ประเพณีเดือน ๗ เหนือ ถึงเดือน ๑๒ เหนือ


๑.ประเพณีเดือน ๗ เหนือ เดือน ๕ ภาคกลาง ตรงกับเดือน เมษายน

๑.๑ ประเพณีรดน้ำดำหัว

  • เป็นพิธีต่อเนื่องจากวันสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ของไทย เป็นประเพณีที่ แสดงถึงความเคารพนบน้อมต่อบิดามารดา ผู้ใหญ่ หรือผู้มีพระคุณ เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที ของผู้น้อยและขอขมาลาโทษที่ผู้น้อยอาจเคยล่วงเกินผู้ใหญ่ อีกทั้งเป็นการขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคล แก่ตนเองตลอดไปตั้งแต่วันแรกของการเริ่มประ เพณีสงกรานต์ จนถึงวันสุดท้ายของสงกรานต์ ประเพณีรดน้ำดำหัว เป็นสิ่งที่ทำต่อเนื่องกันมายาวนานในปีใหม่ไทย เป็นการแสดงความเคารพและความกตัญญูต่อบิดามารดา ผู้ใหญ่ และผู้มีพระคุณ ด้วยความเชื่อที่ว่า เป็นการขอขมาลาโทษ พร้อมทั้งรับคำอวยพรเพื่อสิริมงคลของชีวิต และประเพณีนี้ยังทรงคุณค่ามาจนทุกวันนี้

๒.ประเพณีเดือน ๘ เหนือ เดือน ๖ ภาคกลาง ตรงกับเดือน พฤษภาคม

๒.๑ ประเพณีแห่เทียนพรรษา

  • ประเพณีแห่งเทียนพรรษานั้น เนื่องจากสมัยก่อนพระภิกษุสงฆ์ไม่มีไฟฟ้าใช้ ชาวบ้านจึงหล่อเทียนต้นใหญ่ขึ้น เพื่อถวายพระภิกษุสงฆ์จุดให้แสงสว่างในการปฏิบัติกิจวัตรต่างๆ เป็นพุทธบูชาตลอดเวลา ๓ เดือน การนำเทียนไปถวายชาวบ้านมักจัดขบวนแห่กันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานและปฏิบัติสืบทอดกันมาจนกลายเป็นประเพณี งานประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็นงานประเพณีที่รวมความผูกพันของชุมชนท้องถิ่น โดยเริ่มตั้งแต่การที่ชาวบ้านร่วมบริจาคเทียนเอามาหลอม หล่อเป็นเทียนเล่มใหญ่เล่มเดียวกัน เป็นการแสดงออกถึงความสามัคคีกลมเกลียวในหมู่คณะไปในตัว การสรรหาภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่มีฝีมือทางช่าง มีความรู้ ความชำนาญในเรื่อง การทำลวดลายไทย การแกะสลักลวดลายลงบน ต้นเทียน การทำเทียนให้เป็นลายไทย แล้วนำไปติดบนต้นเทียน การประดับด้วยผ้าฝ้าย ผ้าไหม ดอกไม้สด ล้วนแล้วแต่เป็นฝีมือของช่างในท้องถิ่น ส่วนการจัดขวนแห่ก็ล้วนแต่ใช้ของพื้นเมือง เช่น เครื่องแต่งกายขอขบวนฟ้อน จะใช้ผ้าพื้นเมืองเป็นหลัก การฟ้อนรำจะใช้ท่ารำที่ดัดแปลงมาจาก วิถีชีวิต การทำมาหากินของชาวบ้าน เป็นท่ารำในรูปแบบของศิลปะที่งดงาม ดนตรีประกอบก็เป็น เครื่องดนตรีประจำถิ่น ผสมเข้ากับการขับร้องที่สนุกสนานเร้าใจ ทำให้งานประเพณีนี้ยิ่งใหญ่ ประชาชนต่างเฝ้ารอคอย

๓.ประเพณีเดือน ๙ เหนือ เดือน ๗ ภาคกลาง ตรงกับเดือน มิถุนายน

๓.๑ ประเพณีไทย ประเพณีให้ทานไฟ

  • ประเพณีไทย ประเพณีให้ทานไฟ การให้ทานไฟ เป็นประเพณีต้นแบบเฉพาะของพุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนานแต่ประเพณีการให้ทานไฟนี้อาจจะไม่คุ้นหูหรือเป็นที่รู้จักของผู้ที่ไม่สันทัดกับประเพณีทางถิ่นใต้อาจจะคิดว่าเป็นการให้ “ไฟ" เป็น ทาน หรือ ถวายไฟร้อน ๆ แก่พระภิกษุสงฆ์เคยมีผู้เข้าใจว่า “ถวายถ่านไฟ" เพราะภาษาถิ่นใต้ ออกสำเนียง “ทาน" เป็น“ถ่าน" จึงเข้าใจไปอย่างนั้น การให้ทานไฟนี้ เป็นการถวายอาหารร้อนๆแก่พระภิกษุสามเณรในฤดูหนาวหรือในช่วงอากาศเย็นของชานครศรีธรรมราชประเพณีนี้เป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านที่มีความเชื่อในพระพุทธศาสนาต้องการทำบุญกับพระภิกษุสามเณร โดยการถวายอาหารบิณฑบาตภายในวัดเพราะเมื่ออากาศหนาวเย็น พระภิกษุสามเณรไม่สะดวกที่จะออกไปบิณฑบาตนอกวัดจึงกลายเป็นประเพณีใหัทานไฟในปัจจุบัน

๔.ประเพณีเดือน ๑๐ เหนือ เดือน ๘ ภาคกลาง ตรงกับเดือนกรกฏาคม

๔.๑ ประเพณีแฮกนา – หว่านกล้า – ไถนา.

  • ในประเทศอินเดียโบราณ พระมหากษัตริย์เป็นหัวหน้าแห่งการเกษตรจึงมีพระนามว่ากษัตริย์ซึ่งมีความ หมายว่า “ผู้ประกอบกสิกรรม" พระราชโอรสของกษัตริย์ศากยะก็ทรงได้รับ ราชทินนามว่า “ข้าสุก" อาทิ พระเจ้าสุทโธนะมหาราช พระเจ้าฆนิโตทนะ พระเจ้าโธโตธทนะมีคำว่า"โอทนะ" ต่อท้ายพระนาม ย่อมแสดงให้เห็นความสำคัญของการเกษตรที่มีต่อชุมชนมนุษย์ที่อาศัยอยู่บนทวีป เอเชียนี้มาช้านาน
  • ในล้านนาไทย ประเพณีแรกนาหรือแฮกนามีมาแต่โบราณเช่นเดียวกัน มีปรากฎอยู่ในตำราโบราณหลายฉบับที่เกี่ยวกับการทำพิธีกรรมสังเวยของราษฎร์ แต่ในราชสำนักไม่ปรากฏชัด คงเนื่องมาจากการสิ้นสุดของกษัตริย์ในราชวงศ์มังราย นับแต่ พ.ศ. ๒๑๑๐ ต่อมาสมัยเจ้าผู้ครองนครก็ไม่ได้จัดพิธีนี้เป็นแบบอย่าง จึงทำกันในกลุ่มราษฎร์ที่มีความเชื่อถือศัรทธาต่อแม่โพสพ หรือ โพสกเทพธิดา ผู้ประทานธัญญาหารให้แก่มนุษย์ ได้จัดทำกันต่อมาจนตราบทุกวันนี้

๕.ประเพณีเดือน ๑๑ เหนือ เดือน ๙ ภาคกลาง ตรงกับเดือนสิงหาคม

๕.๑ ประเพณีสู่ขวัญควาย

  • พิธีกรรมทำขวัญควายซึ่งเป็นการระลึกถึงบุญคุณของควายที่ช่วยมนุษย์ทำนา รวมไปถึงการขอขมาที่ได้ด่าว่า เฆี่ยนตี ในระหว่างการใช้งาน ทางภาคเหนือเรียกว่า ฮ้องขวัญควาย เรียกขวัญควาย หรือ เอาขวัญควาย ภาคอีสานเรียก สู่ขวัญควาย ชาวไทยเขมรสุรินทร์ เรียก ฮาวปลึงกระไบพิธีทำขวัญควายจัดขึ้นหลังจากได้ปลูกข้าวดำนาเรียบร้อยแล้วด้วยความสำนึกในบุญคุณ เจ้าของจะทำพิธีบายศรีสู่ขวัญควายให้ควายกินหญ้าอ่อน และนำควายไปอาบนํ้าขัดสีฉวีวรรณ เอาอกเอาใจ เอาดอกไม้ธูปเทียนไปขอขมา เนื้อหาของบททำขวัญควายสะท้อนทัศนคติและลักษณะนิสัยของคนไทย ดังนี้
  • ประการที่ ๑ ความกตัญญูรู้คุณ คนไทยถือว่าควายเป็นสัตว์ใหญ่ และมีบุญคุณแก่ตน เพราะช่วยในการไถ การทำไร่นา
  • ประการที่ ๒ ความเมตตากรุณา บททำขวัญควายสะท้อนความรู้สึกเมตตากรุณาต่อควาย ในคำสู่ขวัญควาย กล่าวถึงการเอาหญ้าอ่อน หวานอร่อยมาให้ควายเคี้ยวกิน เป็นการให้รางวัลแก่ควาย
  • ประการที่ ๓ ความสำนึกผิดที่เคยรุนแรงต่อควาย ในบททำขวัญควายได้กล่าวถึงว่า ขณะที่มีการไถนาอยู่นั้น บางครั้งควายเดินช้า มัวกินหญ้าตามข้างทาง คนอาจจะตีฟาดด้วยเชือกกระแทกด้วยปฏัก ควายได้รับความเจ็บปวดทรมานแสนสาหัสก็อดทนกลํ้ากลืนไว้ เพราะพูดไม่ได้ ชาวนารู้สึกสำนึกผิด จึงทำพิธีบายศรีสู่ขวัญขอขมาวัวควาย นับเป็นคุณธรรมอันประเสริฐในหัวใจของชาวนา ในแง่นี้พิธีสู่ขวัญควายจึงเป็นพิธีที่มนุษย์ขอขมาโทษ และปลอบขวัญควายซึ่งเป็นสัตว์เดรัจฉาน

๖.ประเพณีเดือน ๑๒ เหนือ เดือน ๑๐ ภาคกลาง ตรงกับเดือน กันยายน

๖.๑ ประเพณีตานก๋วยสลาก

  • ประเพณีตานสลาก คือ การทำบุญสลากภัตในภาคเหนือ มีเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นบางแห่งว่า “กิ๋นก๋วยสลาก" บางแห่ง “กิ๋นสลาก" บางแห่งว่า “ตานก๋วนสลาก" ในความหมายเป็นอย่างเดียวกันสำหรับวิธีการทำบุญมีแตกต่างกันไปตามความนิยมในท้องถิ่นของตน
  • ประเพณีกินก๋วยสลาก หรือทานสลากนี้เป็นประเพณีเก่าแก่ที่เกิดขึ้นในพระพุทธศาสนาตั้งแต่พุทธสมัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ปรากฎในพระธรรมบทขุททกนิกายว่าพระพุทธองค์ทรงสรรเสริญพระสาวก อรหันต์ของพระองค์ คือ พระโกณฑธานเถระ ซึ่งเป็นผู้โชคดีในการจับสลากได้ที่หนึ่งทุกครั้ง แม้พระพุทธเจ้าก็สู้ท่านไม่ได้พระสาวกทั้งหลายมีความสงสัยว่า ทำไมท่านจึงมีโชคดีเช่นนั้น พระพุทธเจ้าตรัสรับบอกแก่ภิกษุสงฆ์ทั้งมวลว่า โกณฑธานปรารถนาว่าถ้าเลือกอะไร แข่งขันอะไร ขอให้ได้ที่หนึ่งเสมอ ดังนั้น ในชาตินี้โกณฑธานจึงเป็นคนโชคดี
  • ดาวโหลดไฟล์๑.pptx
  • ดาวโหลดไฟล์๒.pdf

จัดทำโดย กลุ่มประเพณีล้านนา ๒ วิชาเทศกาลและพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา

  • พระสำรวย มหาวิริโย ชั้นปีที่ ๒ คณะครุศาสตร์
  • พระนิกร ชยาภินนฺโท ชั้นปีที่ ๒ คณะสังคมศาสตร์
  • พระณัฐวัตร สิทฺธิเมธิ ชั้นปีที่ ๒ คณะสังคมศาสตร์
  • พระอาจณรงค์ อนาลโย ชั้นปีที่ ๒ คณะสังคมศาสตร์
  • พระเผด็จ รตฺนวฑฺฒนเมธี ชั้นปีที่ ๒ คณะสังคมศาสตร์
  • ส.ณ.ภาณุพงษ์ คำสอน ชั้นปีที่ ๒ คณะสังคมศาสตร์
  • ส.ณ.วรวัตร โสภา ชั้นปีที่ ๒ คณะสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
หมายเลขบันทึก: 586965เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2015 13:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มีนาคม 2015 23:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท