การแนะนำอย่างหยาบๆในเรื่องการตระหนักรู้ภาษา (Language Awareness) ตอนที่ 14


เทคนิคที่ 9 การดิคเทชั่น (Dictogloss)

การดิคเทชั่น หรือ การเขียนไวยากรณ์ (Grammar Dictation) เป็นเทคนิค ที่ต้องอาศัยครูมีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียน, การสร้างตัวบทขึ้นมาใหม่, และการวิเคราะห์ข้อผิด เทคนิคนี้จะมีอยู่ 4 ขั้นตอน ดังนี้

1. การเตรียมตัว ผู้เรียนต้องค้นหาหัวข้อที่อยู่ในตัวบท และเตรียมนคำศัพท์ไว้เรียบร้อยแล้ว

2. การดิคเทชั่น ผู้เรียนจะได้ยินตัวบท และเขียนมันลงไป ตัวบทจะถูกเขียนในระดับความเร็วที่คำหลักๆ (key word) จะถูกจดลงไป

3. การสร้างใหม่ นักเรียน จะอยู่เป็นคู่ หรือเป็นกลุ่มก็ได้ ระดมความคิดในเรื่องแหล่งที่มา เพื่อที่จะสร้างตัวบทขึ้นมาใหม่ แต่ต้องเป็นของพวกตนเองเท่านั้น

4. วิเคราะห์และการแก้ไข ผู้เรียนจะวิเคราะห์และแก้ไขตัวบทของพวกตน

การเขียนดิคเทชั่นเป็นส่วนหนึ่งของการทดสอบทางไวยากรณ์ สิ่งนั้นต้องการทั้งทักษะทั้ง 4 และการตระหนักรู้ในเรื่องของภาษา (ถ้าจะให้กล่าวโดยเฉพาะก็เป็นไวยากรณ์และคำศัพท์) นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนมีการตระหนักรู้เรื่ององค์ประกอบของตัวบท (textual organization) ด้วย

เทคนิคที่ 10 เกมทางภาษา

ผู้เรียนภาษาทุกคนมีความสุขกับความสนุก และการสร้างสรรค์ และเกมทางภาษาก็เป็นทั้งสื่อการสอน และการเรียนรู้ พวกครูสามารถที่สร้างกิจกรรมคล้ายเกม เพื่อที่จะให้เด็กได้ฝึกกระสวนแบบเฉพาะขึ้นมาได้ เช่น หากให้ทำเป็นคู่ ในกรณีเด็กเล็กๆ ก็อาจมี การพรรณนา และการวาดรูป (describe and draw) และชี้ให้เห็นความแตกต่างก็ได้ (spot the difference) ในขณะที่เด็กที่โตกว่านั้นหน่อย อาจชอบ เกมคำ (word game), เกมปริศนา (puzzle), และเกมแก้ปัญหา (problem solving) เป็นต้น เกมบางชนิดอาจเน้นไปที่รายการบางรายการ หรือการปฏิสัมพันธ์ที่เป็นจริง (real interaction) เช่น กิจกรรมส่วนที่หายไป (information gap activity) เกี่ยวกับเรื่องสวนสัตว์ อาจมุ่งเน้นไปที่กาลเวลาที่กำลังกระทำอยู่ในปัจจุบันได้ ในขณะที่กิจกรรมการสื่อสารบางชนิด จำเป็นต้องให้คู่สื่อสารสนทนาอย่างมีอิสระเกี่ยวกับเรื่องสัตว์ ในฐานะครู เราสามารถหาเกมต่างๆได้ในหนังสือที่เกี่ยวกับเกม

เทคนิคที่นำเสนอข้างบน มีการเผยแพร่กันมาสัก 10-20 ปีแล้ว บางกิจกรรมเน้นไปที่กระบวนการตัวป้อน (input process) และหลายตัวก็เน้นไปที่กระบวนการผลลัพธ์ (output process) ดังนั้นการตระหนักรู้ภาษา คือ เทคนิคใดๆก็ตาม หรืออาจมีการผสมกันระหว่างเทคนิค ซึ่งกระตุ้นให้ผู้เรียนเข้าใจว่าภาษานั้นทำงานอย่างไร

หนังสืออ้างอิง

James M. Bourke. (2014). A Rough Guide to Language Awareness.

หมายเลขบันทึก: 586069เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2015 19:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2015 19:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท