SME


เปิดยุทธศาสตร์ กรมส่งเสิรมอุตสาหกรรม นำSMEs ไทยบุกอาเซียน

ผ่านไปเกือบครึ่งปีแล้ว ที่ประเทศไทยประกาศใช้นโยบายค่าแรง 300 บาท ซึ่งจากการสำรวจSMEsไทยจำนวน 3 ล้านราย ยังเผชิญปัญหาสารพัดด้านไม่หยุดหย่อน ทั้งเรื่องการส่งออกหดตัวที่มีผลจากตลาดหลัก คือ สหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น ประสบภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและวิกฤตจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ทั้งนี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เป็นหน่วยงานขับเคลื่อนและสนับสนุนอุตสาหกรรมและSMEsไทย ได้

ประกาศยุทธศาสตร์หลักส่งเสริมผู้ประกอบการแบบครบวงจรให้ผ่านพ้นทุกวิกฤตและทุกปัจจัยลบผ่านบันได 4 ขั้น ได้แก่
1. สนับสนุนปัจจัยต่างๆ ที่เอื้ออำนวยต่อการประกอบธุรกิจ ทั้งแหล่งข้อมูล แหล่งเงินทุน การให้บริการทดสอบสินค้าแก่ผู้ประกอบการ
2. การพัฒนาผู้ประกอบการSMEs ทั้งรายเดิมและรายใหม่ โดยการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่
3. การพัฒนาประสิทธิภาพองค์กร ทั้งพัฒนาโรงงาน ธุรกิจ บริษัทให้แข็งแกร่งมากขึ้น พัฒนากระบวนการผลิต และพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และใช้นวัตกรรมมาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการแข่งขันในตลาดโลก
4. ทำให้ผู้ประกอบการแข่งขันในตลาดโลก เพิ่มศักยภาพในการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจเพื่อรองรับการเปิดประชาคม6เศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และเชื่อมโยงธุรกิจในกลุ่มอาเซียนรวมทั้งพาผู้ประกอบการไปศึกษาดูงานและจับคู่ธุรกิจกับนักลงทุนในต่างประเทศ

โสภณ ผลประสิทธิ์อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า แผนงานในปีงบประมาณ2557 มี 3 โครงการใหญ่ที่เตรียมเร่งผลักดัน 3 โครงการ ได้แก่ กรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น ในระยะ(เฟส) 2 ทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางแฟชั่นและศูนย์กลางธุรกิจแฟชั่นในอาเซียน ภายใต้งบประมาณ 160 ล้านบาท โดยเป็นโครงการที่กลับมาทำอีกครั้งตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อผลักดันโครงการกรุงเทพฯเมืองแฟชั่น ให้ประสบความสำเร็จ
นอกจากนี้ ได้มุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปครบวงจร (ไทยแลนด์ ฟู๊ด วัลเลย์) เพื่อเพิ่มมูลคําสินค้าให้มากที่สุดและยกระดับอุตสาหกรรมแปรรูปให้แข่งขันได้ในอาเซียน และทำโครงการห่วงโซ่สีเขียวอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป โดยงบประมาณสนับสนุน 2 โครงการอยู่ที่ 50 ล้านบาท ซึ่งมั่นใจว่าSMEsไทยที่มีจำนวน 3 ล้านราย จะสามารถแข่งขันและอยู่รอดในตลาดได้ต่อไป รวมทั้งสามารถแข่งขันได้ในตลาดอาเซียน เมื่อมีการเปิดAECปี 2558 ขณะที่SMEs 8 กลุ่ม ที่กรมให้การสนับสนุนและถือเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมดาวเด่น ได้แก่

1. กลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูป มุ่งให้SMEsรวมกลุ่ม ร่วมทุนขยายธุรกิจและฐานการผลิตในAEC ทั้งนโยบายและแหล่งเงินทุน ให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งระดับโลก ทั้งโครงการฟู๊ด วัลเลย์ ของประเทศเนเธอร์แลนด์หรือฟู๊ด ซิตี้ ของประเทศเกาหลีใต้
2. กลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับสนับสนุนการนำเทคโนโลยีการออกแบบ การผลิต และสร้างเรื่องราวของอัญมณีในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ
3. กลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนให้สร้างเครือข่ายการผลิต และการร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อรับงานนอกภูมิภาคอาเซียนอย่างต่อเนื่อง
4.กลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มุ่งสร้างเครือข่ายการผลิตและโลจิสติกส์
5. กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ส่งเสริมพัฒนาบุคลากรด้านเทคนิคและวิศวกรรม
6. กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน สนับสนุนให้ลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน
7. กลุ่มอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังสร้างฐานข้อมูลผู้ประกอบการในประเทศเพื่อนบ้านและส่งเสริมสร้างนวัตกรรม
และป้องกันสินค้าลอกเลียนแบบ
8. กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มสร้างมาตรฐานอาหารไทยให้สำเเร็จและให้การรับรองคุณภาพในตลาดต่างประเทศ
ทั้งนี้ 8 กลุ่ม เป็นกลุ่มผู้ประกอบการและSMEsไทยที่มีความสำคัญ สร้างรายได้และทำให้เกิดการจ้างงาน จากแผนพัฒนาดังกล่าว กสอ.จะสามารถพัฒนาผู้ประกอบการไม่ต่ำกว่า 7,000 รายทั่วประเทศ ท าให้SMEsสามารถปรับตัวและพัฒนาตัวเองให้แข่งขันได้ในอนาคต SMEsไทยร่วม 3 ล้านราย จะผ่านพ้นทุกปัจจัยลบและแข่งขันในตลาดAECได้หรือไม่อีก 2 ปีเมื่อเปิดAECจะได้รู้พร้อมกัน

ที่มา : โพสต์ทูเดย์



อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/796#ixzz3QgU5hCZ2


คำสำคัญ (Tags): #sme
หมายเลขบันทึก: 585175เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2015 19:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มีนาคม 2015 22:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท