การแนะนำอย่างหยาบๆในเรื่องการตระหนักรู้ภาษา (Language Awareness) ตอนที่ 8


เทคนิคในการสอนการตระหนักรู้ภาษา (Implementing language awareness techniques)

นอกเหนือจากการสอนแบบภาระงานที่นำเสนอข้างบนแล้ว ยังมีเทคนิคที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีการตระหนักถึงรูปแบบ (form) และหน้าที่ (function) เกี่ยวกับรายการทางไวยากรณ์ที่เป็นภาษาเป้าหมายได้ เทคนิคต่างๆที่นำเสนอข้างล่าง ที่ได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการตระหนักรู้ภาษา และเชื่อกันว่ามีประโยชน์ ใช้คู่มือ และมีประสิทธิภาพ ถ้ามีความเป็นไปได้ เทคนิคนี้ควรจะดำเนินไปตามขั้นตอนข้างล่าง ดังนี้

1. นักเรียนจำเป็นต้องได้รับตัวป้อนที่เป็นโครงสร้างไม่ว่าจะอยู่ในการฟัง หรือการเขียน เพราะการตระหนักรู้ภาษานั้นจะเน้นไปที่ความหมาย (meaning) ของตัวบท (text)

2. นักเรียน ต้องมีการสังเกตเกี่ยวกับโครงสร้างและบริบท ที่โครงสร้างนั้นใช้อยู่ การสังเกตได้แก่ การมีส่วนร่วมในการหากระสวนประโยค (syntactic patterning), การประเมิน, การเลือกปฏิบัติ (discrimination) และการท่องกฎอย่างชัดถ้อยชัดคำ

3. นักเรียนจะตรวจสอบความรู้เรื่องกฎ ต่อข้อมูลที่มากขึ้น ถ้าไม่ใช่อย่างที่ว่า ก็ต้องทบทวนกฎซ้ำแล้วซ้ำอีก

4. นักเรียนจะต้องใช้โครงสร้างในภาระงานแบบการผลิตแบบสั้นๆ (short production task)

หนังสืออ้างอิง

James M. Bourke. (2014). A Rough Guide to Language Awareness.

หมายเลขบันทึก: 585438เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2015 19:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2015 19:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท