มารู้จัก "อาการเงียบซึม" ในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมกันเถอะ!



สวัสดีค่ะท่านผู้อ่านทุกท่าน

วันนี้มีความรู้ดีๆมาฝากเช่นเคยค่ะ คาบเรียนวิชาผู้สูงอายุของเราวันนี้ เราเรียนเกี่ยวกับ Frame of References หรือกรอบอ้างอิงในการใช้รักษาผู้รับบริการสูงอายุ และวิธีการต่างๆตามกระบวนการทางกิจกรรมบำบัด แต่ Climax หรือทีเด็ดของเราวันนี้คืออะไรไปดูกันค่ะ

นอกจากกรอบอ้างอิงเรียกน้ำย่อยไปแล้ว อ.ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง หรืออาจารย์ป๊อบ ได้ให้ความรู้เกียวกับโรคในผู้สูงอายุที่หลายคนอาจไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้นกับคนที่เรารักได้ในเวลาที่ตัวเราเองไม่ทันตั้งตัว ซึ่งก็คือ Dementia นั่นเอง


ลำดับขั้นตอนอาการของ Dementia สามารถเรียงลำดับความรุนแรงได้ดังนี้

Agitation > Quiet Delirium > Excite Delirium > "Dementia" > ถ้าหากปล่อยไว้ก็จะเกิด Depression หรือซึมเศร้าได้ หัวข้อที่เราได้รับมอบหมายให้เรียบเรียงเขียนในลงบล็อกนี้คือ ช่วง Quiet Delirium ค่ะ ซึ่งยังไม่ค่อยรุนแรงมากเท่าไหร่ เรียกได้ว่าเป็น Sign ของ Dementia เลยค่ะ อาการหลักๆของ Quiet Delirium ชื่อก็ตรงตัวใช่ไหมคะว่า "Quiet" แสดงว่าอาการก็ยังคงเบาๆไม่รุนแรงถึงขนาดก้าวร้าวอาละวาดแบบ Excite Delirium เราจะมาดูกันว่าเป็นอย่างไรบ้างนะคะ สำหรับเหตุการณ์สมมติในวันนี้เราจะให้ผู้รับบริการทานยาให้ได้ด้วยตนเองค่ะ โดยเราจะมีรูปภาพประกอบเหตุการณ์เล็กน้อยเพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนมากขึ้น

อาการของเขาที่เห็นได้ชัดคือ Inattention : ไม่สนใจบุคคลที่อยู่ตรงหน้า ไม่สบตา มักจะพูดในสิ่งที่ไม่ตรงกับปัจจุบันตอนนั้น การตอบสนองก็จะช้ากว่าคนปกติ

- No Eyes Contact ผู้รับบริการจะไม่สบตา เราจะใช้ Therapeutic use of self ในเรื่องของ Visual Sense ให้เขาสบตา พยายามให้เขาสนใจมอง และใช้ Activity Analysis โดยวิเคราะห์กิจกรรมเป็นขั้นตอน สอนให้เขารู้เป็นขั้นๆว่าขั้นตอนการทานยาเป็นอย่างไรบ้าง

- Delay Response การตอบสนองที่ช้า เราจะใช้ Teaching and Learning Process ในการ Guide ให้เขาตอบสนองโดย Verbal Prompt กระตุ้นให้เขาฟัง และ Physical Prompt อาจจะเป็นการเรียกโดยการสะกิดให้เขาตื่นตัว ใช้ Activity Analysis โดยวิเคราะห์กิจกรรมเป็นขั้นตอน ใช้วิธีการ Modification สิ่งแวดล้อม(Environmental Modification) โดยปรับสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในลานสายตาของเขา

- Past Communication ผู้รับบริการจะพูดถึงเรื่องในอดีตของตัวเอง ไม่พูดถึงสิ่งที่คู่สนทนากำลังสื่อสารด้วย ณ ขณะนั้น โดยต้องกระตุ้นให้เขารับรู้เกี่ยวกับปัจจุบันขณะ (ซึ่งก็คือการทานยา Doing Medication)


จากกรณีศึกษาสมมตินะคะ : ผู้สูงอายุเพศหญิง มีอาการเฉื่อยชา ไม่สบตาเมื่อสนทนาด้วย เริ่มสูญเสียความทรงจำ จำไม่ได้ว่าลูกหลานคือใคร สถานที่คือที่ใด มักจะพูดจาถึงอะไรที่ไม่ใช่สถานการณ์ตอนนั้น จมอยู่กับความคิดในอดีต ไม่ยอมทานยาที่ให้เพราะมักจะคิดว่าตนกินไปแล้ว



Eyes Contact : ใช้ตัวผู้บำบัดเป็นสื่อในการกระตุ้นการสบตา และความสนใจของผู้รับบริการให้สนใจที่เราโดยที่ผู้บำบัดจะยืนและวางกล่องยาไว้ให้ด้านหน้าของผู้รับบริการ เรียกด้วยน้ำเสียงที่หนักแน่นและพอที่จะทำให้ผู้รับบริการได้ยินแล้วหันหน้ามาทางผู้บำบัด



Delay Response : จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมโดยจัดสิ่งของบนโต๊ะให้มีเพียงแค่กล่องยา มีผู้บำบัดอยู่ตรงหน้าให้อยู่ในลานสายตาของผู้รับบริการ กระตุ้นให้เขาทำทีละขั้นตอน ใช้ประโยคที่เข้าใจง่ายให้ผู้รับบริการสามารถทำตามได้ ดังนี้ค่ะ



> กระตุ้นให้ผู้รับบริการรับรู้ว่าจะต้องทานยาอะไร? ทานตอนไหน? แล้วทานหรือยัง? ชี้นาฬิกาให้รับรู้ว่าเวลาเท่าใดแล้ว ให้ดูกล่องยาว่าถึงเวลาที่จะต้องกินเม็ดนี้แล้ว


Past Communication : ทำให้ผู้รับบริการรู้ว่าปัจจุบันกำลังทำอะไร ใช้คำถามที่เข้าใจง่าย ถามว่าทานยาแล้วหรือไม่ ถ้าผู้รับบริการตอบว่าอยากจะทำอย่างอื่นที่ไม่ใช่การทานยา (จากกรณีศึกษานี้ผู้รับบริการอยากจะรำก่อนค่ะ) ก็บอกให้เขาทำก่อนก็ได้แต่ต้องกลับมาทานยาด้วย บอกให้ผู้รับบริการทำในสิ่งที่ตนเองอยากทำก่อนค่อยมาทานยาก็ได้ค่ะ



> การหยิบยา และน้ำ ผู้บำบัดจะยื่นยาให้ผู้รับบริการแล้วเรียกให้เขาทานยา (Verbal Prompt) ถ้าเขายังไม่หยิบก็ใช้วิธีการจับบริเวณแขน (Physical Prompt) กระตุ้นให้เขาหยิบยา



> การทานยา และดื่มน้ำตาม ผู้บำบัดจะถามผู้รับบริการว่า กลืนแล้วหรือยัง? ใช้การสังเกตตนเอง โดยให้ผู้รับบริการแตะที่คอว่ากลืนลงไปแล้วหรือยัง



จนในที่สุด ผู้รับบริการของเราก็ทานยาได้แล้วซักที

มาดูสรุปอาการและแนวทางในการใช้กิจกรรมบำบัดกับผู้รับบริการที่เป็น Quiet Delirium แบบเป็น Mind mapping กันอีกทีนะคะ


ข้อมูลความรู้ที่ได้วันนี้ถือว่าเป็นเนื้อหาที่เข้มข้นจริงๆ เพราะเราได้แสดงทั้งบทบาทสมมติว่าถ้าหากเจอผู้รับบริการลักษณะเช่นนี้ แล้วเราจะทำอย่างไรได้ ซึ่งจะได้ผลหรือไม่อย่างไรนั้น พวกเราก็จะรอกรณีศึกษาของเราในอนาคตด้วยตนเองแล้วล่ะค่ะ ถ้าหากท่านผู้อ่านพบว่าคนที่เรารัก หรือคนใกล้ตัวของเรามีอาการดังกล่าวโดยไม่ทันตั้งตัวมาก่อน จำไว้นะคะพยายามทำให้เขาไม่คิดว่าเขาอยู่ตัวคนเดียว และถ้าหากมีเรื่องไม่ดีเกิดขึ้น ก็จงบอกเขาว่า มันไม่ใช่ความผิดของเขาเลย สำคัญที่สุดคือการสื่อสารค่ะ เราจะต้องใช้คำพูดที่ชัดเจน ฟังลื่นง่ายสบายหู ประโยคเข้าใจง่ายๆ ไม่ตื่นตระหนกหากว่าพบความผิดปกติของผู้ที่มีอาการ เช่น จำเราไม่ได้ พูดคนละเรื่อง ก็จงระงับความตื่นตระหนกไว้ ควบคุมอารมณ์ ใจเย็นๆ และรีบปรึกษาแพทย์นะคะ

หากท่านใดสนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถอ่านได้ที่ Quiet Delirium และ โรคภาวะสมองเสื่อม

ขอบคุณผู้อ่านทุกท่านค่ะ ^^

หมายเลขบันทึก: 585859เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2015 12:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2015 17:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท