การแนะนำอย่างหยาบๆในเรื่องการตระหนักรู้ภาษา (Language Awareness) ตอนที่ 9


เทคนิคที่ 1 การแก้ปัญหาทางภาษาศาสตร์ (Linguistic problem-solving)

เราสามารถที่จะสำรวจส่วนใดส่วนหนึ่งของภาษาใดๆก็ได้ เช่น Hall และ Fole (1990) นำเสนอหัวข้อ เช่น ความแตกต่างของกาลเวลา, กริยาช่วย, ประโยคเงื่อนไข, การใช้ infinitive กับ gerund, กระสวนกริยา, คำคุณศัพท์ และคำวิเศษณ์, คำบุรพบท, การใช้ articles และ determiners เป็นต้น

การวิเคราะห์อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงรับตัวป้อน (input stage) และ ขยายผลลัพธ์ (output stage) ภาระงาน โดยส่วนใหญ่แล้วจะเรียกว่า กรอบการรับรู้ (perceptual frames) เช่นอาจเป็น การสนทนาสั้นๆ (short dialogue), เรื่องอ่าน (narrative), หรือ ตัวบทการอธิบายในเรื่องต่างๆ (expository text) กรอบตัวป้อน (input frames) นำเสนอบริบทที่มีความหมาย และเน้นไปยังรายการภาษาใหม่ๆ รวมถึงข้อมูลที่เพียงพอ ที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถที่จะอุปนัย (induction) ไปยังกฎหรือ หลักการ และเกณฑ์ทั่วไป (generalization) ได้

ในตอนต่อมากรอบหรือข้อมูลจะนำเสนอต่อผู้เรียน สมมติฐานขั้นต้นจะยอมรับหรือขัดขวางกฎที่ผู้เรียนได้ตั้งไว้ กระบวนการแก้ปัญหา ก็คือการกระทำซ้ำไปซ้ำมาใน 3 ขั้นตอน ดังนี้

1. อ่านกรอบถัดไป

2. สร้างสมมติฐาน

3. ทดสอบ และถ้าเป็นไปได้ ให้ทบทวนสมมติฐาน

กรอบตัวป้อนจะอยู่กับข้อมูลที่เป็นไปได้ (pertinent data) และจะจัดลำดับให้นำเสนอแง่มุมที่แตกต่างกันของปัญหาในการสอนครั้งๆหนึ่ง เช่น ในการนำเสนอระบบ article ในภาษาอังกฤษ ครูอาจให้ผู้เรียนดูที่คู่ตรงกันข้ามเป็นคู่ๆ เช่น

1. คำนามนับได้ และคำนามนับไม่ได้

2. a กับ an

3. the กับ a/an

4. article กับ ไม่มี article

ปัญหามีอยู่ว่า a ต้องแตกต่างจาก an ครูอาจนำเสนอปัญหา ดังนี้

ปัญหา: ทำไมคำนามบางตัวต้องใช้ a และบางตัวใช้ an

คำสั่ง: อ่านบทอ่านข้างล่าง และขีดเส้นใต้ คำนามที่ตามด้วย a และ an ให้ใส่คำนามที่ขีดเส้นใต้ข้างล่าง

บทอ่าน: Molly is an awful cat. She sleeps on a mat and never catches a mouse. She eats five times a day. She often sits in an armchair for an hour or more without making a sound. Some people say she's a horrid cat, but I think she's an old rascal.

เทคนิคนี้จะทำให้ผู้เรียนได้ค้นหากระสวนแบบประโยค ประเมิน และเลือกกฎอย่างมีวิจารณญาณ ในกรณีนี้ นักเรียนต้องสังเกตว่าไม่ใช่แต่คำนามเท่านั้น แต่ยังมีคำคุณศัพท์ที่ใช้ขยายคำนาม ยังต้องใช้ a กับ an อีกด้วย ในที่สุด นักเรียนจะได้สังเกตว่ากฎการใช้ article ต้องขึ้นอยู่กับเสียง ที่นำหน้านั้นด้วย

หนังสืออ้างอิง

James M. Bourke. (2014). A Rough Guide to Language Awareness.

หมายเลขบันทึก: 585504เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2015 08:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2015 08:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท