‘เค็มหวานเผ็ดเปรี้ยว’ คิดสักนิดก่อนปรุง


ทุกรสชาติของอาหาร หวาน เปรี้ยว เค็ม เผ็ดนั้น ทุกคนต้องมีรสชาติอาหารที่ถูกปากของตัวเอง เช่นถ้าสั่งก๋วยเตี๋ยวมา1ชาม ทุกคนทุกมีสูตรการปรุงพริกน้ำส้ม น้ำปลา น้ำตาล ที่มากน้อยต่างกันอยู่แล้ว ซึ่งน้อยคนนักที่จะทานโดยที่ไม่ต้องปรุง

'เค็มหวานเผ็ดเปรี้ยว' คิดสักนิดก่อนปรุง thaihealth

รู้มั้ยว่ารสชาติอาหารต่างๆนั้นมีข้อดีข้อเสียกับร่างกายเหมือนกัน เพราะฉะนั้นอาหารที่รสชาติจัดจ้านจนเกินไป อาจจะถูกปากเราในตอนนี้ แต่ก็จะส่งผลเสียให้เราในอนาคตได้ ทางที่ดีก่อนที่เราจะปรุงอาหารตามรสชาติที่ชื่นชอบนั้น ลองหยุดคิดสักนิดหรือชิมก่อนปรุงสักหน่อย หรือจะเปลี่ยนสไตล์ใหม่ลองทานอาหารที่ไม่ต้องปรุงมากจนเกินไปก็ดีเหมือนกันนะ

รสเค็ม

หลายคนชื่นชอบรสชาติเค็ม ถึงแม้จะรู้กันดีอยู่แล้วว่า ความเค็มที่มากเกินไปจะเป็นปัญหาต่อสุขภาพ ซึ่งอาหารไทยหลายชนิดมีส่วนผสมของเกลือในปริมาณสูง โดยความเค็มยังแอบซุกซ่อนอยู่ในอาหารสำเร็จรูปอีกหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นขนมอบกรอบ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง ผักดอง และซอสต่างๆ รวมไปถึงอาหารตามธรรมชาติบางอย่างก็ยังมีโซเดียมสูง เช่น อาหารทะเลและเนื้อสัตว์ต่างๆ หมายความว่า เวลาที่เราจะรับประทานอะไรก็ควรต้องระมัดระวังใน การปรุงรสพอสมควร มิฉะนั้นอาจสุ่มเสี่ยงต่อโรคภัยที่เกิดจากการบริโภคโซเดียมสูงเกิน

สำหรับโทษของการกินเค็มจัดคือ ทำให้เป็นโรคไต ความดันโลหิตสูง แต่ความอันตรายยังไม่หมดอยู่เพียงเท่านั้น เพราะความเค็มยังอาจก่อให้เกิดโรคอัมพฤกษ์ โรคหัวใจ อาการบวม หัวใจวาย ริดสีดวง ไมเกรน และภาวะกระดูกบาง ซึ่งถ้าเราทานเกลือให้น้อยลงจะส่งผลให้การทำงานของอินซูลินดีขึ้น

รสหวาน

เมื่อพูดถึงความหวาน น้ำตาลก็คือสิ่งที่หลายคนนึกถึง ซึ่งถูกจัดให้อยู่ในอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต ให้พลังงานต่อร่างกายในทันทีที่กินเข้าไป ส่งผลให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่าอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าคุณเป็นผู้ที่หลงใหลในความหวานก็ควรระวังไว้สักนิด เพราะหวานมากไปก็ทำให้อ้วน เนื่องจากร่างกายได้รับพลังงานมากเกินไปจนก่อให้เกิดไขมันสะส

นอกจากนี้ อาหารรสหวานยังเป็นอันตรายสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เพราะเมื่อรับประทานเข้าไปมาก ๆ จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดขาดความสมดุล ตับอ่อนผลิตอินซูลินออกมามากกว่าปกติเพื่อกำจัดปริมาณน้ำตาลในเลือด ยิ่งคนเป็นเบาหวานกินหวานมากเท่าไรก็จะยิ่งให้ตับอ่อนทำงานหนัก และเป็นอันตรายมากเท่านั้น

รสเปรี้ยว

รสเปรี้ยวมีคุณสมบัติสำคัญในการกระตุ้นตับและถุงน้ำดี ให้ปล่อยน้ำย่อยช่วยในการดูดซึมอาหารของร่างกาย ฟอกเลือด เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับเสมหะ และแก้เลือดออกตามไรฟัน ซึ่งการรับรสเปรี้ยวจากธรรมชาติอย่าง มะนาว มะกรูด มะขาม มะม่วงดิบ หรือสับปะรด นับว่าไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมากนัก

แต่ถ้าเป็นความเปรี้ยวที่มาจากสารสังเคราะห์อย่าง น้ำส้มสายชู หากบริโภคมากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อร่างกายได้เช่นเดียวกันกัน โดยโรคที่มากับอาหารรสเปรี้ยวคือ ท้องเสีย ร้อนใน ระบบน้ำเหลืองในร่างกายมีปัญหา และกระดูกผุ

รสเผ็ด

ทั้งความเผ็ดที่มาจากพริก หรือสมุนไพร เช่น กานพลู ยี่หร่า กระเทียม หัวหอม และพริก ซึ่งความเผ็ดนี่เองที่จะช่วยให้การทำงานของปอดและลำไส้ใหญ่เป็นไปตามปกติ แต่ถ้าบริโภคมากเกินไปก็อาจทำให้เกิดโรคร้ายที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคกรดในกระเพาะอาหารที่ทำให้นักกินเผ็ดมักมีอาการท้องขึ้นและอึดอัด

คำสำคัญ (Tags): #kmanw
หมายเลขบันทึก: 589153เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2015 10:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 เมษายน 2015 10:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท