสสิ่งหนึ่ง เรามักตอบสนองแบบอัตโนมัติโดยการดึงข้อมูลเดิม ๆ ที่มีอยู่และตัดสินสิ่งที่ได้ยิน ทั้งตัวผู้พูด เนื้อหา และบริบทไปก่อน ทฤษฎีนี้อยากให้เราห้อยแขวนการตัดสินต่าง ๆ และลงดิ่งไปทางก้นตัว U โดยการฟังอย่างตั้งใจ และใคร่ครวญ รอดู เพื่อให้เราได้ เห็น และได้ ยิน ให้มากขึ้น ให้เห็นทั้งความคิด ความรู้สึก ของผู้พูด ว่าเขาต้องการจะสื่อสารอะไร เพื่อทำให้เราได้ค้นพบความปรารถนา และพบสิ่งที่ดีดี และความหมายที่แท้จริงของเรื่องราวนั้น แล้วเราค่อยตัดสิน และตอบสนองออกไป

สุนทรียสนทนา : พูดอย่างไรให้เขาฟัง

คำพูดของคนในครอบครัว มีอิทธิพลอย่างมากต่อจิตใจของบุคคล (ทะเบียนสมรส/ความเป็นพ่อแม่ ไม่ใช่ใบอนุญาต ในการทำร้ายจิตใจของคนในครอบครัวด้วยคำพูดได้)

สุภาษิต 18:6 ริมฝีปากของคนโง่นำการวิวาทมา และปากของเขาเชื้อเชิญการโบย

18:20 ท้องจะอิ่มก็จากผลแห่งปากของเขา เขาหนำใจเพราะผลอันเกิดจากริมฝีปากของตน

15:1-2 คำตอบอ่อนหวานช่วยละลายความโกรธเกรี้ยวให้หายไป แต่คำกักขฬะเร้าโทสะ ลิ้นของปราชญ์ แจกจ่ายความรู้ แต่ปากของคนโง่ เทความโง่ออกมา

15:28 ใจของคนอธรรม รำพึงว่าจะตอบอย่างไร แต่ปากของคนชั่วร้ายเทสิ่งชั่วร้ายออกมา

16:23-24 ใจของปราชญ์กระทำให้วาจาของเขาสุขุม และเพิ่มอำนาจในการสั่งสอนแก่ริมฝีปากของเขา , ถ้อยคำแช่มชื่นเหมือนรวงผึ้ง เป็นความหวานแก่วิญญาณจิต และเป็นอนามัยแก่ร่างกาย

โคโลสี 3:21 ฝ่ายบิดาก็อย่ายั่วบุตรของตนให้ขัดเคืองใจ เกรงว่าเขาจะท้อใจ

เอเฟซัส 6:4 ฝ่ายท่านผู้เป็นบิดา อย่ายั่วบุตรของตนให้เกิดโทสะ แต่จงอบรมบุตรด้วยการสั่งสอน และการเตือนสติ ตามหลักขององค์พระผู้เป็นเจ้า

4:29 อย่าให้คำหยาบคายมาจากปากท่านเลย แต่จงกล่าวคำที่ดีและเป็นประโยชน์ให้เหมาะสมกับความต้องการ เพื่อจะเป็นคุณแก่คนที่ได้ยินได้ฟัง

1โครินธ์ 13:1-2 แม้ข้าพเจ้าพูดภาษาแปลก ๆ ได้ เป็นภาษาของมนุษย์ก็ดี เป็นภาษาทูตสวรรค์ก็ดี แต่ไม่มี ความรัก ข้าพเจ้าก็เป็นเหมือนฆ้องหรือฉาบที่กำลังส่งเสียง แม้ข้าพเจ้าเผยพระวจนะได้ และเข้าใจในความล้ำลึกทั้งปวงและมีความรู้ทั้งสิ้นและมีความเชื่อมากยิ่งที่สุดพอจะยกภูเขาไปได้ แต่ ไม่มีความรัก ข้าพเจ้าก็ไม่มีค่าอะไรเลย (ความรู้ ความถูกต้อง , เหตุผล ต้องมีความรักด้วยเสมอ)

1ธก 5:11 เหตุฉะนั้น จงหนุนใจกันและต่างคนต่างจงก่อกันขึ้นตามอย่างที่ท่านกำลังทำอยู่นั้น

การสื่อสารที่ถูกต้อง นำไปสู่ความเข้าใจ ความเห็นใจ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

เปโตร 3 :8-9 ในที่สุดนี้ ท่านทั้งหลาย จงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เห็นอกเห็นใจกัน รักกันฉันพี่น้อง มีจิตใจอ่อนโยนและอ่อนน้อม อย่าทำร้ายตอบแทนการร้าย อย่าด่าตอบแทนการด่า แต่ตรงกันข้าม จงอวยพรแก่เขา ด้วยว่าพระองค์ได้ทรงเรียกท่านให้กระทำเช่นนั้น เพื่อจะได้รับพระพร

การสื่อสาร แบบ “I message”

หมายถึง การสื่อสารโดยการเปิดเผย ความคิด / ความรู้สึก / ความต้องการของตนเอง โดยไม่กระทบตัวตนของผู้อื่น ( การเปิดเผยตนเอง - ความเข้าใจของอีกฝ่าย)

เช่น ฉัน / ผม ..... แล้วบอกสิ่งที่อยู่ในจิตใจออกไป (ความคิด / ความรู้สึก / ความต้องการ ) โดยไม่กล่าวโทษ / ตำหนิผู้อื่น

อุปสรรค : You ….. ไม่สื่อสาร ( เขาควรจะ/น่าจะรู้)

จบท้ายด้วยการดูหนังสั้น เรื่อง Song Song and Little Cat

การสรุปสิ่งที่ได้จากการชมหนังเรื่องนี้ เป็นเรื่องของครอบครัว ที่เปิดเผยถึงการอยู่ด้วยความหวัง และการสิ้นหวัง ซึ่งทั้งสองลักษณะ สามารถส่งต่อกันไปได้ โดยเพียงแค่ใครสักหนึ่งคนมี และสิ่งนี้จะเป็นพลังมหาศาลในการทำให้เรามีชีวิตในโลกนี้อย่างมีความสุข

สุดท้าย พระเจ้าให้เราใช้ความสัมพันธ์ในครอบครัว ซึ่งประกอบไปด้วย พ่อ แม่ และลูกนั้นพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเราแต่ละคนกับพระเจ้าด้วย

</span>

<?xml:namespace prefix = v />


หมายเลขบันทึก: 589947เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2015 15:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2015 16:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท