ปวดหัวเนื่องจากกินยาแก้ปวดหัวมากเกินไป..เอ๊ะยังไงปวดหัวจัง


เอ๊ะ..เข้าข่ายไหมหนอ?


เมื่อมีสิ่งต่อไปนี้เป็นเวลา 3 เดือนขึ้นไป

1. ปวดศรีษะเรื้อรังบ่อยๆ กว่า 15 วันต่อเดือน แบบไมเกรน, ปวดแบบตึงรัด หรือ ปวดศรีษะที่ไม่มีพยาธิสภาพ/ยาเป็นเหตุ (primary headache) อื่นๆ

ร่วมกับ

2.ทานยาแก้ปวด

..เกิน 10 วันสำหรับ ยา Cafergot , Triptan, Opioid (เช่น Tramadol, Codegesic)

..เกิน 15 วัน สำหรับ ยา NSAIDs (เช่น Ibuprofen, Dosanac), Paracetamol

(ประยุกต์จาก iCHD-3b : International classification of headache disorder 3rd beta edition) for Medication overuse headache)

ในที่นี้ขอเอ่ยถึงยาแก้ปวดหัวจากไมเกรนตัวหนึ่งที่มีขายทั่วไปในท้องตลาดไทย คือ Cafergot

ใน cafergot 1 tab มี caffeine 100 mg และ ergotamine 1 mg


Ergotamine เป็นสารสกัดจาก 'เชื้อรา' ergot fungus
มีประวัติศาสตร์การค้นพบ 'ยา' จาก 'พิษ'

ergot fungus ที่ปนเปื้อนในข้าวบาร์เลย์ทำให้ คนที่กินเข้าไปมีปลายมือปลายเท้าขาดเลือด

อันเกิดจากฤทธิทำให้เส้นเลือดหดตัว

การทานปริมาณมากในระยะเวลาสั้นๆ ทำให้เกิด 'Ergotism'

จึงกำหนดขนาดสูงสุด คือ 6 mg (= 6 เม็ด) ต่อวัน หรือ 10 เม็ด/สัปดาห์

แต่ผลของการก่อภาวะ ปวดจากยาแก้ปวด (Medication overuse headache) เกิดได้ตั้งแต่ 10 เม็ดต่อเดือน

.....

เอาละ ทำอย่างไรต่อดีคะ

ไม่ควรหยุดยาเองกะทันหัน

เพราะ อาจส่งผลให้ปวดรุนแรง หรือชักได้

เนื่องจากการรับยาแก้ปวดปริมาณมากเป็นเวลานานๆ ทำให้เกิด central sensitization ที่จะกล่าวต่อไปค่ะ

ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อแก้ไข ซึ่งมีแนวทางกว้างๆ คือ

1. ช่วงหยุดยาแก้ปวด จะมียาทดแทน (Bridging)

ยาที่ใช้ Bridge คือ steroid และ/หรือ long acting NSAIDs เช่น Naproxen

ยา opioid และ Benzodiazepine ควรค่อยๆ ลดขนาดยาลง ก่อนหยุด


2. เริ่มให้ยาสำหรับควบคุมอาการ (preventive medication) ได้แก่ ยากันชัก เช่น Topamax

กรณีของ ergotamine ช่วงที่มีอาการหลังหยุดยา และต้องการ bridge คือประมาณ 1 สัปดาห์

กรณีของ Triptan มักสั้นกว่าและอาการน้อยกว่า แต่ยามีราคาแพง (แพงกว่า ergot 30 เท่า!)

กรณีอาการคลื่นไส้อาเจียนมาก อาจต้องเข้านอนในโรงพยาบาลเพื่อ bridging เพื่อให้ยาทางเส้นเลือด


3.ยาที่ใช้ได้แก่ Valporic acid, Metoclopramide, Dexamethasone

=============================================

Central sensitization คือ?

เซลล์ประสาทสมอง 'ไว' ต่อความเจ็บปวดมากขึ้น

ประเด็นนี้ ข้าพเจ้าคิดว่า เป็นเรื่องละเอียดอ่อน

ที่ไม่ควรสรุปง่ายๆ ว่า ใช้ยาแก้ปวดทำให้ปวดมากขึ้น

การไวต่อความเจ็บปวดนั้น มองได้สองแง่คือ

หนึ่ง ถูกฝึกบ่อยๆ ให้ไว

สอง ตัวชะลอยับยั้งหายไป

การปวดมากบ่อยๆ ทำให้ไวได้ด้วยกลไกแรก

ลักษณะของเซลล์สมอง ที่ยิ่งใช้บ่อย ยิ่งประสานงานกันดี

ความปวดก็เช่นกัน ยิ่งปวดบ่อย ก็ยิ่งเก่งที่จะปวด

จนบางครั้ง แม้สัมผัสเบา ก็ทำให้ปวดได้ (allodynia)

ขณะที่ยาแก้ปวด อันเน้นว่า 'เกินความต้องการ' ของร่างกาย

ทำให้ ตัวชะลอ ความเจ็บปวดหายไป

'down regulation of serotonin receptor '
– serotonin เป็นสารเคมีแห่งจิตใจสงบเย็น (ใครดูซีรีย์ฮอร์โมนคงจำได้)

เช่นกินยาแก้ปวดออกฤทธิสั้น จำนวนมาก กันไว้ก่อนเพราะกลัวว่าจะปวด

เหมือนคนกลัวร้อน ที่ดื่มน้ำเย็น 1 ตุ่ม กันไว้ก่อน
ร่างกายก็ต้องปรับตัว รับน้ำเข้าร่างกายในสัดส่วนน้อยลง เพราะถ้าดูดซึมไว้หมดคงบวมแย่

ไปๆ มาๆ พอถึงตอนร้อนจริง ปรับตัวไม่ทัน ก็ยังติดนิสัยดูดซึมน้ำเย็นน้อยเท่าเดิม

หมายเลขบันทึก: 585177เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2015 19:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2015 20:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ชีวิต ... เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมากนะครับ คุณหมอ ;)...

มนุษย์นี้ยากแท้หยั่งถึงนะคะ อาจารย์ ^^

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท