ทำไมจึงต้องบริหารความเสี่ยงทางการคลัง


ในการดำเนินชีวิต ของคนเราในปัจจุบันต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนหรือความเสี่ยงมากมาย หลายๆคนบริหารและจัดการกับความไม่แน่นอนหรือความเสี่ยงด้วยการทำประกัน ไม่ว่าจะเป็นการประกันชีวิต อุบัติเหตุ และสุขภาพ หรือการประกันรถยนต์ บ้าน และทรัพย์สินต่างๆ ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบที่บริษัทประกันเสนอให้แก่ลูกค้า สำหรับภาครัฐต้องเผชิญกับความเสี่ยงหรือความไม่แน่นอนด้วยเช่นกันจากหลาย สาเหตุ เช่น จากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย อัตราการเติบโตของภาวะเศรษฐกิจ และภาวะเงินเฟ้อหรือเงินฝืด ซึ่งล้วนแต่มีผลกระทบต่อสถานะทางการคลังในเรื่องการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล การกำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่าย ภาระหนี้ และสถานะหนี้คงค้างของรัฐบาล นอกจากนี้แล้วการที่รัฐบาลให้รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจดำเนินกิจกรรมตามนโยบายของรัฐบาล โดยรับรองหรือให้คำมั่นว่ารัฐบาลจะเป็นผู้รับภาระหนี้หรือชดใช้เงินให้หากผล การดำเนินงานขาดทุน หรือการที่ภาครัฐร่วมลงทุนกับภาคเอกชนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ( Mega Project ) ล้วนก่อให้เกิดภาระและความเสี่ยงทางการคลังทั้งสิ้น เพราะเป็นการซ่อนเร้นต้นทุนทางการคลังหรือฐานะการคลังที่แท้จริงของรัฐบาล ไว้ เนื่องจากโดยทั่วไปแล้วรัฐบาลเปิดเผยข้อมูลฐานะการคลังเฉพาะที่อยู่ในงบ ประมาณเท่านั้น ส่วนผลการดำเนินงานของกิจกรรมนอกงบประมาณ ( Off Budget ) ของรัฐบาลที่ดำเนินการผ่านกองทุนนอกงบประมาณอาจจะมีรวมอยู่ในฐานะการคลังตาม ระบบ GFS ( Government Finance Statistics ) แต่อย่างไรก็ตามในฐานะการคลังตามระบบ GFS ไม่ได้รวมถึงกิจกรรมกึ่งการคลังและภาระผูกพันทางการคลังทั้งหมด ทำให้ไม่สามารถเห็นภาพรวมของฐานะทางการคลังที่แท้จริง ดังนั้นการบริหารความเสี่ยงด้านการคลังจึงมีความสำคัญและจำเป็นที่จะต้อง ดำเนินการและนำมาปฏิบัติอย่างจริงจัง


บทความนี้ จะกล่าวถึงความหมายของความเสี่ยงทางการคลัง สาเหตุของการเกิดความเสี่ยงทางการคลัง การประเมินความเสี่ยงและภาระทางการคลังทั้งทางตรง ( Direct Liability ) และภาระผูกพัน
( Contingent Liability ) ของรัฐบาล รวมทั้งเป้าหมายและแนวทางของการดำเนินนโยบายทางการคลังเพื่อใช้เป็นข้อมูลใน การบริหารจัดการความเสี่ยงทางด้านการคลัง ต่อไป

หมายเลขบันทึก: 585278เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2015 23:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2015 23:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท