วิทยากรมือใหม่


เมื่อปีที่ผ่านมา ฉันเริ่มต้นบทบาทใหม่จากการเป็นนักเขียน บรรณาธิการ นักวิจัย มาเป็นวิทยากร หลักสูตรที่ฉันพัฒนาขึ้นมาก็มาจากประสบการณ์การทำงานทั้ง 3 บทบาทที่กล่าวมาทั้งหมด Searching and Decoding Best Practices และ การเขียนอย่างมีประสิทธิผล คือสองหลักสูตรที่ฉันพัฒนาขึ้นมา เหตุผลง่ายๆ ก็คือฉันทำงานมา 10 กว่าปีแล้ว และเหลือเวลาทำงานอีกไม่กี่ปี ฉันควรจะถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้ให้กับคนอื่นบ้าง เพราะการเรียนรู้ที่ผ่านมาช่างน่าอัศจรรย์เกินกว่าที่จะเก็บไว้คนเดียว

ทั้งๆ ที่โดยธรรมชาติฉันไม่ใช่นักพูด ไม่ค่อยชอบพูด รักการเขียน รักการจมดิ่งกับการเขียน

แน่นอนครั้งแรกของการเป็นวิทยากรช่างยากลำบาก แม้ว่าจะเตรียมการสอนมาเป็นเวลาหลายเดือน

มันไม่ง่ายเลยกับการพูดให้คนอื่นเข้าใจในสิ่งที่เราอยากจะบอก

เวลาเขียน ฉัันมีเวลามากมายในการประดิษฐ์ประดอยถ้อยคำ จริงๆ แล้วฉันเขียนจนมันประดิษฐ์ประดอยเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว บางทีคำพูดของฉันก็ทำให้เพื่อนหัวเราะเสมอ เพราะเผลอพูดภาษาที่ประดิษฐ์ประดอยนั่นแหละ

แต่เวลาพูด มันคือสถานการณ์อยู่ตรงหน้าที่แทบไม่มีเวลาคิด

ฉันอาศัยความจริงใจที่จะให้ ถ่ายทอดไปอย่างซื่่อๆ ไม่มีเทคนิคแพรวพราวอย่างที่เคยเห็นวิทยากรอื่นๆ เขามีกัน

บางคนฉันเห็นว่าเขาลากยาวเนื้อหานิดเดียวได้เป็นวัน ส่วนฉันเนื้อหาเป็นวัน พูดสั้นๆ ไม่ถึงชั่วโมง ไม่มีมุข ไม่มีลูกเล่น

ชีวิตวิทยากรผ่านมาได้ระยะหนึ่งแล้ว วิทยากรทื่อๆ อย่างฉันก็ผ่านไปได้ ด้วยการสะท้อนจากผู้เข้าเรียนว่าสิ่งที่ฉันบอกกับเขานั้น มันทำให้เขาเข้าใจ และทำได้จริง

ก็ใช่นะสิ ฉันสอนจากการทำมาก่อนนี่นะ

แต่เชื่อมั๊ยว่า วันนี้ฉันอยากกลับไปเรียกคนที่ฉันสอนใน 1-3 ครั้งแรกมาสอนใหม่อีกครั้ง เพราะครั้งหลังๆ ฉันเพิ่งรู้ว่าจะพูดยังไงที่จะทำให้เขาเข้าใจง่ายขึ้น

ไม่รู้ว่าวิทยากรท่านอื่น เคยรู้สึกเหมือนกันหรือเปล่านะ

หมายเลขบันทึก: 585168เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2015 16:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2015 16:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท