เป็นไวยากรณ์กับคลังคำ หรือ ไวยากรณ์ผ่านคลังคำ? (Grammar vs lexis or grammar through lexis?) ตอนที่ 1


ในบทความนี้ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากการสอนแบบคลังคำ (Lexical approach) ฉันจะเน้นในเรื่องการสอนไวยากรณ์ในชั้นเรียน รวมทั้งการสอนของฉัน และนำเสนอวิธีการที่จะนำไวยากรณ์มาเป็นคลังคำ ฉันพิจารณาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นการสอนไวยากรณ์แบบเก่า หลังจากนั้นจะนำเสนอสิ่งที่เราต้องการก็คือ "ตัวป้อนทางไวยากรณ์" (grammar input) และจะแสดงให้เห็นว่าคลังคำเป็นตัวสนับสนุนนักเรียนในการเรียนไวยากรณ์

คลังคำ ก็คือ คำศัพท์+ไวยากรณ์ (Lexis = vocabulary + grammar)

ความเปลี่ยนแปลงในการสอนภาษาอังกฤษ (ELT) จากไวยากรณ์จนถึงคลังคำ สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในเจตคติ (attitude) ในนักภาษาศาสตร์ ในอดีตนักภาษาศาสตร์จะมุ่งเน้นที่ไวยากรณ์เท่านั้น แต่ยิ่งภาษาศาสตร์แบบคลังคำ (corpus linguistics) ก้าวหน้ามากขึ้นไปเท่าใด ก็ทำให้คลังคำเป็นจุดเน้นมากขึ้นเท่านั้น คำว่าคลังคำ ซึ่งใช้โดยนักภาษาศาสตร์รุ่นเก่า ก็คือคำที่มีอยู่ทั่วไป และมักใช้ในตำราเรียน อย่างไรก็ตาม คลังคำ ที่ใช้โดยนักภาษาศาสตร์ยุคนี้ มีความหมายมากกว่าคำศัพท์ทั่วไป คำศัพท์ทั่วไป (vocabulary) ก็คือคำเดี่ยวๆ มีความหมายในตัวของมันเอง แต่คลังคำ หมายรวมถึง คำปรากฏร่วม (collocation), กลุ่มคำ (chunk), การแสดงออกหรือสำนวนที่เป็นสูตร (formulaic expressions) กลุ่มคำจะมีรูปแบบที่แน่นอน ซึ่งในสมัยโบราณจะเหมือนกับไวยากรณ์ เช่น If I were you ถ้าฉันเป็นคุณ หรือ I haven't seen you for ages ฉันไม่เจอคุณมานานมาก

การตระหนักรู้ในเรื่องโครงสร้างไวยากรณ์ที่แน่นอน ใกล้เคียงกับกลุ่มคลังคำ ควรจะได้รับการเสนอก่อน โดยที่ไม่ต้องทำการวิเคราะห์โครงสร้างหรืออธิบายรายละเอียด จริงๆแล้วตั้งแต่สังกัป (concept) ในเรื่อง แนวคิด (notion) และหน้าที่ (function) ซึ่งเป็นการสอนแบบการสื่อสาร เริ่มมีการยอมรับ มีการสอนโครงสร้างบางอย่าง ที่เกี่ยวข้องกับไวยากรณ์ ซึ่งเป็นการสอนในเชิงหน้าที่ (function) อยู่แล้ว โดยนัยยะเดียวกัน ไวยากรณ์แบบเก่าสามารถที่จะสอนแบบคลังคำได้ ตั้งแต่เริ่มต้นการสอนแบบการสื่อสาร

หนังสืออ้างอิง

Leo Selivan.(2011). Grammar vs lexis or grammar through lexis?. http://goo.gl/A1adzK

หมายเลขบันทึก: 587613เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2015 19:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มีนาคม 2015 19:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ไวยากรณ์คือ โครงสร้างอำนาจที่สะท้อนความสัมพันธ์ทางสังคมที่เป็นสัจจะ อย่างหนึ่ง
และการสอนภาษา นั่นก็คือ โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะ
คนหายไปจากวิธีการสอนในโครงสร้างไวยากรณ์ของการสื่อสารนี้


อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท