กฎกระทรวงว่าด้วยการขอและการออกใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ


กฎกระทรวงว่าด้วยการขอและการออกใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ

พ.ศ. ....

---------------

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ (๕) แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ และมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิก ข้อ ๕. ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๔๙๗) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๘ (พ.ศ. ๒๕๕๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗

ข้อ ๒ ในกฎกระทรวงนี้

"เครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ" หมายความว่า เครื่องที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศของอากาศยาน รวมตลอดถึงอาคาร สิ่งติดตั้ง และอุปกรณ์ของเครื่องดังกล่าว โดยแบ่งออกเป็นเครื่องช่วยการเดินอากาศ เครื่องสื่อสารการบิน และเครื่องติดตามอากาศยาน สกม. ตรวจสอบโครงร่าง กม. เพิ่มเติ่ม

"เครื่องช่วยการเดินอากาศ" หมายความว่า เครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศที่ช่วยในการนำทางของอากาศยานเกี่ยวกับทิศทางการบิน ระยะทาง ทิศที่ตั้งของสนามบิน และแนวในการร่อนลงสู่สนามบิน โดยแบ่งออกเป็น(visual aids) (ควรเปลี่ยนเป็นเครื่องช่วยการเดินอากาศด้วยทัศนวิสัยเพื่อให้สอดคล้องกับใบอนุญาตจัดตั้งฯที่บพ.ใช้อยู่ในปัจจุบัน) เครื่องวิทยุช่วยการเดินอากาศ (radio navigation aids) และเครื่องช่วยการเดินอากาศโดยใช้สัญญาณดาวเทียม

"เครื่องทัศนวิสัยช่วยการเดินอากาศ" หมายความว่า เครื่องช่วยการเดินอากาศที่ใช้ในการส่งข้อมูล ข่าวสาร การนำทางด้วยแสงไปในอากาศให้แก่นักบิน อาทิ ถุงกระบอกทิศทางลม เครื่องหมาย ป้าย อุปกรณ์เครื่องหมาย ระบบไฟฟ้าสนามบิน

"เครื่องวิทยุช่วยการเดินอากาศ"(ควรใช้วิทยุเครื่องช่วยการเดินอากาศ ซึ่งจะสอดคล้องกับภาคผนวก 10 เล่ม 1 (Radio navigation aids) และชื่อในใบอนุญาตจัดตั้งฯที่ บพ.ใช้อยู่ในปัจจุบัน) หมายความว่า เครื่องช่วยการเดินอากาศที่ใช้ในการส่งข้อมูล การนำทางด้วยคลื่นวิทยุไปในอากาศให้แก่นักบิน ประกอบด้วย สถานีวิทยุเครื่องช่วยการเดินอากาศ ไอ แอล เอส (Instrument Landing System: ILS) สถานีวิทยุช่วยการเดินอากาศ วี โออาร์ (Very high frequency Omni-directional Ranger: VOR) เครื่องช่วยการเดินอากาศ ดี เอ็ม อี (Distance Measuring Equipment: DME) เครื่องช่วยการเดินอากาศ เอ็น ดี บี (Non-Directional Beacon: NDB) "เครื่องช่วยการเดินอากาศโดยใช้สัญญาณดาวเทียม" หมายความว่า เครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศที่ใช้ในการส่งข้อมูล ข่าวสาร การนำทางให้แก่นักบิน โดยใช้สัญญาณดาวเทียม ซึ่งเรียกว่า ระบบดาวเทียมนำร่อง (Global Navigation Satellite Service: GNSS) (ใน ภาคผนวก 10 เล่ม 1 บทที่ 2 (Radio Navigation Aids) กำหนดให้ระบบ GNSS อยู่ในประเภทวิทยุเครื่องช่วยการเดินอากาศ ไม่แยกออกมาต่างหาก

"เครื่องสื่อสารการบิน" (ควรใช้เป็นระบบสื่อสารการบินหรือวิทยุสื่อสาร ซึ่งจะสอดคล้องกลับใบอนุญาตจัดตั้งฯและชื่อภาคผนวกที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ภาคผนวก 10 เล่ม 3 ว่าด้วยเรื่อง Communication System) หมายความว่า เครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศที่ใช้ในการรับ-ส่ง ข่าวสารที่เป็นเสียง (Voice) หรือข้อมูล (Data) เพื่อการสื่อสารด้านการบินด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปในอากาศ หรือ ผ่านทางคู่สายโทรศัพท์ ระบบใยแก้วนำแสง หรือผ่านระบบดาวเทียมให้แก่นักบิน หรือสื่อชนิดอื่นใด แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทตามการให้บริการได้แก่ ระบบสื่อสารในกิจการประจำที่ (Fixed Service) และระบบสื่อสารในกิจการเคลื่อนที่ (Mobile Service) เช่น เครื่องวิทยุสื่อสารแบบเอเอ็มย่านความถี่สูงมาก (VHF-AM) ระบบเครือข่ายโทรคมนาคมการบิน (aeronautical telecommunication network) เป็นต้น

"เครื่องติดตามอากาศยาน" (ควรใช้ชื่อเป็นระบบเรดาร์ติดตามอากาศยาน ซึ่งจะสอดคล้องกลับใบอนุญาตจัดตั้งฯและชื่อภาคผนวกที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ภาคผนวก 10 เล่ม 4 ว่าด้วยเรื่อง Surveillance Radar and Collision Avoidance System) หมายความว่า เครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศที่ช่วยในการแจ้งตำแหน่งและตรวจการณ์ข้อมูลของอากาศยานภายในห้วงอากาศ ประกอบด้วย เครื่องติดตามอากาศยานแบบเรดาร์ปฐมภูมิ (Primary Surveillance Radar: PSR) เครื่องติดตามอากาศยานแบบเรดาร์ทุติยภูมิ (Secondary Surveillance Radar: SSR) เครื่องเรดาร์ติดตามความเคลื่อนไหวบนพื้นผิว (surface movement radar) เครื่องติดตามอากาศยานในพื้นที่สนามบิน (multilateration) เครื่องติดตามอากาศยานแบบอัตโนมัติ (Automatic Dependent Surveillance-Broadcast: ADS-B) เป็นต้น

"บริการจราจรทางอากาศ" หมายความว่า การให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศ การให้บริการข่าวสารการบิน การให้บริการเฝ้าระวังภัย หรือการให้บริการแนะนำการจราจรทางอากาศ

"ใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศประเภททั่วไป" หมายความว่า หนังสือสำคัญที่ออกให้สำหรับผู้ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ที่มิใช่เพื่อการสนับสนุนการให้บริการจราจรทางอากาศ"

"ใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศสำหรับการสนับสนุนการให้บริการจราจรทางอากาศ" หมายความว่า หนังสือสำคัญที่ออกให้สำหรับผู้ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศเพื่อวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้สำหรับการให้บริการจราจรทางอากาศ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศ การให้บริการข่าวสารการบิน การให้บริการเฝ้าระวังภัย หรือการให้บริการแนะนำการจราจรทางอากาศ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน

"อธิบดี" หมายความว่า อธิบดีกรมการบินพลเรือน

ข้อ ๓ ใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศมีสองประเภท ได้แก่

(๑) ใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศประเภททั่วไป

(๒) ใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศสำหรับการให้บริการจราจรทางอากาศ

หมวด ๑

ใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศประเภททั่วไป

-------------------

ข้อ ๔ ผู้ขอใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศประเภททั่วไปต้องมีคุณสมบัติและลักษณะดังต่อไปนี้

(๑) เป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล

(ก) ในกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดา ต้อง

๑) ไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

๒) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย

๓) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (ควรมีคุณสมบัตินี้หรือไม่ จะเป็นการจำกัดสิทธิผู้ขอมากไปหรือไม่) สกม. ไปพิจารณา

(ข) ในกรณีที่เป็นนิติบุคคล กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอำนาจ

กระทำการผูกพันนิติบุคคล จะต้องไม่มีลักษณะตาม (ก) ๑) ๒) และ ๓) ด้วย

(๒) มีกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง หรือสิทธิใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่ขออนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ

(๓) มีขีดความสามารถในการดำเนินงานเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศเพื่อให้บริการเป็นไปอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพที่สอดคล้องกับมาตรฐานในข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน (คำถามคือ แค่ดูแลและบำรุงรักษาก็เพียงพอแล้ว หรือต้องให้บริการด้วย)

ข้อ ๕ ผู้ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศประเภททั่วไป ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้

(๑) กรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นบุคคลธรรมดา ให้แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือเอกสารประจำตัวอย่างอื่นที่ทางราชการออกให้ใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน กรณีผู้ขออนุญาตเป็นคนต่างด้าว ให้แนบสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหรือสำเนาหนังสือเดินทาง และในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นนิติบุคคล ให้แนบสำเนาหนังสือรับรองหรือหลักฐานการเป็นนิติบุคคลซึ่งแสดงรายการเกี่ยวกับชื่อวัตถุประสงค์ ที่ตั้งสำนักงานและรายชื่อผู้เป็นกรรมการ ผู้จัดการหรือผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลที่เป็นปัจจุบัน

(๒) เอกสารหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง หรือสิทธิใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่ขออนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ

(๓) เอกสารหลักฐานที่แสดงถึงขีดความสามารถในการดำเนินงานให้บริการเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย แผนผังองค์กรที่แสดงหน้าที่ความรับผิดชอบในการดูแลและบำรุงรักษาเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ รายชื่อและจำนวนบุคลากรที่ทำหน้าที่ดังกล่าว แผนการบำรุงรักษา ประวัติการทำงานและแผนการฝึกอบรมของบุคลากรที่ทำหน้าที่ดูแลและบำรุงรักษาเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศทั้งหมด รวมถึงบุคลากรในระดับบริหารงานด้านวิศวกรรมและมาตรฐานความปลอดภัย

(๔) เอกสารแสดงชนิดและโครงสร้างของเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ เพื่อแสดงให้เห็นว่าเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศดังกล่าวเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน

(๕) แผนผังแสดงตำแหน่งที่จะก่อสร้างหรือติดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ

(๖) แบบก่อสร้างหรือติดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ รวมถึงแผนการก่อสร้างหรือติดตั้งที่ระบุกำหนดการก่อสร้างและกำหนดวันที่เสร็จสิ้นของงาน

(๗) คู่มือการดำเนินงานเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ ที่มีเป็นไปตามมาตรฐานที่อธิบดีประกาศกำหนด

(๘) หนังสืออนุญาตให้ใช้ความถี่จากสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จะสามารถระบุประเภทหรือชนิดของเครื่องอำนวยฯ ได้หรือไม่ จะได้กำหนดว่า ในกรณีที่เป็นเครื่องอำนวยความสะดวก ประเภท... ต้องมีเอกสารนี้ ( ตาม พรบ. กสทช กำหนดให้ผู้ที่ต้องจัดตั้งสถานีวิทยุทุกชนิดในประเทศ ต้องขออนุญาตในการจัดสรรคลื่นความถี่ก่อน จึงไม่จำเป็นต้องแยกประเภท)

ข้อ ๖ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอแล้ว ให้ดำเนินการตามลำดับ ดังต่อไปนี้

(๑) ตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะของผู้ขอใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ ความถูกต้องครบถ้วนของคำขอและเอกสารหลักฐานที่ผู้ขอได้ยื่นไว้ ว่าสมควรจะอนุญาตให้จัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศตามที่ขอหรือไม่ หากเห็นว่า ผู้ขอใบอนุญาตมีคุณสมบัติและลักษณะตาม ข้อ ๔ คำขอและเอกสารหลักฐานมีความถูกต้องครบถ้วนตาม ข้อ ๕ และพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรอนุญาตให้จัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในพื้นที่ดังกล่าวได้ ให้เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติและเมื่อรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ขอใบอนุญาตทราบพร้อมเหตุผล

(๒) ในกรณีที่รัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้มีการจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศได้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งผู้ขอใบอนุญาตให้ดำเนินการก่อสร้างหรือติดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศได้

(๓) ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้างหรือติดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ พนักงานเจ้าหน้าที่อาจเข้าตรวจสอบการก่อสร้างหรือติดตั้งให้เป็นไปตามแบบก่อสร้างหรือติดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศที่ได้ยื่นไว้ตาม ข้อ ๕ (๖) ก็ได้

(๔) ในกรณีที่ผู้ขอใบอนุญาตเห็นว่า การดำเนินการก่อสร้างหรือติดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศอาจไม่แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในแผนการก่อสร้างหรือติดตั้ง หรือมีความจำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญเกี่ยวกับแบบหรือโครงสร้างเครื่องให้แตกต่างไปจากแบบก่อสร้างหรือติดตั้ง ให้เสนอขออนุมัติจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนที่จะดำเนินการ

การแก้ไขเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า การเปลี่ยนแปลงทิศทางหลัก การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหรือตำแหน่งที่ตั้งของระบบสายอากาศ การเปลี่ยนแปลงชนิดของเครื่องส่งหรือเครื่องรับ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหรือส่วนประกอบในวงจรไฟฟ้าของเครื่องส่งหรือเครื่องรับ การขยายหรือเพิ่มเครื่องส่งหรือเครื่องรับหรืออุปกรณ์จ่ายไฟฟ้าอื่น ๆ

ข้อ ๗ เมื่อผู้ขอใบอนุญาตดำเนินการก่อสร้างหรือติดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศแล้วเสร็จ ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทราบเพื่อดำเนินการตรวจสอบ โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

(๑) การทำงานของเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศดังกล่าวเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดในข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน

(๒) ผู้ขอมีวิธีการดำเนินการและการบำรุงรักษาเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศที่สามารถดำเนินการได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามคู่มือการดำเนินงานเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศที่ได้รับการเห็นชอบจากกรมการบินพลเรือน

(คำถามคือ คู่มือการดำเนินงานต้องยื่นตอนไหน พร้อมกับการยื่นคำขอหรือเมื่อก่อสร้างเครื่องแล้วเสร็จคะ) (น่าจะอยู่ในขั้นตอนของการยื่นเอกสารคำขอ)

(๓) ผ่านการรับรองผลการบินทดสอบสัญญาณ (Flight Inspection) โดยกรมการบินพลเรือน

เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้ว ปรากฏว่าการจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศประเภททั่วไป และออกใบอนุญาตตาม ข้อ ๘ ให้แก่ผู้ขอ (เพิ่มเติมระยะเวลาการออกใบอนุญาตภายใน ๑๔ วัน)

หากพิจารณาแล้วไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ให้แจ้งผลการพิจารณาแก่ผู้ขอจัดตั้งฯ ภายใน ๓๐ วัน เพื่อดำเนินการแก้ไขภายในที่พนักงานเจ้าที่กำหนด(สกม. ปรับแก้คำ)

ข้อ ๘ ใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศประเภททั่วไปให้มีอายุห้าปีนับจากวันที่ออก (ควรกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับใบอนุญาตจัดตั้งสนามบิน)

ใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศประเภททั่วไปให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด

ในการออกใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศประเภททั่วไป ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ให้ความเห็นชอบในคู่มือการดำเนินงานและให้กำหนดเงื่อนไขให้ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติตาม ดังต่อไปนี้ไว้ด้วย

  • (๑) จัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศตามประเภทที่ได้รับอนุญาต
  • (๒) ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่ง ตลอดจนมาตรฐานและวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดอย่างเคร่งครัด
  • (๓) ดูแลรักษาเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน
  • (๔) ไม่ทำการเปลี่ยนทดแทน หรือเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศที่ได้รับอนุญาต เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากพนักงานเจ้าหน้าที่
  • (๕) จัดให้มีวิธีการดำเนินการเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ เพื่อให้เครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศดังกล่าวทำงานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ โดยให้มีคู่มือการดำเนินงานที่เป็นไปตามมาตรฐานตามข้อ ๗ (๓) (ตรวจสอบข้ออีกครั้ง) ตลอดจนแก้ไขปรับปรุงคู่มือดังกล่าวให้เป็นปัจจุบันและสอดคล้องกับทางปฏิบัติในความเป็นจริง
  • (๖) ปฏิบัติตามคู่มือการดำเนินงานที่ได้รับความเห็นชอบจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และควบคุมดูแลให้บุคลากรของตนปฏิบัติตามคู่มือดังกล่าวด้วย
  • (๗) จัดให้มีและปฏิบัติตามแผนการบำรุงรักษา ทั้งนี้ ให้ยื่นแผนการบำรุงรักษาดังกล่าวให้พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นชอบก่อนนำไปปฏิบัติ พร้อมทั้งรายงานผลการปฏิบัติตามแผนการบำรุงรักษาเช่นว่านั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด
  • (๘) จัดให้มีการตรวจสอบสัญญาณของเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ ว่าด้วยเรืองการตรวจพินิจภาคพื้น(Ground Inspection) การบินทดสอบ (Flight Inspection) ทั้งนี้รายการตรวจสอบให้เป็นไป ตามอธิบดีประกาศกำหนด
  • (๘) จัดให้มีบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญและจำนวนเพียงพอแก่การดำเนินงานในการรับผิดชอบดูแล และบำรุงรักษาเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ
  • (๙) จัดให้มีเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศไว้ประจำสถานี สำหรับการตรวจสอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลความปลอดภัยในการดำเนินงานเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ
  • (๑๐) อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการเข้าตรวจสอบเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ ตลอดจนการดำเนินงานและการให้บริการเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ ซึ่งรวมถึงการจัดส่งเอกสารและสมุดปูมทั้งปวงที่เกี่ยวข้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบด้วย
  • ข้อ ๙ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไขที่กำหนดไว้ใน ข้อ ๘ วรรคสามได้ ในกรณีดังต่อไปนี้
  • (๑) มีการเปลี่ยนแปลงกฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์ หรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ
  • (๒) มีการเปลี่ยนแปลงสิทธิในพื้นที่ที่จัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ
  • (๓) มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้หรือวิธีการดำเนินการเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงวิธีบริหารจัดการเครื่องดังกล่าว
  • (๔) มีการเปลี่ยนแปลงขอบเขตการให้บริการเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ
  • (๕) ผู้ได้รับใบอนุญาตขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ
  • (๖) กรณีอื่นตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความปลอดภัย

ข้อ ๑๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศประเภททั่วไปผู้ใดประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนดก่อนวันที่ใบอนุญาตดังกล่าวสิ้นอายุไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน และเมื่อได้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตแล้ว ให้ดำเนินการต่อไปได้จนกว่าจะได้รับแจ้งการไม่อนุญาต และให้นำความใน ข้อ ๖ มาใช้บังคับกับการพิจารณาของพนักงานเจ้าหน้าที่โดยอนุโลม( สกม. พิจารณาเพิ่มเติม)

การต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศประเภททั่วไปให้ต่อได้คราวละห้าปีนับแต่วันที่ใบอนุญาตเดิมสิ้นอายุ

ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศประเภททั่วไปสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศประเภททั่วไปตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด พร้อมใบรับแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาอนุญาตและผู้ยื่นคำขอได้ชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ให้ออกใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศประเภททั่วไปให้แก่ผู้ขอ

ในการออกใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศประเภททั่วไป ให้ใช้แบบใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศประเภททั่วไปและเขียนหรือประทับตราความว่า "ใบแทน" ด้วยตัวอักษรสีแดงไว้ด้านบนของใบอนุญาตนั้น

หมวด ๒

ใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศสำหรับการให้บริการจราจรทางอากาศ

-------------------

ข้อ ๑๒ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศเพื่อวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้สำหรับการให้บริการจราจรทางอากาศ เช่น การขออนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศประเภทเครื่องสื่อสารการบิน หรือเครื่องติดตามอากาศยาน ต้องได้รับใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศสำหรับการให้บริการจราจรทางอากาศ (คำถามคือ กรณีให้บริการจราจรทางอากาศ ยังมีเครื่องใดอีกบ้าง) DME VOR GNSS

ข้อ ๑๓ ผู้ขอใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศสำหรับการให้บริการจราจรทางอากาศ ต้องมีคุณสมบัติและลักษณะดังต่อไปนี้

(๑) เป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมายไทยและมีสำนักงานใหญ่ของบริษัทตั้งอยู่ในราชอาณาจักร โดย

(ก) มีหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดของหุ้นทั้งหมดเป็นของบุคคลในประเภทต่อไปนี้ แต่ละประเภทโดยลำพังหรือหลายประเภทรวมกัน

๑) บุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติไทย

๒) กระทรวง ทบวง กรม ในรัฐบาล

๓) บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ที่มีบุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติไทยถือหุ้นอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดของหุ้นทั้งหมด

๔) บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ในรัฐบาลถือหุ้นอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดของหุ้นทั้งหมด

(ข) กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจกระทำการผูกพันนิติบุคคล จะต้องมี
ลักษณะตามมาตรา ๖๘ แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. ๒๕๓๕

(๒) มีกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง หรือสิทธิการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่ขออนุญาตจัดตั้ง
เครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ และสถานที่ที่จะตั้งหน่วยงานให้บริการจราจรทางอากาศ

(๓) มีฐานะทางการเงินมั่นคงและศักยภาพเพียงพอที่จะจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศและให้บริการจราจรทางอากาศได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

(๔) มีความสามารถในการดูแลและบำรุงรักษาเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ และบริหารจัดการระบบการให้บริการการจราจรทางอากาศได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

ข้อ ๑๔ ผู้ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศสำหรับการให้บริการจราจรทางอากาศ ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้

(๑) หนังสือรับรองหรือหลักฐานการเป็นนิติบุคคลซึ่งแสดงรายการเกี่ยวกับชื่อ วัตถุประสงค์

ที่ตั้งสำนักงานและรายชื่อผู้เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลที่เป็นปัจจุบัน โดยมีคำรับรองของผู้มีอำนาจให้คำรับรองตามกฎหมายไม่เกินหกเดือนนับแต่วันที่ออกหนังสือรับรองหรือหลักฐานนั้น

(๒) สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่นายทะเบียนรับรอง

(๓) เอกสารหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครองหรือสิทธิการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่ขออนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ และสถานที่ที่จะใช้ตั้งหน่วยงานให้บริการจราจรทางอากาศ

(๔) เอกสารหรือหลักฐานแสดงฐานะทางการเงิน เช่น รายงานทางการเงินที่เสนอต่อผู้ถือหุ้น หลักฐานอื่นที่แสดงแหล่งที่มาและการใช้ไปของเงินทุนหรือการลงทุนในกิจการอื่น หรือเอกสารรับรองสถานะทางการเงินของสถาบันการเงิน

(๕) เอกสารหลักฐานแสดงความสามารถในการดูแลและบำรุงรักษาเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ เช่น แผนผังแสดงหน้าที่ความรับผิดชอบในการดูแลและบำรุงรักษาเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ รายชื่อบุคลากรที่ทำหน้าที่ดังกล่าว แผนการบำรุงรักษาเครื่อง แผนการฝึกอบรมบุคลากรที่ทำหน้าที่ดูแลและบำรุงรักษาเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ(เหมือนกับทั่วไป)

(๖) เอกสารหลักฐานแสดงความสามารถในการบริหารจัดการระบบบริการจราจรทางอากาศได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ อันประกอบด้วยเอกสารหลักฐานอย่างน้อยดังต่อไปนี้

(ก) เอกสาร/แผนผังแสดงสถานที่ตั้งของหน่วยงานที่จะให้บริการจราจรทางอากาศ

(ข) เอกสารแสดงโครงสร้างและแผนผังแสดงหน้าที่ความรับผิดชอบในการบริหารจัดการระบบการให้บริการจราจรทางอากาศ

(ค) เอกสารหลักฐานแสดงรายชื่อและคุณสมบัติของบุคคลที่ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการใหญ่หรือผู้เป็นหัวหน้าหน่วยงาน (จำเป็นต้องรู้ด้วยหรือ)

(ง) เอกสารหลักฐานแสดงรายชื่อและคุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ระดับบริหารและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในแต่ละสายงาน (น่าจะเลือกระหว่าง (ค) และ (ง) เพราะน่าจะ overlap กันอยู่)

(จ) แผนงานและรูปแบบของการให้บริการจราจรทางอากาศ เอกสารแสดงรายละเอียดและความรับผิดชอบของงานแต่ละตำแหน่ง รวมถึงจำนวนพนักงานที่จะบรรจุลงปฏิบัติงานให้บริการจราจรทางอากาศ แผนการฝึกอบรมบุคลากรที่ทำหน้าที่ให้บริการจราจรทางอากาศ

(ฉ) เอกสารหลักฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านนิรภัยของหน่วยงานให้บริการจราจรทางอากาศ

(คำถามคือ ต้องมีคู่มือการให้บริการจราจรทางอากาศ ยื่นมาพร้อมกับคำขอ หรือยื่นภายหลังก่อสร้างหรือติดตั้งเครื่องอำนวยฯ เสร็จ)

(๗) เอกสารแสดงชนิดและโครงสร้างของเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ เพื่อแสดงให้เห็นว่าเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศดังกล่าวเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน

(๘) แผนผังแสดงตำแหน่งที่จะก่อสร้างหรือติดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ

(๙) แบบก่อสร้างหรือติดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ รวมถึงแผนการก่อสร้างหรือติดตั้งที่ระบุกำหนดการก่อสร้างและกำหนดวันที่เสร็จสิ้นของงาน

(๑๐) หนังสืออนุญาตให้ใช้ความถี่จากสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จะสามารถระบุประเภทหรือชนิดของเครื่องอำนวยฯ ได้หรือไม่ จะได้กำหนดว่า ในกรณีที่เป็นเครื่องอำนวยความสะดวก ประเภท... ต้องมีเอกสารนี้ (เหมือนประเภททั่วไป)

ข้อ ๑๕ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอแล้ว ให้ตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะของ ผู้ขอใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศสำหรับการให้บริการจราจรทางอากาศตามข้อ ๑๓ และความถูกต้องครบถ้วนของคำขอและเอกสารหลักฐานที่ผู้ขอได้ยื่นไว้ตามข้อ ๑๔ โดยให้นำความในข้อ ๖ (๑) (๒) และ (๔) มาใช้บังคับโดยอนุโลมกับการพิจารณาของพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบการก่อสร้างหรือติดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศดังกล่าวในระหว่างการดำเนินการก่อสร้างหรือติดตั้งเพื่อให้เป็นไปตามแบบก่อสร้างหรือติดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศที่ได้ยื่นไว้ตามข้อ ๑๔ (๖) ด้วย

ข้อ ๑๖ เมื่อผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินการก่อสร้างหรือติดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศสำหรับการให้บริการจราจรทางอากาศแล้วเสร็จ ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทราบเพื่อดำเนินการตรวจสอบ โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

(๑) เครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศสำหรับการให้บริการจราจรทางอากาศเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดในข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน

(๒) ผู้ขอมีวิธีการดำเนินการ และการดูแลและบำรุงรักษาเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศที่สามารถดำเนินการได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามคู่มือการดำเนินงานเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศตาม (๓)

(๓) คู่มือการดำเนินงานเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศเป็นไปตามมาตรฐานที่อธิบดีประกาศกำหนด

Issuance of certificate

6.-(1) The Authority shall, before issuing a certificate, be

satisfied that -

(a) the personnel of the applicant are adequate in number and

have the necessary competency and experience to provide the service;

(b) the MANSOPs prepared and submitted with the application

contains all the relevant information;

(c) the facilities, services and equipment are established in

accordance with these Regulations;

(d) the operating procedures make satisfactory provision for the

safety of aircraft;

(e) an approved safety management system is in place;

(f) the applicant has approved procedures to meet the

requirements of the Civil Aviation (Security) Regulations;

(g) the applicant has financial capability to provide the service;

and

(h) the applicant has insurance policy in force in relation to the

services provided.

(2) Subject to sub regulation (1), the Authority may set any other

conditions as may be deemed necessary.

(3) The issuance of a certificate shall be subject to

compliance with these Regulations and any other condition as may be

specified or notified by the Authority in accordance with safety audit

and inspection.

(4) The Authority may refuse to grant a certificate to an

applicant and where the Authority refuses, it shall notify the applicant in

writing, of the reasons for the refusal, not later than fourteen days after

making that decision

(๔) ผู้ขอมีขีดความสามารถในการให้บริการจราจรทางอากาศได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ โดยมีคุณสมบัติและลักษณะ ดังนี้

(ก) มีศักยภาพทางด้านการเงินและเงินทุนเพียงพอสำหรับการให้บริการจราจรทางอากาศ (สอบถาม สมส. (กจร.) ก่อนว่า จำเป็นต้องตรวจสอบเรื่องนี้หรือไม่ และมีความสามารถในการวินิจฉัยหรือตรวจสอบเรื่องนี้ได้ด้วยหรือไม่)

(ข) จัดให้มีนโยบายด้านการประกันภัยสำหรับการให้บริการจราจรทางอากาศของตนที่เหมาะสม (สอบถาม สมส. ว่ามีความจำเป็นต้องพิจารณาเรื่องนี้หรือไม่ เพราะต่างประเทศมีเกณฑ์เรื่องนี้ด้วย)

(ค) จัดให้มีบุคลากรในจำนวนที่เพียงพอแก่การปฏิบัติงานรวมทั้งมีความรู้และความชำนาญเหมาะสมกับการให้บริการจราจรทางอากาศ โดยพนักงานควบคุมการจราจรทางอากาศต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่พนักงานควบคุมการจราจรทางอากาศด้วย รวมทั้งจัดให้มีนโยบายการฝึกอบรมบุคลากร และควบคุมดูแลให้บุคลากรดังกล่าวปฏิบัติตามคู่มือตาม (ง) และระบบตาม (จ) และ (ฉ)

(ง) จัดให้มีและปฏิบัติตามคู่มือการบริหารจัดการการให้บริการจราจรทางอากาศที่เป็นไปตามมาตรฐานที่อธิบดีประกาศกำหนด (ต้องมีคู่มือนี้ต่างหาก นอกจากคู่มือการดำเนินงานหรือไม่ เทียบกับต่างประเทศ คือ Manual of Air Navigation Service Operations)

(จ) จัดให้มีและปฏิบัติตามระบบการควบคุมคุณภาพ และระบบการประกันคุณภาพ

(ฉ) จัดให้มีและปฏิบัติตามระบบการจัดการด้านนิรภัย (Safety Management System: SMS)

(ช) การให้บริการจราจรทางอากาศโดยใช้เครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศดังกล่าวต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดในข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน

ข้อ ๑๗ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้ว ปรากฏว่าการจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศสำหรับการให้บริการจราจรทางอากาศเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน ข้อ ๑๖ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาต และออกใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศสำหรับการให้บริการจราจรทางอากาศตาม ข้อ ๑๘ ให้แก่ผู้ขอ

ข้อ ๑๘ ใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศสำหรับการให้บริการจราจรทางอากาศให้มีอายุห้าปีนับจากวันที่ออก

ใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศสำหรับการให้บริการจราจรทางอากาศ ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด

ในการออกใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศสำหรับการให้บริการจราจรทางอากาศ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ให้ความเห็นชอบในคู่มือการดำเนินงานและให้กำหนดเงื่อนไขให้ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติตาม โดยให้นำความใน ข้อ ๘ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) และ (๑๐) มาใช้บังคับโดยอนุโลม และให้กำหนดเงื่อนไขอย่างน้อยดังต่อไปนี้ไว้ด้วย

(๑) คงไว้ซึ่งขีดความสามารถในการให้บริการจราจรทางอากาศได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพตามข้อ ๑๖ (๔)

(๒) ให้บริการจราจรทางอากาศอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ โดยให้บริการเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดในข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือนตาม ข้อ ๑๖ (๔) (ช)

(๓) จัดให้มีบริการการจราจรทางอากาศเป็นประจำทุกวันตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง (จะสามารถทำได้จริงในทางปฏิบัติหรือไม่) เว้นแต่ในกรณีที่มีความจำเป็น หรือเกิดความบกพร่องเพราะเหตุสุดวิสัย หรือเพราะเหตุใด ๆ ที่อยู่นอกเหนือจากการควบคุมของผู้ได้รับใบอนุญาต โดยก่อนการหยุดให้บริการ ต้องดำเนินการดังต่อไปนี้ด้วย

(ก) แจ้งให้อธิบดีทราบล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ทางด้านความปลอดภัยในการเดินอากาศหรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร อธิบดีอาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตดังกล่าวหรือผู้ได้รับใบอนุญาตรายอื่นให้บริการจราจรทางอากาศไปพลางก่อนตามระยะเวลาที่เห็นว่าจำเป็นก็ได้

(ข) แจ้งออกประกาศนักบินเพื่อแจ้งข้อมูลข่าวดังกล่าวโดยทันที

(๔) ดำเนินการบินทดสอบตามรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน สำหรับเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศแต่ละประเภท/ชนิด ทั้งนี้ ต้องหยุดให้บริการ พร้อมทั้งแจ้งออกประกาศนักบินเมื่อเกิดกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้

(ก) ไม่สามารถทำการบินทดสอบตามรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ดังกล่าวได้

(ข) ผลการบินทดสอบไม่ได้รับการรับรองจากผู้ทำการบินทดสอบ

ข้อ ๑๙ ให้นำความในข้อ ๙ มาใช้บังคับกับอำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๘

ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศสำหรับการให้บริการจราจรทางอากาศผู้ใดประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศสำหรับการให้บริการจราจรทางอากาศ ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนดก่อนวันที่ใบอนุญาตดังกล่าวสิ้นอายุไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน และเมื่อได้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตแล้ว ให้ดำเนินการต่อไปได้จนกว่าจะได้รับแจ้งการไม่อนุญาต และให้นำความใน ข้อ ๑๖ มาใช้บังคับกับการพิจารณาของพนักงานเจ้าหน้าที่โดยอนุโลม

การต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศสำหรับการให้บริการจราจรทางอากาศให้ต่อได้คราวละห้าปีนับแต่วันที่ใบอนุญาตเดิมสิ้นอายุ

ข้อ ๒๑ ให้นำความใน ข้อ ๑๑ มาใช้บังคับกับการออกใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศสำหรับการให้บริการจราจรทางอากาศ

บทเฉพาะกาล

------------------------

ข้อ ๒๒ บรรดาใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๔๙๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๘ (พ.ศ. ๒๕๕๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าใบอนุญาตนั้นจะสิ้นอายุ โดยให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎกระทรวงดังกล่าวยื่นคู่มือการดำเนินงานเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศที่เป็นไปตามมาตรฐานที่อธิบดีประกาศกำหนดสำหรับเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศแต่ละประเภท/ชนิด และในกรณีผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศสำหรับการให้บริการจราจรทางอากาศ ให้ยื่นคู่มือการบริหารจัดการการให้บริการจราจรทางอากาศที่เป็นไปตามมาตรฐานที่อธิบดีประกาศกำหนด เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นชอบ ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ ก่อนจะนำไปปฏิบัติตาม

ข้อ ๒๓ บรรดาคำขอหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสนามบินที่ได้ยื่นไว้ก่อนที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ และยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้ถือว่าเป็นคำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศตามกฎกระทรวงนี้

ในกรณีที่คำขอตามวรรคหนึ่งและเอกสารหลักฐานที่ยื่นพร้อมคำขอมีข้อความแตกต่างไปจากกฎกระทรวงนี้ ให้อธิบดีแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมคำขอและจัดส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี เพื่อให้เป็นไปตามกฎกระทรวงนี้ภายในระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด

ให้ไว้ ณ วันที่ พ.ศ. ....

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

หมายเลขบันทึก: 588286เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2015 19:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2015 19:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท