พหุวัฒนธรรมศึกษา สองแนวทาง


การศึกษาพหุวัฒนธรรม มีการศึกษาตามแนวนี้อยู่สองแนวทาง คือ
แนวทางแรก คือการศึกษาพหุวัฒนธรรมโดยรัฐ การศึกษาชนิดนี้พยายามตอบคำถามว่าจะรวมความแตกต่างของผู้คน
อยู่ภายใต้รัฐได้อย่างไร ? คำตอบจากแนวทางนี้คือ แนวทางการจัดการเรียนการสอน ตามแนวทางของ James A. Banks
ก็คือยอมรับในความหลากหลายของมนุษย์ จัดการศึกษาโดยปรับนโยบายของโรงเรียน ปรับหลักสูตร เปลี่ยนการเรียนสอน
ให้สอดคล้องกับความหลากหลายของมนุษย์ การศึกษาตามแนวทางนี้ ก็ใช้แนวทางของคุณ Banks



นวทางที่สอง ก็คือ การศึกษาพหุวัฒนธรรมเชิงวิพากษ์ คือการเปิดเผย ถอดรื้อ มายาคติ และการต่อรองการมีส่วนร่วมในพื้นที่สาธารณะให้กับวัฒนธรรมรอง ศึกษาความสัมพันธ์ทางสังคมที่ไม่เท่าเทียมกัน สิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ศึกษาความเป็นอื่นทางพหุวัฒนธรรมเพื่อเปลี่ยนแปลงนโยบายการศึกษา เสริมพลังให้กับกลุ่มสังคม ได้มีส่วนร่วมจัดการศึกษากับ กลุ่มพหุวัฒนธรรม รวมทั้ง ใช้การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นเครื่องมือเสริมพลังให้กับกลุ่มพหุวัฒนธรรม

คำสำคัญ (Tags): #พหุวัฒนธรรม
หมายเลขบันทึก: 587688เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2015 00:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มีนาคม 2015 00:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท