ความเป็นผู้ให้ บาทฐานแห่งจิตใจที่ "พอเพียง..."


เมื่อสังคมโลกพัฒนา เราคงจะปฏิเสธการพัฒนาอย่างนั้นไม่ได้

สิ่งที่เราทำได้คือการพัฒนาใจของตัวเอง ให้เข้มแข็ง แข็งแรง แข็งแกร่ง เพื่อที่จะยืนหยัด ต่อสู้ การสิ่งแวดล้อมที่กำลัง "พัฒนา..."

เมื่อเทคโนโลยีพัฒนา ใจก็ต้องพัฒนาถึงจะเกิดความสมดุล เมื่อเศรษฐกิจก้าวหน้า ใจก็ต้องก้าวไปที่จะได้ชื่อว่ามี "เศรษฐกิจที่พอเพียง"

ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นหลักการดำรงชีวิตที่ประเสริฐ ท่านทรงสอนให้เข้ารู้จักปรับใช้การพัฒนาทางเทคโนโลยีทางสังคมให้ย่นย่อลงมาที่การพัฒนาใจ

คนรวยเท่าไหร่ ถ้าใจไม่สงบมันก็เป็นทุกข์ คนเราถึงแม้จะจน หาเช้ากินค่ำ แต่ใจสงบ คนนั้นก็เป็นสุข คนที่จิตใจพอเพียง คือคนที่มีจิตใจสงบ คนที่จิตใจพอเพียง คือคนที่ใจไม่มีทุกข์ ดังนั้นการพัฒนาเศรษฐกิจต้องควบคู่กับการพัฒนาใจ

เมืองไทยถือว่าเป็นเมืองที่ประเสริฐ ที่ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนา ไม่ว่าศาสนาใด ๆ ก็สอนให้ทุกคนเป็นคนดี เพราะศาสนานั้นคือชื่อแห่งความดี

ความดีเป็นพื้นฐานของชีวิต ความดีเป็นพื้นฐานของจิตใจ คนใจดีคือคนที่รู้จักพอ คนใจดีคือคนที่เป็นผู้ให้ รู้จักแบ่งปัน เจือจาน เจือจุน คนดีคือคนที่คอยค้ำจุนประเทศชาติและสังคมให้เจริญได้อย่างมั่นคง

คนเราถ้าเก่งด้วย ดีด้วย คนนั้นคือมนุษย์ผู้ประเสริฐ

ปัจจัยสำคัญที่จะทำคนเป็นคนดี บุคคลคนนั้นต้องเป็นผู้ที่เสียสละ และรับผิดชอบ

ผู้ที่เสียสละ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้ที่มีศีล ผู้ที่มีระเบียบมีวินัย ผู้นั้นเป็นผู้ที่ชื่อว่ามีศีล ผู้ใดมีความรับผิดชอบ ผู้นั้นแหละชื่อว่าเป็นผู้ที่มีปัญญา "ปัญญาที่แท้จริงมีพื้นฐานมาจากการเสียสละ และรับผิดชอบ..."

รับผิดชอบต่อตนเอง รับผิดชอบต่อครอบครัว รับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ คนที่รับผิดชอบได้ คือผู้ที่คิดเป็น ผู้ที่คิดเป็นได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มี "สัมมาทิฐิ"

คิดที่จะทำความดี คิดที่จะเสียสละ ทำทุกอย่างเพื่อให้ ทำทุกอย่างโดยไม่หวังผลอะไรตอบแทน ไม่คิดที่จะเบียดเบียนใคร ไม่คิดที่จะเอาความสุขบนความทุกข์ของผู้อื่น

มีข้าว มีอาหารพอเลี้ยงชีวิตและครอบครัว มีบ้านหลังหนึ่งที่ไม่ต้องใหญ่โต มีรถยนต์คันหนึ่งพอใช้งานขับไปไหนมาไหนได้ มีทุนรอนในการใช้จ่ายไว้ใช้เมื่อตนเองและครอบครัวเจ็บไข้ไม่สบาย

ความพอเพียงเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่ประเสริฐ ความพอเพียงที่จะเกิดขึ้นในใจในจิตได้นั้นเราต้อง "ปฏิบัติ"

ต้องรู้จักให้ทาน คือรู้จักการเป็นผู้ให้ เริ่มตั้งแต่ให้รอยยิ้ม ให้วัตถุ ให้แรงกาย ให้แรงใจ เป็นผู้ให้อย่างไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ

"คนเราเกิดมาก็เกิดมาคนเดียว ตายไปก็ตายไปคนเดียว" ถ้าเราเกิดมาเป็นผู้เอานี้แย่แน่ สังคมเดือดร้อนแน่ ที่ประเทศชาติเรามีปัญหาอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะมี "ผู้เอา" มากกว่า "ผู้ให้"

เราตื่นขึ้นต้องถามตนเองเสมอว่า "วันนี้เราจะให้อะไรกับใครบ้าง..?" และเราต้องเลิกเสียซึ่งคำถามที่ว่า "วันนี้เราจะไปเอาอะไรกับใคร..?" จะไปหาเงินที่ไหน จะไปเอาผลประโยชน์จากใคร จะไปหลอกลวงใครเพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุแก่ตนเอง

ความคิดเป็นสิ่งที่สำคัญ... เราต้องคิดให้ และต้องให้เสมอ

เริ่มตั้งแต่การเรียนหนังสือ เราต้องคิดว่า เราเรียนสาขาไหน ตัวเรานี้จะสามารถให้ประโยชน์แก่ส่วนรวมได้มากที่สุด เราทำงานอะไร เราถึงจะให้ประโยชน์แก่ส่วนรวมได้มากที่สุด ทุก ๆ ย่างก้าวของเราต้องเป็นผู้ให้ แล้วจิตใจของเราจะได้สัมผัสถึงความสุขที่แท้จริง...

ปภังกร วงศ์ชิดวรรณ

๒๒ เมษายน ๒๕๕๘

หมายเลขบันทึก: 589215เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2015 15:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 เมษายน 2015 15:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ชอบใจเรื่องจิตใจของผู้ให้เรียนสายไหนควรทำให้ส่วนรวมมากที่สุดครับ

ทุก ๆ คนที่มาที่นี่ จะมีส่วนร่วมในการ "ทำความดี"

เป็นเวทีให้ความดี

การทำความดีต้องเน้นการปฏิบัติจริง ลงมือจริง แล้วความดีก็จะฝังลงไปในจิตในใจจริง ๆ

สวัสดีนะคะคุณปภังกร วงศ์ชิดวรรณ ขอบคุณสำหรับบันทึกดีดีนี้ค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท