วิธีการแบบคลังคำ (lexical approach) 2– วิธีการแบบคลังคำดูคล้ายกับอะไร (What does the lexical approach look like?) ตอนที่ 5


1. การสังเกต (Noticing)

Batstone (1996) เคยบรรยายไว้ว่า การสังเกตเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน การสังเกตเกี่ยวข้องกับความหมาย (meaning) และ รูปทรง (form) นอกจากนี้การสังเกตยังเกี่ยงข้องตั้งแต่การตระหนักรู้ขั้นต้น (initial recognition) จนถึงการหาโครงสร้างในประโยค และนำโครงสร้างในประโยคนั้นมาเป็นของตน ในเวลาเดียวกัน Lewis (2000) เสนอว่าการสังเกตคลังคำ และกลุ่มคำที่ปรากฏร่วมกัน เป็นสาเหตุที่จำเป็น แต่ไม่เป็นสาเหตุที่เพียงพอที่ตัวป้อน (input)จะมาเป็นสังกัป (intake) ที่เป็นของเราได้ ถ้าผู้เรียนยังไม่ได้สังเกตภาษาในตัวบท อย่างน้อยก็จะมีอันตรายที่ผู้เรียนจะมีแนวโน้มที่จะดูตัวบทแบบผ่านๆ และสุดท้ายก็จะจับสังกัป (intake) ใดๆไม่ได้เลย

หากได้มองย้อนกลับไปที่ภาระงาน และกิจกรรม คุณจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าทั้งภาระงานและกิจกรรมกำลังส่งเสริมหรือสนับสนุนให้เกิดการสังเกต บางครั้งครูอาจเป็นเสนอเรื่องการสังเกตเองก็ได้ เช่น ครูอาจแนะนำให้นักเรียนให้ความใส่ใจกับความคิดในเรื่องคลังคำว่ามีประโยชน์ ในบางครั้งการสังเกตอาจเป็นการตรวจสอบด้วยตนเอง (self-directed) เช่น นักเรียนอาจเลือกศัพท์บางคำด้วยตนอง และคำศัพท์นั้นจะเป็นประโยชน์ต่อพวกเขา

2. การตระหนักในภาษา (language awareness)

ข้อเสนอแนะของเราที่ว่า สื่อการเรียนรู้ และพวกครู สามารถที่จะช่วยเหลือผู้เรียนให้มีการสังเกตในเรื่องของคลังคำ โดยการเพิ่มวิธีการแบบการตระหนักรู้ในภาษา (language Awareness approach) เพื่อการบรรยายตัวภาษานั้น

Tomlimson (2003) ได้สรุปหลักการ, วัตถุประสงค์, และกระบวนการของวิธีการการตระหนักรู้ภาษา ดังนี้

1. การให้ความสนใจอย่างละเอียดอ่อนต่อภาษาที่ใช้จริง ทำให้ผู้เรียนสังเกตช่องว่างระหว่างทักษะทางภาษาของตนเอง และทักษะที่ใช้จริงได้
2. การสังเกตลักษณะที่เด่นๆสะดุดตา เพื่อที่ว่าผู้เรียนสามารถมีทักษะในการสังเกตที่มากขึ้นกับตัวป้อนในอนาคต ดังนั้นการตรวจสอบความพร้อมทางจิตวิยาของผู้เรียนจึงมีความสำคัญ

3. วัตถุประสงค์หลักก็คือการช่วยให้ผู้เรียนมีการสังเกตว่าภาษาจะใช้อย่างไรในสถานการณ์จริง เมื่อทราบแล้ว ผู้เรียนจะได้บันทึกช่องว่างที่เป็นของตน และรับรู้ความพร้อมในการเรียนภาษานั้น (ยิ่งเป็นอิสระได้ยิ่งดี)

4. กระบวนการแรกคือการให้ผู้เรียนมีประสบการณ์กับภาษา มากกว่านั่งคิดวิเคราะห์ นั่นแปลว่า ผู้เรียนอ่านตัวบท และตอนสนองกับตัวบทด้วยความคิดของตนเอง ก่อนที่จะเรียนรู้ภาษาในตัวบท หรือตอบคำถามที่แสดงถึงความเข้าใจในเนื้อหา

5. ต่อมา ผู้เรียนจะได้มีการเน้นในลักษณะเฉพาะของตัวบท, บ่งชี้ตัวอย่าง, มีการค้นพบบางสิ่งบางอย่าง, และสร้างข้อสรุปในเรื่องวิธีการใช้ลักษณะนั้น

ในโครงการวิจัยขนาดเล็ก ที่ The University of Maine นักเรียนกลุ่มหนึ่งได้รับสื่อการสอนต่างๆ โดยการใช้หลักการและกระบวนการที่กล่าวถึงข้างต้น กิจกรรมการสังเกต ทำให้นักเรียนได้บ่งชี้, วิเคราะห์, และสร้างข้อสรุปเกี่ยวกับคลังคำและกลุ่มคำที่ปรากฏร่วมกัน
ผู้เรียนที่อยู่ในงานวิจัยมาจากการสำรวจ หลังจากการใช้สื่อต่างๆนี้ และถูกถามว่าพวกเขาพบว่าสื่อต่างๆนี้มีประโยชน์และสนุกสนานอย่างไร

1. เกือบจะทั้งหมดตอบว่าสื่อต่างๆนี้มีประโยชน์ และทุกคนรายงานว่าชั้นเรียนมีอยู่ 2 อย่าง นั่นคือมีประโยชน์ และ มีประโยชน์อย่างยิ่ง

2. ทุกคนรายงานว่าสื่อต่างๆนี้ทำให้พวกเขาเรียนอย่างเป็นอิสระ

3. ครึ่งหนึ่งของผู้เรียนรายงานว่าสื่อต่างๆนี้มีประโยชน์ในการเรียนคำศัพท์

4. ทุกคนรายงานว่าพวกเขามีความสุขกับเรื่องราว

5. พวกครูกล่าวว่าการอ่านเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ นักเรียนก็เข้าใจ และพยายามซาบซึ้งกับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับบทอ่าน รวมทั้งการใช้ทักษะการอ่านไปสู่ทักษะในการผลิตภาษา (a productive skill)

พวกเราหวังว่าบทความบทนี้และกิจกรรมน่าจะช่วยส่องทางให้เห็นว่าวิธีการแบบคลังคำจะมีลักษณะอย่างไรต่อสื่อการสอน และให้ความคิดใหม่ๆว่าจะจัดการชั้นเรียนอย่างไร

หนังสืออ้างอิง

Carlos Islam and Ivor Timmis. Lexical Approach 2 - What does the lexical approach look like?. http://aaboori.mshdiau.ac.ir/FavouriteSubjects/lexical_approach_1.htm

หมายเลขบันทึก: 587552เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2015 18:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มีนาคม 2015 18:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท