​แหล่งที่มากับการกำหนดปัญหาการวิจัยและข้อบกพร่องที่พบบ่อยในการเลือกปัญหาการวิจัย


แหล่งที่มากับการกำหนดปัญหาการวิจัยและข้อบกพร่องที่พบบ่อยในการเลือกปัญหาการวิจัย

อาจารย์ สุภัชชา พันเลิศพาณิชย์

การกำหนดปัญหาการวิจัยเป็นสิ่งจำเป็นที่นักวิจัยต้องควรทำโดยไม่ให้กว้างหรือแคบเกินไป(๑)เพราะว่าปัญหาการวิจัย ที่ได้มามักเกิดจาก ประเด็นที่นักวิจัยสงสัยที่ต้องการดำเนินการเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริง จึงทำให้มีลักษณะเป็นข้อสงสัยของผู้วิจัยต่อสถานการณ์ที่ผู้วิจัยต้องแสวงหาความรู้เพื่อให้ได้คำตอบและสามารถสังเกตได้จากการกำหนดปัญหาว่าเป็นไปในลักษณะใด ควรทำการวิจัยรูปแบบใดถ้าเป็นการวิจัยในภาพกว้างต้องการหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยมีวิธีคิดแบบนรินัยหรือแนวคิดทฤษฎีเพื่อให้ได้ความรู้คู่ความจริงเราเรียกว่าการวิจัยเชิงปริมาณแต่ถ้าศึกษาจากสิ่งที่พบเห็นเพื่อหาข้อสรุปแบบเจาะจงเราเรียกว่าเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ(๒)

ดังนั้น การกำหนดปัญหาการวิจัยที่ดีต้องเกิดจากความสนใจหรือข้อสงสัยจากตัวผู้วิจัยเองที่ต้องแสวงหาความรู้อย่างเป็นระบบภายใต้หัวข้อที่อยู่ในความสนใจโดยใช้การอธิบายความหรือพรรณาความเป็นมาของเรื่องที่วิจัยพยายามชี้ให้เห็นถึงเหตุและผลว่ามีพัฒนาการมาอย่างไรโดยเขียนในภาพรวมแล้วค่อยๆลดทอนลงมาให้อยู่ในขอบเขตของกรอบแนวคิดการวิจัยเพื่อสื่อให้เห็นว่าจากปัญหาดังกล่าวทำให้ผู้วิจัยสนใจต้องการจะรู้หรือต้องการจะศึกษา(๓)และในการกำหนดปัญหาการวิจัยเชิงคุณภาพผู้วิจัยต้องเขียนที่มาและความสำคัญของปัญหาจากการทบทวนเอกสารพอสังเขปเพื่อสนับสนุนปัญหาที่ผู้วิจัยต้องการศึกษาลักษณะการเขียนควรมีการวางโครงเรื่องที่ชัดเจน กระชับในการนำเสนอแบบพอดี สามารถอธิบายได้ชัดเจนเชื่อมโยงปัญหาการวิจัยกับเหตุผลที่ต้องทำการวิจัยเชิงคุณภาพ

คำถามสำคัญที่นำไปสู่ปัญหาการวิจัย;แหล่งที่มา

การกำหนดปัญหาการวิจัยหรือการเลือกปัญหาการวิจัยจากสิ่งที่นักวิจัยมีข้อสงสัยอยากรู้เปรียบเสมือนการตั้งโจทย์ที่ต้องการหาคำตอบจึงต้องพิจารณาถึงแหล่งที่มาภูมิหลังของตัวนักวิจัยเองว่ามีทักษะความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ทางวิชาการเรื่องใดเรื่องที่ทำอยู่ในเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่น่าสนใจหรือไม่หรือเคยมีผู้เคยทำแล้วแต่ตัวผู้วิจัยสงสัยต้องการหาข้อค้นพบใหม่หรืออาจเป็นเรื่องที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อนแต่อยู่ในความสนใจและตัวผู้วิจัยมีความรู้เชิงวิชาการในเรื่องๆนั้นๆโดยในการทำวิจัยต้องทำคำนึงความพร้อมในทุกด้าน ทั้งเรื่องของ บุคคล เวลา งบประมาณ สถานที่รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลรวมไปถึงกระบวนทัศน์ และ การจำแนกปัญหาของนักวิจัย ค่านิยมของนักวิจัย วิธีการของนักวิจัย และการเลือกวิธีการวิเคราะห์และปัจจัยด้านเวลา(Bailey ๑๙๘๗;๒o)

ในการวิจัยเชิงคุณภาพการตั้งคำถามการวิจัยสำคัญมากเพราะว่านักวิจัยต้องแสวงหาความจริงจากสถานการณ์ที่เป็นอยู่การตั้งคำถามที่ท้าทายและลุ่มลึกต่อการแสวงหาคำตอบจะทำให้งานวิจัยน่าสนใจน่าติดตามแต่ในการทำวิจัยเชิงปริมาณเน้นที่วัตถุประสงค์มากกว่าการตั้งคำถามการวิจัยโดยนำวัตถุประสงค์มาเป็นประโยคบอกเล่าสู่คำถามการวิจัยแล้วกำหนดปัญหาหรือหัวข้อการวิจัยซึ่งเห็นได้จากหลายงานชิ้นงานที่ทำการวิจัยเชิงปริมาณ(๔)

แหล่งของปัญหาการวิจัย

โดยทั่วไปนักวิจัยหรือผู้ศึกษาสามารถมองปัญหาในการพัฒนามาเป็นหัวข้อการวิจัยได้ ดังนี้

๑.ภูมิความรู้เดิม โดยศึกษาจาก สาขาที่เรียน และประสบการณ์ที่มีเชิงวิชาการ

๒.บริบทสังคม จากปัญหาต่างๆอาจจะเกิดที่หน่วยงานหรือ องค์กร และชุมชนที่ตนเองคลุกคลีอยู่

๓.ข้อเสนอแนะการวิจัย จากงานวิจัยเรื่องต่างๆที่มีข้อเสนอแนะในการวิจัยว่าควรทำวิจัยต่อเรื่องใดซึ่งสอดคล้องกับสาขาวิชาที่เรียนและนักวิจัย มีแนวคิดประสบการณ์การเรียนรู้ที่คล้ายกันมีความสนใจในข้อเสนอแนะนั้นๆก็ สามารถนำมาเป็นแนวทางในการกำหนดการวิจัยของตนได้

๔เอกสารและ.วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาเอกสาร วรรณกรรมรวมถึง ตำรา วารสาร สิ่งพิมพ์ สื่อต่างๆ

๕.ความสนใจของนักวิจัยที่มีข้อสงสัย และต้องการจะรู้คำตอบ

๖.ผู้อื่นเสนอหัวข้อการวิจัยให้ เช่น อาจารย์ที่ปรึกษาเลือกหัวข้อให้นักศึกษาทำวิทยานิพนธ์ หรือจากหน่วยงานราชการและเอกชนเสนอหัวข้อเรื่องให้ทำการวิจัยเพื่อนำผลที่ได้ไปพัฒนางานในองค์กรทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความถนัดและความสนใจของตัวผู้วิจัยเองด้วย(๕)

ลักษณะของปัญหาการวิจัยที่ดี

หัวข้อเสนอปัญหาการวิจัยต้อง น่าสนใจ และ สอดคล้องกับรายละเอียดที่นำเสนอ

สามารถตอบปัญหาหรือแก้ปัญหาที่ต้องการได้

โจทย์วิจัยที่เสนอ ต้องมีวัตถุประสงค์ที่ ชัดเจน กระชับ และสามารถทำได้

ความคุ้มค่าต่อการลงทุน หากผลการวิจัยประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยเดิมแต่ถ้าต้องทำการวิจัยซ้ำจะได้ข้อค้นพบใหม่มีประโยชน์ต่อสถาบันหรือ ผู้ให้ทุนหรือเป็นประโยชน์ต่อสังคมและส่วนรวม

หัวข้อของข้อเสนอโครงการวิจัยมีการสืบค้นผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องหรือการทบทวนบทความ (Literatures Review)

หัวข้อการวิจัยที่นำเสนอมี "ความใหม่ และน่าสนใจ" มีข้อมูลที่ทำให้เกิดความรู้และความเข้าใจ ทราบจุดอ่อนหรือจุดแข็งของเรื่องที่กำลังศึกษาอยู่จนสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดหรือสร้างสรรค์งานวิจัยใหม่ให้แตกต่างจากของเดิม

มีการใช้ฐานข้อมูลของ Scopus, Science Direct ในการค้นหาข้อมูล ประหยัดเวลาทำให้ไม่เกิดความความซ้ำซ้อนในหัวข้อการวิจัย(๖)

ควรกำหนดปัญหา วัตถุประสงค์ของการวิจัยให้แน่นอน เสร็จแล้วจึงลงมือเก็บข้อมูล ควรจำไว้ว่า ปัญหาการวิจัย เป็นตัวชี้แนะในการเก็บข้อมูล ไม่ใช้ข้อมูลเป็นตัวชี้นำการตั้งปัญหา

ปัญหาที่ดีจะต้องอยู่ในรูปของคำถามซึ่งประกอบไปด้วยตัวแปรอย่างน้อยสองตัว โดยที่ตัวแปรเหล่านั้นแสดงความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันด้วย

จะต้องสร้างปัญหาโดยอาศัยพื้นฐาน แนวคิดจากผลการวิจัย แบบจำลองและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

ข้อบกพร่องที่พบบ่อยในการเลือกปัญหาการวิจัย

ในการเลือกปัญหาการวิจัยแม้ว่าผู้วิจัยได้ใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกปัญหาวิจัย

เป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะสำหรับนักวิจัยที่เพิ่งเริ่มต้น ปัญหาที่พบบ่อยที่สุดคือ

๑. ปัญหานักวิจัยทำการรวบรวมข้อมูลมาก่อน แล้วมาตั้งเป็นปัญหาภายหลัง ผลคือข้อมูลที่ได้มานั้นไม่ครบถ้วนหรือไม่เพียงพอที่จะตอบปัญหาที่ตั้งไว้ได้

๒. การตั้งปัญหากำกวม ไม่เอื้ออำนวยให้เก็บข้อมูลได้

๓. เลือกปัญหากว้างเกินไป จึงความยากลำบากอย่างหนึ่งที่นักวิจัยเผชิญเพราะว่าถ้าปัญหามีลักษณะกว้างเกินไป มักจะครุมเครือ ไม่อาจทดสอบได้ จึงไม่มีประโยชน์ถึงแม้จะน่าสนใจก็ตาม ซึ่งจะพบเห็นได้ในสังคมศาสตร์ เช่น "การศึกษาประชาธิปไตยส่งเสริมการเรียนรู้ทางสังคมและการเป็นพลเมืองดี" "ลัทธิการใช้อำนาจในห้องเรียนขัดขวางความคิดเชิงสร้างสรรค์ของเด็ก" ปัญหาเหล่านี้น่าสนใจแต่กว้างเกินไปจนไม่อาจนำไปทดสอบได้

๔.ปัญหาที่ไม่ได้มาจากผลการวิจัย การตั้งปัญหาไม่ได้อาศัยพื้นฐานจากผลการวิจัย แบบจำลองและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องแต่ประการใด(๗)

๕.เลือกปัญหาวิจัยตามผู้อื่นหรือตามความสำคัญตามสถานการณ์โดยขาดการพิจารณาไตร่ตรองด้วยความรอบครอบว่าปัญหาวิจัยนั้นสอดคล้องกับความสนใจและความสามารถของตนเอง

๖.ผู้วิจัยไม่ได้วิเคราะห์ปัญหาให้ถูกต้องชัดเจนทำให้ได้ปัญหาวิจัยในประเด็นปัญหาที่ต้องการค้นหาคำตอบและแนวทางดำเนินการวิจัยผิดพลาด

๗. ผู้วิจัยไม่ได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอที่จะกำหนดประเด็นปัญหาวิจัยและกรอบแนวคิดในการดำเนินการวิจัยได้อย่างชัดเจน

๘.ผู้วิจัยไม่มีความรู้ความสามารถในเรื่องที่จะทำการวิจัยทั้งนี้เพราะไม่ไดประเมินศักยภาพของตนเองให้สอดคล้องเหมาะสมกับระดับปัญหาวิจัยทำให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการวิจัย

๙. ผู้วิจัยเลือกปัญหาวิจัยโดยขาดการวางแผนและการดำเนินการวิจัยที่ดี

หลักในการเขียนปัญหาการวิจัย

การเขียนปัญหาการวิจัยเป็นการแสดงให้เห็นถึงประเด็นปัญหาที่ต้องการค้นหาคำตอบจึงต้องให้มีความครอบคลุมและชัดเจนซึ้งอาจเขียนได้ ๔รูปแบบดังนี้

๔.๘.๑ การเขียนในรูปประโยคคำถามการเขียนตามแบบนี้เป็นการเขียนปัญหาวิจัยเป็นประโยคคำถามที่ให้ชัดเจนและเข้าใจง่ายเขียนได้ ๓ ลักษณะคือ

๑) การเขียนเป็นประโยคคำถามเดียว

๒) การเขียนเป็นประโยคคำถามหลายประโยคโดยการเขียนเป็นประโยคคำถามย่อยหลายๆประโยค

๓) การเขียนเป็นประโยคคำถามหลักแล้วตามด้วยประโยคคำถามย่อย

การเขียนในรูปประโยคบอกเล่าการเขียนตามรูปแบบนี้เป็นการเขียนปัญหาวิจัยเป็นประโยคบอกเล่าซึ้งอาจเขียนเป็นประโยคเดียวหรือประโยคย่อยหลายประโยคก็ได้เขียนได้ ๔ลักษณะ

๑) การเขียนเป็นประโยคบอกเล่าเดียว

๒) การเขียนประโยคบอกเล่าเดียวแต่มีหลายตอน

๓) การเขียนประโยคบอกเล่าหลายๆประโยค

๔) การเขียนเป็นประโยคบอกเล่าหลักแล้วตามด้วยประโยคบอกเล่าย่อย

๔.๑ การเขียนในรูปประโยคบอกเล่าแล้วตามด้วยประโยคคำถามการเขียนตามรูปแบบนี้เป็นการเขียนปัญหาวิจัยเป็นประโยคบอกเล่าแล้วตามด้วยประโยคคำถาม

๔.๒ การเขียนในรูปสมมติฐานที่เป็นกลาง(null hypothesis)การเขียนตามรูปแบบนี้เป็นการเขียนปัญหาวิจัยในลักษณะสมมติฐานที่เป็นกลางซึ้งอาจเขียนเป็นสมมติฐานเดียวหรือหลายสมมติฐานก็ได้

สรุป

งานวิจัยจะเริ่มต้นได้หรือไม่นั้นสิ่งที่สำคัญคือปัญหาการวิจัยและการกำหนดหัวข้อวิจัยซึ้งในการที่จะได้มาของปัญหานั้น ผู้วิจัยจะต้องทราบที่มาของแหล่งปัญหาการวิจัยวิธีการเลือกปัญหาลักษณะของปัญหาที่ดีแล้วเลือกปัญหาที่สนใจและสามารถดำเนินการวิจัยให้เกิดประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าและจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยให้ชัดเจนสอดคล้องกับปัญหาวิจัยหรือคำถามวิจัยต้องกำหนดในลักษณะของสิ่งที่จะกระทำเพื่อให้ได้มาในสิ่งที่อยากรู้อยากเห็นหรือตอบคำถามมากกว่าจะได้ผลลัพธ์ของสิ่งที่อยากรู้อยากเห็นต้องสอดคล้องกับรูปแบบของการวิจัยครอบคลุมปัญหาการวิจัยหรือคำถามการวิจัยครบทุกข้อในรูปของประโยคบอกเล่าและสามารถตอบคำถามของปัญหาได้

.................................................................................................................................

ขอบคุณแหล่งที่มาค่ะ

(๑.ดร.ฤทธิชัย แกมนาค การศึกษาอิสระ พิมพ์ครั้ง๑ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา วัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย หน้า ๑๖ พ.ศ.๒๕๕๕)

(๒.ดร.ประเวศน์ มหารัตน์สกุล หลักการและวิธีการเขียนงานวิจัย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ กรุงเทพ ปัญญาชน,๒๕๕๗หน้า๑o๒-๑o๔)

(๔.ดร.วรรณดี สุทธินรากร พิมพ์ครั้งที่๑ การวิจัยเชิงคุณภาพ; การวิจัยในกระบวนทัศน์ทางเลือก กรุงเทพ สยามปริทัศน์, ๒๕๕๖หน้า๖๔-๖๕)

(๕.เทคนิควิจัยทางสังคมศาสตร์ ศาสตราจารย์ดร.สิน พันธุ์พินิจ สำนักพิมพ์จูนพับลิชชิ่ง จำกัด๒๕๔๗หน้า๖๗-๖๙ )

(๖.การประชุมวิชาการครั้งที่ ๒วิธีการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยที่ดีภายใต้โครงการเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ประจ าปี พ.ศ. ๒๕๕๓

โดยชัย จาตุรพิทักษ์กุลภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 2555 http://www.finearts.cmu.ac.th/wp-content/uploads/2014/06)

(๗.http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re4.htm)

หมายเลขบันทึก: 584555เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2015 13:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มกราคม 2015 13:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท