​ปัญญา ๓ อย่างสภาวะสัจจะขวางทางนิพพาน


ปัญญาที่สำเร็จด้วยการอบรม คือนำสิ่ี่งได้คิดได้ฟังมาตั้งมั่นไว้ ขวางทางปฏิเวธ

ปัญญา ๓ อย่าง

๑. จินตามยปัญญา [ปัญญาสำเร็จด้วยการคิด]
๒. สุตมยปัญญา [ปัญญาสำเร็จด้วยการฟัง]
๓. ภาวนามยปัญญา [ปัญญาสำเร็จด้วยการอบรม] ฯ

(ที่เรียงเป็นสุตมยปัญญา จินตามยปัญญา ภาวนามยปัญญา ก็ไม่มีปรากฏในพระไตรปิฤก)

มีความหมายย่อๆ ว่า

จินตามยปัญญา = มิได้ฟังมาจากผู้อื่น ว่ารูปไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าเวทนาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสัญญาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าวิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ฯ

สุตมยปัญญา = ได้ฟังมาจากผู้อื่น ว่ารูปไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าเวทนาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสัญญาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าวิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ฯ

ภาวนามยปัญญา = ปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ดี

จากความหมายที่ปรากฏในพระไตรปิฏก ผู้ที่รู้เองว่า ขันธ์ทั้ง ๕ ไม่เที่ยง โดยไม่ได้ยินได้ฟังมากจากใคร คิดเองได้ ก็หมายถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ตรัสรู้เอง ไม่ได้มีใครมาสอน ถึงเรียกว่า จินตามยปัญญา ถ้าได้ฟังมากจากบุคคลอื่น ก็เรียกว่า สุตมยปัญญา ก็ได้แก่พุทธสาวกทั้งหลาย ส่วนปัญญาที่สำเร็จด้วยการอบรม คือนำส่ิงที่ได้คิดได้ฟังมาตั้งมั่นไว้

ขอบคุณข้อมูลดีดี ที่มา : บันทึกเรื่องเล่า จาก ดร.สนอง วรอุไร โดย sompornp เมื่อ กันยายน 18, 2008

การเข้าถึงปัญญาของมนุษย์ มี 3 ทาง

1. สุตะมยปัญญา การรู้

2. จินตมยปัญญา การคิด

3. ภาวนามยปัญญา การเข้าถึงและสามารถนำไปปฏิบัติได้

มนุษย์เราที่ปฏิบัติได้ทุกวันนี้คือ 2 ข้อ แรก แต่ข้อที่ 3 ที่เป็นภาวนามยปัญญา ปฏิบัติได้น้อย เพราะเรามัวหลง

คุณธรรมจริยธรรมนำสู่ความสำเร็จจะใช้ สุตะฯ และจิตฯ แค่ 20 % เท่านั้น ที่เหลือเป็นภาวนา

ศาสนาพุทธเปรียบปัญญาเหมือนแสงสว่าง ที่ใช้ส่องนำทางให้กับชีวิต การนำพาชีวิตให้ผ่านพ้นอุปสรรคและปัญหา ต้องมีความเห็นถูกที่เรียกว่าสัมมาทิฏฐิซึ่งมี 2 ระดับคือ

ปัญญาเห็นถูกทางโลก

เกิดได้จากการฟังผู้รู้บอกกล่าว แล้วนำไปปฏิบัติตาม ชีวิตจะดำเนินไปอย่างราบรื่น มีความสุข สัมมาทิฏฐิโลกียะนี้ เป็นปัญญาที่ยังข้องเกี่ยวอยู่กับโลก ใช้ส่องนำทางให้กับชีวิตได้ดีในทางโลก

ส่วนปัญญาเห็นถูกตามธรรม

เกิดได้จากการฟังผู้รู้บอกกล่าวแล้วพิจารณาคำบอกกล่าวโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) จะเกิดเป็นสัมมาทิฏฐิขั้นโลกุตตระ คือเห็นถูกตามธรรม หากใช้ปัญญาชนิดนี้ส่องนำทางให้กับชีวิต จะทำให้รู้เท่าทันโลกธรรมและวัตถุ เห็นสรรพสิ่งมีการเกิดขึ้นชั่วคราวแล้วดับไปไม่มีตัวไม่มีตน จึงไม่ใช่คว้าเอามาเป็นของตน ในที่สุดปัญญาเช่นนี้สามารถส่องนำทางชีวิตให้อยู่เหนือ หรือพ้นไปจากทุกข์ได้ นี่คือแสงสว่างในทางธรรม


คุณธรรม คือ สภาพคุณงามความดีที่ออกมาจากการคิด พูด กระทำ วัดได้จากพฤติกรรมของเรา เป็นพฤติกรรมที่ดีงาม

ชีวิต คือ ความเป็นอยู่ มี

รูป คือ ร่างกาย (Body) จับต้องได้ ประกอบด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ เราต้องปรับสมดุลได้ โรคภัยจะไม่มี

นาม คือ จิตใจ จับต้องไม่ได้

หน้าที่จิต

1. รับ สิ่งที่กระทบเป็นอารมณ์

2. สั่งสมองให้คิด สั่งปากให้พูด สั่งมือให้กระทำ

3. เก็บสั่งสมข้อมูล เก็บดีถือเป็นบุญ เก็บไม่ดี ถือเป็นบาป

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกายและจิตใจ ทำให้เกิด

1. ทาสของโลกธรรม วัตถุ

2. กระทบต่อสุขภาพ ทั้งกาย ทำให้ผิดปกติ และจิต ส่งผลด้านอารมณ์และการสั่งงาน

คุณธรรม คือ คุณความดี ทำให้ดีคือ มี ทาน ศีล ภาวนา

งานที่ดีคือ

1. ไม่ผิดกฎหมาย

2. ไม่ผิดศีล 5 ข้อ

3. ไม่ผิดธรรม

- งานภายนอก งานที่ทำเพื่อสังคม ประเทศชาติ บ้านเมือง ทำเพื่อเรียนรู้คน เรียนรู้งาน ทำด้วยใจ ไม่หวังผล งานเพื่องาน รับผิดชอบในงานที่ทำ มีความพากเพียร จดจ่อ ทันเวลา ผลงานเข้าตา เกิดความพึงใจ

- งานภายใน เป็นงานที่พัฒนาจิตใจตัวเอง กำจัดกิเลสในใจ สั่งสมคุณความดีในใจ มีสติสัมปะชัญญะ

ความสำเร็จของชีวิต มีเครื่องชี้วัดคือ ความเป็นอยู่ดีไหม และที่ว่าดีต้องเป็นสุข สำราญ ปราศจาคโรคภัยใข้เจ็บ

สิ่งที่ตนเองพึงกระทำได้ในฐานที่เกิดมาเป็นคนคนหนึ่งที่พึงทำคือ

- หน้าที่ของความเป็นลูก ดูแลพ่อแม่จนแก่เฒ่า ยามเจ็บไข้ได้ป่วยช่วยรักษา บรรเทาทุกข์ ยามสุข คอยชื่นชมยินดี

- หน้าที่ของความเป็นพี่น้องญาติมิตร ดูแล ใส่ใจญาติพี่น้อง รักใคร่ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เอื้อเอ็นดู และเสียสละในสิ่งที่พึงกระทำ

- หน้าที่ในการทำงาน ทำงานด้วยความเพียร มีความรับผิดชอบในงาน ทำด้วยใจ ทำงานเพื่อนให้ถึงเป้าหมายที่องค์กรวางไว้

- หน้าที่ในฐานะลูกน้อง เคารพเจ้านาย ปฏิบัติงานที่ได้รับอย่างเต็มที่ ยกย่องเจ้านานเมื่อทำดี

- หน้าที่ในฐานะหัวหน้า ให้ความเป็นธรรมแก่ลูกน้อง สอนงาน ใส่ใจถึงครอบครัว เอาใจเขามาใส่ใจเรา

- หน้าที่ความเป็นพลเมืองของประเทศ ปฏิบัติตนตามหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด สนับสนุนคนดีในสังคม ส่งเสริมพระพุทธศาสนา ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างของสังคม

ในการที่เราจะดำเนินชีวิตอยู่ในทางโลกนั้น จะมีสิ่งที่กระตุ้นกิเลสมาก - วิธีลดกิเลส ต้องฝึกใจตัวเองให้มีกำลังของสติเข้มข้น และฝึกใจให้เกิดปัญญาเห็นแจ้ง ทั้ง 2 รวมเรียกว่า สติสัมปชัญญะ แล้วใช้สติสัมปชัญญะ พิจารณาสิ่งที่ตาเห็น สิ่งที่หูได้ยิน สิ่งที่ลิ้นสัมผัสรสชาติ ฯลฯ ว่าทุกสิ่งที่เข้ากระทบเกิดขึ้นแล้วดับไป (อนัตตา) ไม่มีตัวตน กิเลสใหม่จะไม่เข้าไปเพิ่มเป็นมลทินให้กับใจ ขณะเดียวกัน กิเลสเดิมที่มีอยู่แล้วในใจ เมื่อใดกิเลสปรากฏชัดเจน ต้องใช้สติสัมปชัญญะพิจารณากิเลสว่าดับไปตามกฎไตรลักษณ์ แล้วกิเลสเก่าที่ผุดขึ้นในใจจะหมดไปเอง

นั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ - การเฝ้าดูจิตใจตนเอง แบบที่ถูกตามธรรม คือเฝ้าดูผัสสะทุกอย่างที่เกิดขึ้นในใจ ให้เห็นเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ เมื่อใดผัสสะเข้าสู่อนัตตา คือไม่มีตัวตน จิตจะปล่อยวาง มีมาตรวัดคือ มีอารมณ์สงบ และมีจิตเป็นอิสระ รักษาปฏิปทาอย่างนี่ไปเรื่อย ๆ แล้วดีเอง

ระหว่างที่หลับไป เหมือนมีใครมาเดินอยู่บนที่นอน และมาดึงผ้าห่ม เป็นเพราะ - เป็นไปได้ 2 ทาง คือยังมีสติไม่มาก กำลังของสติยังไม่กล้าแข็งจึงทำให้นอนหลับไม่สนิท และอีกทางหนึ่งหากมีกำลังของสติมากจนจิตนิ่งถึงระดับฌานได้แล้ว การไประลึกรู้ว่ามีคนมาเดินอยู่บนที่นอนขณะกำลังนอนอยู่นั้นไม่น่าจะมีความเป็นได้ แต่ถ้าเดินอยู่ใกล้ที่นอนนั้นเป็นได้ เรื่องนี้ต้องถามตัวเองว่า เมื่อจิตรับสิ่งกระทบภายนอกแล้วยังมีการปรุงอารมณ์ (สังขาร) เกิดขึ้น เรื่องที่ไประลึกว่ามีคนเดินอยู่บนที่นอนนั้นเป็นเพียงอุปาทาน ไม่ใช่เรื่องจริง

นั่งสมาธิกำหนดลมหายใจเข้าออก รู้สึกลมหายใจละเอียด ขนลุก ตัวลอย - อาการขนลุก ตัวลอย เป็นปีติชนิดหนึ่ง เกิดจากจิตที่นิ่งเป็นสมาธิระดับหนึ่ง วิธีแก้ปีติ ต้องกำหนด " รู้หนอ ๆ ๆ ๆ " ไปเรื่อย ๆ จนกว่าปีตินั้นหายไป แล้วจึงดึงจิต กลับมาสู่องค์ภาวนาลมหายใจเข้า-ออก ดังเดิม



หมายเลขบันทึก: 587743เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2015 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มีนาคม 2015 15:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท