กริยาที่เป็นกลุ่มคำ : วิธีสอน และ แนวทาง (Multi-word verbs: Method and approach) ตอนที่ 2


การเน้นไปที่กริยาที่เป็นกลุ่มคำ (Focus on lexical verb)

มีอีกวิธีการหนึ่งในการจัดกลุ่มให้พวกกริยาที่เป็นกลุ่มคำ เช่น เรามี run into, run over, run off, run away, run through แบบฝึกหัดที่วิธีการแบบนี้ก็คือการวัดความรู้ในเรื่องความแตกต่างระหว่างกริยาในกลุ่ม โดยการให้เติมคำ เช่น I……..Simon in the cinema last night. (run into).

แบบฝึกหัดพวกนี้เป็นการทดสอบความหมาย มากกว่ารูปแบบ แต่กระนั้นก็ยังไม่มีความเกาะเกี่ยวกันทางสถานการณ์ (situation coherence) ฉันยังพบอีกว่า หากการทำแบบฝึกหัดใดที่ไม่มีบริบท จะทำให้แบบฝึกหัดนั้นยากจนไม่สามารถจำได้ในหมู่ผู้เรียน พวกนักเรียนขาดจุดประสงค์ทางการสื่อสาร และนักเรียนจะไม่มีตัวตะขอในการเกี่ยวพันกับความหมายในชีวิตจริง

วิธีการหนึ่งในการทำแบบฝึกหัดนี้ให้มีลักษณะการสื่อสารมากขึ้นก็คือ ให้นักเรียนได้เขียนประโยคเกี่ยวกับตนเอง โดยการใช้กริยาที่เรียนไป เพื่อจุดประสงค์ในการสร้างความหมาย ที่เป็นจริงสำหรับพวกเขา

ประเด็นต่อมา ที่เกี่ยวข้องกับการจัดกลุ่มนี้ก็คือ การจัดกลุ่มนี้อาจทำให้นักเรียนสับสน จริงๆแล้ว ตัวที่ทำให้ความหมายเปลี่ยนก็คือ องค์ประกอบต่างๆ (particles) สิ่งที่ทำให้นักเรียนสับสนก็คือ องค์ประกอบที่มีหลากหลายมาก บางทีพวกนักเรียนอาจเขียนว่า I need to run into my speech tonight แทนคำว่า run through เป็นต้น

กลุ่มคลังคำ (lexical sets)

เมื่อไม่นานมานี้ มีแนวทางในการจัดกลุ่มกริยาวลีเป็นแบบคลังคำ ดังนั้นตัวบทที่เกี่ยวกับการเดินทางโดยเครื่องบิน อาจหมายรวมถึง take off, do up, speed up, touch down ฯลฯ

หนังสือกริยาวลีบางเล่มได้จัดกริยาในลักษณะแบบนี้ และจะมีข้อได้เปรียบมาก กริยาจะนำเสนอผ่านตัวบท ซึ่งทำให้ความหมายมีความชัดเจน และนักเรียนสามารถใช้บริบท หรือคำที่อยู่ข้างเคียงในการเดาความหมาย ลักษณะทางปัญญาอย่างนี้จะทำให้แบบฝึกหัดจำได้ง่ายกว่า

โดยปกติ ผู้เรียนจะเริ่มต้นการตระหนักรู้ไปจนถึงการผลิตภาษา และจำเป็นต้องมีแบบฝึกหัดอันสุดท้าย ที่จะให้ผู้เรียนนำกริยานั้นมาอยู่ในตัวเอง โดยการตั้งคำถาม

อย่างไรก็ตามความสับสนยังมีอยู่อย่างมาก เมื่อกลุ่มคลังคำบรรจุไว้ด้วยคำที่มีความหมายเดียวกัน เช่น นักเรียนของฉันจะมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์ (relationship) ในเรื่องเกี่ยวกับกริยา เช่น go out with, get on with, fall out, และ split up ฉันได้พบว่าคำที่มีความหมายเดียวกันอยู่ร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำที่มีรูปแบบเดียวกัน เช่น go out with และ get pm with

หนังสืออ้างอิง

Vanessa Steele. (2015). Multi-word verbs: Methods and approaches. http://www.teachingenglish.org.uk/article/multi-word-verbs-methods-approaches?utm_source=facebook&utm_medium=social&utm_campaign=%20bc-teachingenglish-facebook

หมายเลขบันทึก: 588871เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2015 06:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2015 06:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท