OT in Feeding Performance of Infants​​ (ตอน ผลกระทบที่ส่งผลต่อการกิน)


สวัสดีค่ะจากการที่ฉันได้เห็นกรณีศึกษาหนึ่งที่เป็นแรงผลักดันให้ฉันอยากที่จะเรียนรู้ความสามารถในการกินอาหารในเด็กทารก โดยจุดเริ่มต้นนี้เริ่มจากเด็กคนหนึ่งที่ฉันได้ลงชุมชนไปเพื่อดูพัฒนาการของเต็มและประเมินถึงปัญหารวมกับทีมนักกายภาพบำบัด โดยบทบาทของนักกิจกรรมบำบัดได้เข้าไปดูในส่วนของการดูดกลืนของเด็ก 4 เดือน ซึ่งนั้นเป็นจุดเล็กๆที่ทำให้ฉันได้ศึกษาการกระตุ้นการดูดกลืนในเด็กทารกโดยดิฉันอยากทราบในหัวข้อดังต่อไปนี้

ผลกระทบที่ส่งผลต่อการกินและกลืนในเด็กเล็กมีอะไรบ้าง ?
บทบาทของนักกิจกรรมบำบัดทำอะไรได้บ้าง ?
การประเมินทางกิจกรรมบำบัดต้องประเมินอะไรบ้าง ?
จะมีวิธีการรักษา/ส่งเสริมการกินของเด็กอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ?


ผลกระทบที่ส่งผลต่อการกินและกลืนในเด็กเล็ก

ดิฉันขอยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่ได้เจอขณะได้ไปลงชุมชนและฝึกงานที่โรงพยาบาลในช่วงปี 3 มาวิเคราะห์ตาม PEOP

กรณีศึกษาที่ 1 เด็กหญิง ก อายุประมาณ 4 เดือน มีปัญหาในการกินและกลืนอาหารเนื่องจากน้องไม่ยอมปิดปากและมีการขับถ่ายที่ผิดปกติเนื่องจากมีก้อนเนื้อทับเส้นประสาทบริเวณไขสันหลัง(Spina bifida)ทำให้มีปัญหาเรื่องระบบขับถ่ายที่ส่งผลต่อการกินด้วย

P= Person เพศหญิง อายุ 4 เดือน

E=Environment สภาพแวดล้อม ท่าทางขณะดูดกลืนเหมาะสมดี

O=Occupation การกลืนของน้องมีผลมากจากหลายองค์ประกอบได้แก่

  • oการนอนของเด็ก ที่มีนอนหลับไม่สนิท มีตื่นตอนกลางคืน
  • oการขับถ่าย ไม่สามารถขับถ่ายได้ปกติเนื่องจากมีปัญหาจากโรค
  • oการหายใจ มีการหายใจหอบเมื่อดูดกลืน

P=Performance ความสามารถที่มีปัจจุบันของน้องไม่สามารถปิดปากส่งผลทำให้กลืนลำบาก

กรณีศึกษาที่ 2 ผู้รับบริการ เด็กชาย ข อายุ 3 เดือน มีปัญหาเรื่องการหายใจ ต้องระมัดระวังคอยดูระดับออกซิเจนในเลือดเสมอ น้องสามารถดูดได้แรงแต่กลืนได้ช้า มีปัญหาเรื่องลิ้นคับปาก และการปิดปากไม่ได้

P= Person เพศชาย อายุ 3 เดือน

E=Environment สามารถดูดนมได้จากขวดนม

O=Occupation การกินและการกลืนที่มีปัญหาเนื่องจากน้องมีการหายใจหอบถี่หลังการดูดกลืน มีการดูดที่แรงแต่ไม่กลืน จังหวะการกลืนการดูดตลอดเวลา ไม่หยุดพักเพื่อที่จะกลืน มีปัญหา Tongue thrust

P=Performance ความสามารถปัจจุบันน้องสามารถดูดได้แรง แต่ปากปิดไม่สนิท และมีการหอบเหนื่อยเป็นอุปสรรคในการกลืน

จะเห็นได้ว่าจากกรณีศึกษามีปัญหาการกลืนที่มีสาเหตุมาจากหลายๆองค์ประกอบซึ่งนักกิจกรรมบำบัดจะต้องทำการประเมินและดูปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่อาจจะส่งผลต่อการกินของเด็กด้วย หากเด็กสามารถกินอาหารและกลืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะส่งผลต่อ Quality of life และมีชีวิตที่ดีและมีคามสุขนำไปสู่ Well-being
หมายเลขบันทึก: 589583เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2015 21:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2015 21:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท