ทำไมยังให้หนูเรียนดนตรีไม่ได้ ตอนที่ 1


เรารู้จักภาวะการคลอดก่อนกำหนด หรือ Prematurity เป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นภาวะที่ไม่มีใครต้องการให้เกิด เด็กมักจะมีปัญหาตั้งแต่ภายนอกไปจนถึงภายใน ปัญหาการได้ยิน การมองเห็น ไปจนถึงภาวะพิการบางอย่าง แน่นอนไม่มีใครปราถนาให้ลูกคลอดก่อนกำหนด ทุกๆคนล้วนอยากให้ลูกน้อยแข็งแรง สมบูรณ์ ทั้งทางกายและใจ แต่สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้ เราทำได้แค่เพียงป้องกันและยอมรับผลในสิ่งที่จะตามมา




โอกาส?
มอลคอม เกตเวลได้กล่าวถึงงานวิจัยหลายชิ้น ในหนังสือ Outliers ถึงเรื่องกฎ 10,000 ชั่วโมงว่า การจะมีความชำนาญเพียงพอที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้เชี่ยวชาญระดับโลกได้นั้น จำเป็นจะต้องอาศัยการฝึกซ้อมอย่างน้อย 10,000 ชั่วโมง จากการศึกษานักประพันธ์เพลง นักบาสเกตบอล นักเขียนนิยาย CEOบริษัทใหญ่ของโลก นักเปียโน นักเล่นหมากรุก ไปจนถึง หัวหน้าแก๊งอาชญากรรม!! โดยตัวเลขนี้ไม่ได้ตอบคำถามว่าทำไมบางคนถึงได้ประโยชน์จากการฝึกซ้อมมากกว่าคนอื่น เพียงแต่ยังไม่เคยมีใครพบผู้เชี่ยวชาญระดับโลกคนไหนที่ประสบความสำเร็จได้โดยที่ทุ่มเทเวลาฝึกซ้อมน้อยกว่านี้ แนวคิดการมีชั่วโมงแห่งความเชี่ยวชาญมากจะไปถึงความสำเร็จได้มากกว่า จึงค่อยๆเข้ามามีบทบาทในสังคมปัจจุบัน
เราเชื่ออย่างสุดใจว่าควรส่งลูกน้อยของเราเข้าสู่กระบวนการศึกษาให้เร็วที่สุด เพื่อสร้างชั่วโมงแห่งความเชี่ยวชาญ หรือเพื่อความพร้อมในทางสังคม เรามองผลลัพธ์ระยะยาวจนอาจหลงลืมคำถามสำคัญที่ว่า ลูกเรานั้นพร้อมหรือยังกับกระบวนการศึกษา และการเริ่มต้นให้เร็วที่สุดนั้นใช่องค์ประกอบที่จะนำไปสู่การประสบความสำเร็จจริงๆหรือไม่?



ความสำเร็จและกับดักของการแข่งขัน

ปัจจุบันการเรียนก่อนเกณฑ์กลายเป็นสิ่งที่ยอมรับกันในสังคม และดูว่าจะยกย่องเด็กที่สามารถเอาตัวรอดหรือเรียนได้ทันเพื่อนๆที่อายุมากกว่า แต่เราไม่อาจเรียกสิ่งนี้ว่าเป็นความได้เปรียบได้เลยถ้าพิจารณาถึงกระบวนการเรียนแบบห้องเรียน ที่มีการจัดอันดับ การให้คะแนน การแข่งขันคัดเลือกคนเก่งไปจนถึงการให้รางวัลคนเรียนดี ทุกสิ่งล้วนส่งผลกระทบที่ให้กับเด็กที่เรียนก่อนเกณฑ์ สิ่งเล็กๆน้อยๆนี้ถือเป็นการทำโทษเด็กก่อนเกณฑ์ จากการแบ่งกลุ่มเด็กที่ประสบความสำเร็จกับไม่ประสบความสำเร็จ กลายเป็นกลุ่มที่ได้รับการเอาใจใส่หรือไม่ได้รับการเอาใจใส่ในท้ายที่สุด
การสร้างความรู้สึกไม่ประสบความสำเร็จในสิ่งเหล่านี้ให้เกิดกับเด็ก แม้เพียงเล็กน้อยแต่ทว่าต่อเนื่องและยาวนาน สำหรับช่วงชีวิตในวัยเด็กวัยที่ไม่เคยมีประสบการณ์ชีวิตมาก่อน การผ่านช่วงเวลานี้ถือเป็นความยากลำบากอย่างยิ่ง โดยเมื่อเราหันไปสังเกตนักเรียนในชั้น อนุบาลและประถมศึกษาปีที่ 1 เราจะพบว่าคุณครูส่วนมากจะสับสนระหว่างการเจริญเติบโตตามวัยกับความสามารถที่แท้จริง ส่งผลให้เด็กที่มีอายุมากกว่าแม้เพียงเล็กน้อย จะได้เข้าไปอยู่ในกลุ่มที่เก่งกว่า และจะเป็นอย่างนี้ต่อไปจนกว่าเด็กจะหลุดจากกระบวนการศึกษา จากหลายๆงานวิจัยพบว่ามีเพียงประเทศเดนมาร์ก เพียงประเทศเดียวที่มีนโยบายประจำชาติว่าจะไม่แบ่งกลุ่มเด็กตามความสามารถจนกว่าพวกเขาจะอายุครบ 10 ขวบ ประเทศนี้เลื่อนการตัดสินเด็กออกไปจนกว่าจะถึงเวลาที่ไม่มีความได้เปรียบและเสียเปรียบทางการเจริญวัยที่ไม่เท่าเทียมกัน

หมายเลขบันทึก: 588863เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2015 22:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2015 23:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ชอบบันทึกนี้มากค่ะ

ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่ไม่สนับสนุนการตัดสิน แบ่งแยก เด็กค่ะ

และชื่นชมผู้ใหญ่ที่ชื่นชมความสามารถของเด็กๆ แบบไม่เปรียบเทียบ

บันทึกมีประโยชน์มากเลยครับ

ได้เห็นว่าการสอนแบบไม่แยกชั้นเป้นอย่างไร

ขอบคุณครับอาจารย์

ดีใจที่บันทึกนี้มีประโยชน์นะครั

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท