ทำไมคนไทยไม่เก่งภาษาอังกฤษ มองผ่านพม่า


ภาพ: ตราสัญลักษณ์พม่า (เมียนมาร์)

ของแท้ต้องมี "ซินเต้" หรือ สิงห์หันหน้าออก 2 ข้าง

แผนที่พม่า มีรูปคล้ายว่าวลอยลม พร้อมด้ายหรือเชือก

.

พม่า ไม่ได้อยู่ทางตะวันตกของไทย

ทว่า... อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือ และอยู่สูง (ใกล้ขั้วโลก) มากกว่า

ทางเหนือพม่า ติดเขตธิเบตของจีน และ มีหิมะตกด้วย

บางที... เรา อาจจะได้ไปเล่นสกี และ เรียนภาษาอังกฤษกันที่นั่น

.

ภาพ: ธงยุคอาณานิคมอังกฤษ

นกยูง เป็นสัญลักษณ์ของพม่า

น่าจะมาจากตำนานทางพระพุทธศาสนา

.

นกยูง = มยุรา (Maurya) เป็นวงศ์ของพระเจ้าจันทรคุปต์

ต้นวงศ์ ของพระเจ้าอโศกมหาราช

ผู้เผยแพร่พระพุทธศาสนาไปทั่วชมพูทวีป (เอเชียใต้) และอาเซียน

.

ถ้าอินเตอร์เน็ตของท่านเร็วพอ

ขอเสนอให้เปิดเสียงวิทยุออนไลน์ต้นฉบับ เบาๆ ไป, อ่านไป

คลิกที่นี่ แล้วอ่านต่อเลย

http://www.pri.org/stories/2012-03-08/rush-learn-english-myanmar

.

ถ้าฟังดีๆ จะพบเสียงนักเรียนพูดอังกฤษชัด... น้องๆ BBC!

ไม่แน่... ต่อไป คนไทยอาจจะไปเรียนภาษาอังกฤษ ที่พม่า

.......................................

สำนักข่าว PRI รายงานว่า

เด็กพม่า กำลังแข่งกันเรียนภาษาอังกฤษ

มีการสัมภาษณ์วัยรุ่น ที่กล่าวถึง อนาคตของพม่า

ฟังแล้วตกใจ...

ต้องฟังเสียง (วิทยุออนไลน์) ใหม่อีก 4 รอบ!

.

พม่าพ้นจากการปกครองของอังกฤษในปี 1948/2491

ตอนนั้น... พม่าเป็น 1 ใน 2 ประเทศดาวรุ่ง

การศึกษา และ ฐานะเฉลี่ย ดีที่สุดในอาเซียน

อีกประเทศดาวรุ่งตอนนั้น คือ ฟิลิปปินส์

...................................................

เวลาผ่านไป 66 ปี

เทียบเท่าคน 2-3 ชั่วอายุคน

ตอนนี้ พม่าเป็น 1 ในประเทศยากจนที่สุด

.

ทว่า... "กลับหลังหัน"

หรือ พลิกฟื้นประเทศได้ เร็วที่สุด ใน 3-4 ปีที่ผ่านมา

เรื่องจากสถานีวิทยุออนไลน์ PRI มีอย่างนี้

.......................................................

คลาสส์ (ชั้นเรียน) ภาษาอังกฤษ "มยา จ่าย (Mya Kyaing)"

อยู่ใกล้ถนนที่เต็มไปด้วยฝุ่น ร้านชา

ที่นั่น... นักเรียน 500 คน

นั่งเก้าอี้หัวโล้น (ไม่มีพนักพิง)

เรียนกันทั้งวัน

.

หนังสือเรียนยอดนิยม คือ

"ปัจจัยหลักแห่งความร่ำรวย (The Master Key to Riches)"

ของ นโปเลียน ฮิลล์, ฉบับปี 1956/2499

.....................................................

พระที่เข้าเรียน 1 รูป บอกว่า

หนังสือเกี่ยวกับวิธีหาเงิน (Money Making)

ของ แอนดรูว์ คาร์เนกี้

ที่ อาจารย์ มยา จ่าย ใช้ในการสอน เข้าใจยาก

.

ทว่า... อ.มยา จ่าย วัย 53 ปี

อดีตผู้ช่วยทูตทหาร (military attaché) ที่หนีเหตุการณ์ ปฏิวัตินองเลือด 1988/2531

เข้าไปทำงานในอินเดีย ช่วง late 80s-early 90s = 1985-1994/2528-2537

เชื่อว่า

........................................................

คนพม่าอายุน้อยๆ จะต้องอ่านหนังสือแบบนี้

จะได้รู้จักโลก รู้จักธุรกิจ

ค่าเล่าเรียนที่นั่น 4 ดอลลาร์ฯ/เดือน

= 130.5 บาท/เดือน

จะเรียนกี่ชั้นก็ได้ เพราะสอนต่อกัน แทบทั้งวัน

.

มโย มยิต์ อ่อง วัย 21 ปี บอกว่า

เขาเป็นนักเรียน ที่ขี้เกียจหน่อย

แต่พอเข้าชั้นเรียนหลายๆ ครั้ง

ครูก็บอกเขาว่า แบบนี้ใช้ได้ ดีขึ้นเรื่อยๆ

...................................................

โรงเรียนในพม่าสอนภาษาอังกฤษ ตั้งแต่อนุบาล

แต่ มโย มยิต์ อ่อง บอกว่า

(ในโรงเรียน) แทบจะจับหลักอะไรไม่ได้เลย

ต้องเรียนพิเศษข้างนอก (จึงจะได้ผล)

.

คุณ นาย ขิ่น เลย์, วิศวกรวัย 28 ปี บอกว่า

เธอไปเรียนภาษาอังกฤษ

เพราะ อายที่ยังเก่งไม่พอ

.....................................................

เธอว่า ภาษาอังกฤษ จำเป็นสำหรับวิชาชีพหลายอย่าง

พม่า ไม่เหมือนประเทศ ไทยและญี่ปุ่น

ที่นั่น มีการแปลตำราเป็นภาษาท้องถิ่นมาก

ประเทศเรา (พม่า) ต้องเรียนทุกอย่าง

.

เช่น วิศวกรรม แพทย์ จากสื่อภาษาอังกฤษ

ถ้าคุณไม่รู้ภาษาอังกฤษ,

คุณ จะไม่มีทางเป็นผู้เชี่ยวชาญ ไม่ว่าจะสาขาใด

.....................................................

เธอก็เหมือนกับ ชาวพม่าอายุน้อยอีกมากมาย

ที่รู้สึกอาย และ "ทนไม่เก่ง" ต่อไปไม่ได้ (อีกต่อไป)

จึง ต้องเข้าเรียน ติวภาษาอังกฤษ

.

ผู้สื่อข่าว PRI พาไปชมชั้นเรียนภาษาอังกฤษอีกแห่ง

ของ องค์การไม่แสวงหากำไร (non-profit organization / NGO)

คือ เมียนมาร์ อีเกรสส์ (Myanmar Egress) ในย่างกุ้ง

ที่นั่น มีคนเรียนน้อยกว่าที่แรก (ไม่ถึง 500)

.....................................................

อาจารย์ ล่า ล่า วิน (Hla Hla Win; เสียง "ล่า" ย้ำเสียงหนัก)

หัวหน้าแผนกภาษาอังกฤษบอกว่า

เราต้อง ให้การศึกษาหลายอย่าง

เพื่อให้ การศึกษานั้น เป็นพลัง ขับเคลื่อนพม่า

.

เธอเล่าว่า ตอนก่อตั้งกลุ่ม NGO ปี 2006/2549

ฝ่ายทหารไม่ค่อยไว้ใจ

ส่งสายลับเข้าไปเรียน จดบันทึก อัดเทป

และ ทำรายงาน

.....................................................

แต่ไปๆ มาๆ กลายส่งคนเข้ามาเรียนเพิ่ม

ตอนนี้ มีตำรวจ ข้าราชการพลเรือนมาเรียนด้วย

อ.ล่า ล่า วิน บอกว่า

ทางกลุ่ม จะพยายามขับเคลื่อนพม่า

ให้เป็น "ผู้นำทางการศึกษาในอาเซียน" ให้ได้

.

ฉันไม่ต้องการแข่งด้าน การท่องเที่ยว กับไทย

ไม่แข่งเรื่อง โรงงานอุตสาหกรรม กับจีน

ไม่แข่งเรื่อง เอาท์ซอร์ส กับอินเดีย

.....................................................

(outsource/outsourcing = การรับจ้างทำงานนอกหน่วยงาน

เช่น อินเดีย รับจ้างเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

รับเป็นโอเปอเรเตอร์ หรือ ปรึกษาผ่านโทรศัพท์)

.

แต่ เราจะขับเคลื่อนประเทศไปเป็น ฮับด้านการศึกษา

คล้ายกับที่เป็นมาแล้วในยุค 1950s = 1950-1959/2493-2502

เรา (พม่า) มีจุดแข็งอยู่เหมือนกัน

ตอนนี้ นักศึกษาต่างชาติ ก็เข้ามาเรียนในพม่า มากขึ้น

.....................................................

ค่าเล่าเรียนหลักสูตรนานาชาติในพม่า ถูกกว่า

มีมาตรฐาน

ทว่า... ยังมีน้อยเกินไป

ถ้าทำให้ดี และมากพอ

พม่า ก็เป็น ฮับด้านการศึกษาได้

.

จากชั้นเรียนใหญ่ ของ อ.มยา จ่าย,

นักเรียน 2-3 คนบอกว่า

ประทับใจมาก

และ อยากเป็น ครูสอนภาษาอังกฤษ

.....................................................

มีคำกล่าวว่า

จะเก่งอะไรได้ ก็ต้องพยายาม

หรือ เรียน 10,000 ชั่วโมง ขึ้นไป

นิตยสาร อิระวดี สัมภาษณ์ วิธีเรียนภาษาอังกฤษของชาวพม่า

.

พบตรงกัน คือ

เรียนในห้อง ไม่รู้เรื่อง

ต้องไปเรียนพิเศษ หรือ ติวกันข้างนอก

.....................................................

ในเรื่อง วัยรุ่น 3 คน ไปเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ

ชั้นเรียนสอนวันละ 2 ชั่วโมง ทุกวัน

ถ้าจะให้ครบ 10,000 ชั่วโมง

จะต้องเรียน = 10,000/2 = 5,000 วัน

หรือ = 10,000/365 = 27.4 ปี

.

ชาวพม่า เรียนภาษาอังกฤษอย่างไร

อย่างแรก คือ เรียนภาษาอะไร

ให้ตั้งชื่อเล่นเป็นภาษานั้นๆ

เช่น เฮนรี่ ลิลลี่ เบบี้... ว่ากันไป

.....................................................

ต่อไป คือ ตกลงกันว่า ช่วงไหนจะไม่พูดภาษาเดิมเลย

พูดแต่อังกฤษ และ วาดภาพอธิบาย หรือ ใช้ภาษาใบ้ได้

วัยรุ่นกลุ่มนี้ นัดคุยกันเป็นภาษาอังกฤษ = 3 ชั่วโมง/วัน

และ นัดฟังข่าวที่ฟังค่อนข้างง่าย คือ BBC = 1 ชั่วโมง/วัน

.

รวมแล้ว...

เรียน 2 + คุยกัน 3 + ฟังข่าว 1 = 5 ชั่วโมง/วัน

ถ้าจะให้ครบ 10,000 ชั่วโมง = 10,000/5 = 2,000 วัน

หรือคิดเป็นปี = 10,000/365 = 5.48 ปี = 5.5 ปี

.....................................................

เรื่องนี้บอกอะไรเรา

ถ้า เรียนภาษาอังกฤษ 2 ชั่วโมง/วัน = เก่งใน 27.4 ปี

ถ้า เรียนแบบพม่า 5 ชั่วโมง/วัน ขึ้นไป = เก่งใน 5.5 ปี

.

ผู้จัดการโรงแรมแห่งหนึ่ง ที่เกาะสมุย ให้สัมภาษณ์ไทยรัฐ นานแล้วว่า

แม้แต่คนที่เก่งแล้ว

ก็ "ต้องฟัง และพูด" อังกฤษให้ได้ อย่างน้อยทุกสัปดาห์

.....................................................

ถ้าไม่มีโอกาสพูดจริงๆ "ต้องอ่านออกเสียง" ข่าวภาษาอังกฤษ

อ่านดังๆ ชัดๆ แบบผู้ประกาศข่าว

อย่างน้อย 1 หน้ากระดาษ ทุกสัปดาห์

ซึ่ง วิธีที่ดีมาก คือ อัดเสียง แล้วฟังซ้ำ

เพื่อ จะได้ทำให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ

.

มีคำกล่าวว่า

ภาษา เป็นเรื่องของ "คนอึด"

ถ้าไม่ใช่คนที่อยู่เมืองนอกแล้ว

ส่วนใหญ่ต้องทนให้ได้ 10,000 ชั่วโมง

.....................................................

อย่าลืมว่า...

ถ้า เรียน 2 ชั่วโมง/วัน = เก่งใน 27.4 ปี

ถ้า เรียนแบบพม่า 5 ชั่วโมง/วัน ขึ้นไป = เก่งใน 5.5 ปี

.

คุณอาจจะเรียนเร็วกว่านี้ ก็ได้

ถ้า... คุณฝันเป็นภาษาอังกฤษตั้งแต่แรก!

ขอให้ท่าน "ฝันให้ไกล... และ ไปให้ถึง"

.

เรียนมาด้วยความเคารพ

ถึงตรงนี้... ขอให้ทุกๆ ท่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...............................................................................................................

From > http://www.pri.org/stories/2012-03-08/rush-learn-english-myanmar

หนังสือที่ อ.มยา จ่าย แนะนำให้ลูกศิษย์ในเรื่องอ่าน คือ

"The World Famous Philosophy of Personal Achievement based on the Andrew Carnegie Formula for Money Making."

From > http://en.wikipedia.org/wiki/Ancestry_of_Chandragupta_Maurya

หมายเลขบันทึก: 584392เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2015 23:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มกราคม 2015 23:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมเห็นด้วยว่า พม่า กำลังพัฒนามากๆ โดยเฉพาะการพัฒนาคนครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท