Community Health Nurse Manager 12 region
พยาบาลผู้จัดการสุขภาพชุมชน เขต 12

"Human Pink Ribbon" โครงการเครือข่ายคนใต้ต้านภัยมะเร็งเต้านม 29 มีค 58 10.00น.


Women in Pink

งานรณรงค์ป้องกันและค้นหามะเร็งเต้านม


หมายเลขบันทึก: 588216เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2015 15:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มีนาคม 2015 15:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เป็นงานที่ดีมากเลยนะครับ

ขอบคุณมากๆครับ

ผู้หญิงเป็นโรคนี้มากเลยนะครับ

วิธีตรวจโรคมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านมโรคมะเร็งเต้านมเกิดจากเนื้อเยื่อของเต้านมมีการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็ง ซึ่งอาจจะกิดเป็นมะเร็งเต้านมที่เกิดกับท่อน้ำนม หรือมะเร็งเต้านมที่เกิดกับต่อมน้ำนม มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อย ถ้าเทียบกับมะเร็งชนิดอื่นๆ ดังนั้นคุณสาวๆ อย่ารอช้ามาตรวจมะเร็งเต้านมเบื้องต้นง่ายๆ ทำเองได้ที่บ้านค่ะ

1. ยืนเปลือยท่อนบนหน้ากระจก ไหล่ตั้งตรง แขนทั้งสองข้างแนบลำตัว ใช้สายตาพิจารณาหน้าอกแต่ละข้างในกระจกอย่างถ้วนถี่ ทุกมุม ทุกด้าน ตรวจดูว่ามีอาการบวม รอยจ้ำแดง รอยพับ ย่น หรือเนื้อบุ๋มลงหรือเปล่า

2. ยกแขนทั้งสองข้างขึ้นเหนือศีรษะ และพิจารณาหน้าอก มองหาอาการผิดปกติเหมือนข้อแรก ถ้ามีสิ่งผิดปกติ คุณจะเห็นได้ง่ายขึ้นในท่านี้

3. บีบบริเวณหัวนมทีละข้าง เพื่อเช็คว่าไม่มีของเหลวไหลออกจากหัวนม

4. เริ่มตรวจจากหัวนม ใช้นิ้วมือค่อยๆ คลำหาก้อนเนื้อ ตุ่ม หรือผิวขรุขระ ตลอดทั่วทั้งหน้าอก ราวนม ไล่ไปจนถึงบริเวณใต้รักแร้ ซึ่งเป็นจุดที่มะเร็งมักก่อตัว

หากคุณสาวๆ ตรวจแล้วพบความผิดปกติดังต่อไปนี้ สันนิฐานได้เลยค่ะว่านั่นคือ อาการของมะเร็งเต้านม มะเร็งในระยะเริ่มต้นจะไม่มีอาการเจ็บหรือปวด เมื่อก้อนโตขึ้นจะทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

- คลำพบก้อนที่เต้านมหรือใต้รักแร้

- มีการเปลี่ยนแปลงของขนาดเต้านม

- มีน้ำไหลออกจากหัวนม หรือเจ็บ หัวนมถูกดึงรั้งเข้าในเต้านม

- ผิวที่เต้านมจะมีลักษณะเหมือนเปลือกส้ม

หากพบอาการดังกล่าวควรรีบปรึกษาแพทย์ แม้ว่าอาการเหล่านี้ส่วนใหญ่จะไม่ใช่มะเร็ง

ทั้งนี้การตรวจมะเร็งเต้านมเบื้องต้นด้วยตัวเอง ควรจะตรวจอย่างน้อยเดือนละครั้งระยะเวลาเหมาะสมที่จะตรวจคือหลังหมดประจำเดือนนะค่ะ

แต่ถ้าตรวจเต้านมโดยแพทย์ ควรตรวจตั้งแต่อายู 20 -39 ปี ขึ้นไปโดยตรวจทุก 3 ปี ส่วนผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปีควรตรวจด้วยแพทย์ทุกปีค่ะ

โรคภัยไข้เจ็บอยู่ใกล้ตัวเราทุกที่ทุกเวลานะค่ะ อย่าลืมห่วงใยใส่ใจสุขภาพตัวเองบ้างนะค่ะด้วยความหวังดีจากเราค่ะ


ออกกำลังกายหลังผ่าตัด (มะเร็ง) เต้านม

สมพัฒน์ จำรัสโรมรัน ที่ปรึกษาด้านการออกกำลังกาย

ปัจจุบันผู้หญิงเป็นมะเร็งเต้านมกันมากขึ้น และมีจำนวนไม่น้อยที่ต้องตัดเอาต่อมน้ำเหลืองบางส่วน หรือตัดเอาเต้านมที่เป็นมะเร็งออกไป ซึ่งการผ่าตัดอาจจะส่งผลให้แขนข้างที่ผ่าตัดไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เหมือนปกติ แต่การออกกำลังกายสามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้

สาเหตุที่ทำให้แขนข้างที่ผ่าตัดเอาต่อมน้ำเหลืองหรือเต้านมออกไปไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เหมือนปกติ ก็เนื่องจากต้องมีการตัดกล้ามเนื้อบริเวณหน้าอกบางส่วนหรือทั้งหมดออกไปพร้อมกับเต้านมด้วย นอกจากนี้เส้นประสาทก็อาจจะกระทบกระเทือน จึงทำให้กล้ามเนื้อบริเวณสะบักกับแขนเกิดอาการอ่อนแรง และอาจมีอาการเจ็บร่วมกับอาการชาที่แขนด้วย แต่การออกกำลังกายหลังการผ่าตัด นอกจากจะช่วยให้แขนเคลื่อนไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นแล้ว ยังช่วยลดผลกระทบอื่นๆ จากการรักษาอีกด้วย เช่น ช่วยลดอาการอ่อนล้าจากการได้รับเคมีบำบัด ลดน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น ลดการหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควร รวมถึงลดความวิตกกังวลลงและเพิ่มความเชื่อมั่นในตัวเองด้วย แต่ก่อนเริ่มออกกำลังกายควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำก่อนว่าสามารถทำได้ในระดับใด มากน้อยแค่ไหน และมีข้อห้ามหรือข้อควรระวังอย่างไรบ้าง ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย

โดยการออกกำลังกายหลังการผ่าตัดของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ช่วงดังนี้

ช่วงที่ 1-2

หมายถึงหลังจากการผ่าตัดทันทีจนถึงประมาณ 6 สัปดาห์หลังการผ่าตัด ซึ่งเป็นช่วงที่ต้องการคำแนะนำจากแพทย์และนักกายภาพบำบัด รวมถึงยังไม่ควรใช้อุปกรณ์ใดๆ ในการออกกำลังกาย แต่ถ้าจะใช้ อาจใช้ไม้พลองหรือผ้าขนหนูเบาๆ สำหรับช่วยในการเคลื่อนไหว หรือเพื่อรักษาระดับการเคลื่อนไหวของหัวไหล่และแขนไม่ให้เกิดการรั้งและยึดติด รวมถึงช่วยลดอาการปวดและบวมด้วย เนื่องจากกล้ามเนื้อแขนอาจเกิดการอ่อนแรงขึ้นได้ในช่วงนี้ จึงควรใช้แขนข้างที่เป็นปกติช่วยจับหรือนำในการเคลื่อนไหว

ตัวอย่างท่าการออกกำลังกายสำหรับช่วงนี้ก็อย่างเช่น นอนหงายแล้วยกแขนขึ้นไปเหนือศีรษะด้วยไม้พลอง เมื่อยกจนสุดแล้วอาจจะค้างไว้ประมาณ 10-30 วินาที โดยทำประมาณ 1-2 เซต เซตละ 5 ครั้ง ซึ่งท่านี้จะช่วยในการเคลื่อนไหวของหัวไหล่

อีกท่าคือประสานมือไว้ที่ท้ายทอย แล้วกดศอกลงให้แนบกับพื้น เป็นต้น ซึ่งเป็นท่าที่ทำได้ตลอดเวลา หรืออาจจะทำประมาณ 2-3 รอบในแต่ละวันก็ได้

นอกจากการออกกำลังกายแล้ว ในช่วงที่ 1-2 นี้ ผู้ป่วยยังควรเน้นการเคลื่อนไหวของหัวไหล่และแขนด้วยการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ด้วยตนเอง เช่น การอาบน้ำ หวีผม แต่งตัว หรือหยิบจับช้อนส้อมเวลารับประทานอาหาร เป็นต้น

ช่วงที่ 3

อยู่ระหว่างสัปดาห์ที่ 6-10 หลังการผ่าตัด ซึ่งเป็นช่วงที่แผลเริ่มหายสนิทดี ทำให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงมากขึ้น จึงสามารถออกกำลังกายที่ต้องใช้น้ำหนักมากขึ้นได้ แต่ควรอยู่ที่ประมาณ 1-5 ปอนด์ โดยอาจจะใช้ดัมเบลล์และลูกเมดิซีนบอล หรือใช้อุปกรณ์ที่เป็นสายยางยืด ที่เรียกว่า elastic bands หรือ tubing ก็ได้ ซึ่งการออกกำลังกายในช่วงนี้ยังคงต้องได้รับคำแนะนำจากนักกายภาพบำบัดเหมือนในช่วงแรกอยู่

ช่วงที่ 4

หมายถึงตั้งแต่สัปดาห์ที่ 10 หลังการผ่าตัด ซึ่งยังควรออกกำลังกายด้วยการเคลื่อนไหวบริเวณหัวไหล่และแขน อย่างต่อเนื่อง โดยค่อยๆ เพิ่มน้ำหนักเข้าไปในขณะฝึก และใช้อุปกรณ์การออกกำลังกายในลักษณะเดิมได้ ทั้งสายยางยืดและลูกเมดิซีนบอล นอกจากนี้ยังควรออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับส่วนอื่นของร่างกาย และเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานของทั้งระบบหัวใจ การหมุนเวียนของเลือด เช่น การออกกำลังกายแบบแอโรบิกด้วยการเดินเร็ว วิ่งจ๊อกกิ้ง ปั่นจักรยาน หรือว่ายน้ำ ซึ่งจะช่วยให้มีการเคลื่อนไหวของหัวไหล่และแขนด้วย


อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท