หมอกควันในภาคเหนือ


สิ่งที่ภาคประชาชนคาดหวังจากมหาวิทยาลัยทั้งหลาย ก็คือการระดมผู้มีความรู้ความสามารถจากสถาบันต่างๆมาร่วมกันเตรียมการป้องกันแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในภาคเหนืออย่างเป็นรูปธรรมในอนาคตอันใกล้ โดยไม่ต้องตั้งต้นจาก 0 เนื่องจากมีองค์ความรู้สะสมกันมาบ้างแล้ว และขอให้มีการบูรณาการทั้งองค์ความรู้และทรัพยากรมนุษย์อย่างแท้จริงจากทุกภาคส่วน

หมอกควันในภาคเหนือ

ผมได้รับ อีเมล์ จาก รศ. ดร. มงคล รายะนาคร ดังต่อไปนี้

เดือนมีนาคมปี 2558 นี้ จังหวัดเชียงใหม่และหลายจังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทย ทำสถิติมีปริมาณฝุ่นละเอียดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 10 ไมครอน ที่เรียกกันว่า PM10 สูงเกินค่ามาตรฐาน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรไปหลายเท่าตัว และน่าจะทำสถิติจำนวนวันที่มีค่า PM10 เกินค่ามาตรฐานติดต่อกันนานกว่าภูมิภาคใดๆของโลก ปรากฏการณ์เช่นนี้มักเกิดขึ้นจากหมอกควันปริมาณมหาศาลไม่ได้ถูกยกลอยตัวขึ้นไปในระดับสูง เนื่องจากมีภาวะความกดอากาศสูงกระทำอยู่ในช่วงปลายฤดูหนาวต่อกันกับต้นฤดูร้อนในภูมิภาคนี้ ผลที่ตามมาเกิดปัญหาด้านสุขภาพ เศรษฐกิจสังคม การท่องเที่ยว การบริหารจัดการองค์กร ฯลฯ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จนทำให้ภาคการศึกษาอุดมศึกษาทั้งที่อยู่ในภาคเหนือและภาคอื่นๆของไทยกลับมาตื่นตัว เพื่อหาทางออกให้ภูมิภาคนี้กันอยู่ในช่วงนี้

ในประเด็นองค์ความรู้เกี่ยวกับหมอกควันและอนุภาคฝุ่นละเอียด อันเป็นตัวปัญหาใหญ่ของมลพิษทางอากาศในภาคเหนือ มีนักวิจัย/นักวิชาการในมหาวิทยาลัยต่างๆทั้งในและต่างประเทศได้ทำการศึกษา วิจัย เสนอองค์ความรู้ใหม่ในทัศนะของแต่คนแต่ละกลุ่ม รวมทั้งเสนอแนะแนวทางป้องกันแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากหมอกควันและอนุภาคฝุ่นละเอียดขนาดเล็กด้วยวิธีการที่แตกต่างกันไป ดังตัวอย่างที่น่าสนใจบางส่วน ตามลำดับจากปัจจุบันย้อนหลังไปไม่เกิน 10 ปี ถึงช่วงปีที่ยังไม่มีปัญหาหมอกควันที่รุนแรงต่อไปนี้

เรื่อง

Web Link

Quantification of PaHS and oxy-PAHs on airborne particulate matter in Chiang Mai, Thailand

www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1352231015001703

หนังสือชุดหมอกควันเรื่อง การจำแนกเชิงพื้นที่ของพื้นที่เผาไหม้เพื่อการเฝ้าระวังและการป้องกันการเผาในที่โล่ง : กรณีศึกษาของจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และแม่ฮ่องสอน

www.tuhpp.net/?p=12107

การขยายผลการวิจัยมลพิษทางอากาศและผลกระทบสุขภาพสู่ชุมชนเพื่อการเรียนรู้และลดแหล่งกำเนิดฝุ่นในอากาศในชุมชนภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย

http://www1.nrct.go.th/downloads/pc/seminar/file_solve_global_warming/3.presentation3.pdf

PM 10 and Its Chemical Composition : A Case Study in Chiang Mai, Thailand

http://www.intechopen.com/books/air-quality-monitoring-and-modeling

[Chapter 10]

หมอกควันและมลพิษทางอากาศในจังหวัดเชียงใหม่ (Haze and Air Pollution in Chiang Mai)

http://www.tuhpp.net/?p=9228 และhttp://resource.thaihealth.or.th/library/hot/12450

การสำรวจปริมาณฝุ่นในอากาศภายใน จังหวัดเชียงใหม่ และ จังหวัด ลำพูน

http://elibrary.trf.or.th

[หมวดหมู่งานวิจัยสิ่งแวดล้อมและพลังงาน>คุณภาพอากาศ>RDG483010]

การวิเคราะห์เพื่อหามลพิษทางอากาศใน จังหวัดเชียงใหม่ และ จังหวัดลำพูน

http://elibrary.trf.or.th

[หมวดหมู่งานวิจัยสิ่งแวดล้อมและพลังงาน>คุณภาพอากาศ>RDG483011]

ระดับรายวันของฝุ่นในอากาศและผลกระทบต่อสุขภาพในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด จังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน

http://elibrary.trf.or.th

[หมวดหมู่งานวิจัยสิ่งแวดล้อมและพลังงาน>คุณภาพอากาศ>RDG483012]

การทำลายดีเอนเอของเซลล์ถุงลมปอดจากการออกซิไดส์ด้วยสารสกัดจากฝุ่นขนาดเล็กPM2.5 และ PM10 ในอากาศเชียงใหม่และลำพูน

http://elibrary.trf.or.th

[หมวดหมู่งานวิจัยสิ่งแวดล้อมและพลังงาน>คุณภาพอากาศ>RDG483013]

การตื่นตัวของมหาวิทยาลัยทั้งหลายแม้ว่าออกจะล่าช้าและคงจะไม่ทันที่จะแก้ไขปัญหาหมอกควันและฝุ่นละเอียดมหันตภัยได้ในปีนี้ แต่ก็ยังดีกว่าไม่ขยับอะไรกันเสียเลย สิ่งที่ภาคประชาชนคาดหวังจากมหาวิทยาลัยทั้งหลาย ก็คือการระดมผู้มีความรู้ความสามารถจากสถาบันต่างๆมาร่วมกันเตรียมการป้องกันแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในภาคเหนืออย่างเป็นรูปธรรมในอนาคตอันใกล้ โดยไม่ต้องตั้งต้นจาก 0 เนื่องจากมีองค์ความรู้สะสมกันมาบ้างแล้ว และขอให้มีการบูรณาการทั้งองค์ความรู้และทรัพยากรมนุษย์อย่างแท้จริงจากทุกภาคส่วน ทั้งนี้รัฐบาลจะต้องไม่อยู่เฉยรอให้หน่วยงานทั้งหลายเสนอมาตรการป้องกันแก้ไขตามลำดับชั้นขึ้นไปก่อนเหมือนในอดีตอีก แต่น่าจะต้องมีกลไกเฉพาะขึ้นมาในทันที ได้แก่คณะทำงานยุทธศาสตร์เฉพาะเรื่องนี้ขึ้นมา รวบรวมองค์ความรู้จากแหล่งต่างๆอย่างเป็นปัจจุบัน และแยกแยะวิเคราะห์แผนปฏิบัติที่คำนึงถึงการบูรณาการสหศาสตร์ทั้งหลายให้ครบทุกมิติในการจัดทำแผนระดับชาติ รวมทั้งมาตรการการขจัดต้นตอของปัญหาที่แท้จริง จึงจะนำไปสู่การป้องกันแก้ไขปัญหาหมอกควันได้อย่างยั่งยืนควบคู่กับการนำมหาวิทยาลัยไปสู่ความเป็นเลิศในระดับสากล

ผมจึงขอส่งอีเมลเรื่องนี้มายังอาจารย์ เพื่อกรุณาพิจารณานำลงบล็อกสภามหาวิทยาลัย ตามที่อาจารย์จะเห็นสมควรต่อไปด้วย จักขอบคุณยิ่ง

มงคล รายะนาคร

วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ ผมนั่งเครื่องบินไปเชียงใหม่ เที่ยว ๑๕.๐๐ น. ผมขอที่นั่งริมหน้าต่าง เพื่อสังเกตสภาพหมอกควันเหนือน่านฟ้าเชียงใหม่ ปรากฎว่าตอนเครื่องบินลดระดับ ท้องฟ้ามัวมาก ลักษณะเป็นหมอกสีดำเต็มท้องฟ้า

แต่เมื่อเครื่องบินบินร่อนลงต่ำ ใกล้สนามบินเชียงใหม่ ฟ้าแจ้งจางปาง และมีแดดออกจ้า มีหมอกควันน้อยมาก คนเชียงใหม่บอกว่า หมอกควันลดลงสองสามวันแล้ว ส่วนหนึ่งน่าจะเพราะมีลมพายุพัดมา ผมเดาว่า อาจเป็นเพราะลมหอบฝุ่นละอองควันไฟขึ้นไป

ผมไปประชุมที่คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เวลา ๑๗.๐๐ - ๑๙.๐๐ น. ระหว่างนั่งประชุมอยู่มีเสียงฟ้าร้อง เมื่อออกจากอาคารหลังประชุมเสร็จจึงพบว่าฝนเพิ่งหาย

ผมเห็นด้วยกับข้อเสนอของ รศ. ดร. มงคล รายะนาคร ว่าสถาบันอุดมศึกษาในภาคเหนือน่าจะต้องรวมตัวกันทำงานวิชาการเพื่อแก้ไขปัญหานี้ ให้เกิดผลจริงจัง โดยต้องทำงานร่วมกับกลไกภาคประชาชนในพื้นที่ด้วย

วิจารณ์ พานิช

๒๕ มี.ค. ๕๘

หมายเลขบันทึก: 587913เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2015 18:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2015 18:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

I think we need to know more about "why we burn" (or the root of our evil). Substitutes for burning will go a lot further than clearing smokes and polluting particles.

We hear that a major agribusiness is indirectly promoting slash-and-burn techniques in growing crops for animal feed. We also hear of land clearing for wealthy people to have 'country life style' (holidays homes).

นักวิจัยสกว.ชี้ข้าวโพดตัวการใหญ่วิกฤติหมอกควัน จี้รัฐบังคับนายทุนรับผิดชอบ - See more at: http://www.isranews.org/thaireform/thaireform-news/item/37488-thaireform280358.html#sthash.yB3BcIGL.dpuf


วิกฤติหมอกควันภาคเหนือ 10 วันเศรษฐกิจสูญกว่า 6 พันล้าน - See more at: http://www.isranews.org/thaireform/thaireform-news/item/37337-runccdm.html#sthash.nnVmEYHR.dpuf

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท