แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง


ผังมโนทัศน์การบูรณาการภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5หน่วยการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง








ภาพที่5ผังมโนทัศน์ หน่วยการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

รวมพลังพอเพียง

ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้

สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์

มาตรฐาน ส 4.1.2, ส 4.2.2, ส 4.2.3, ส 4.3.2, ส 4.3.3

Oval: เศรษฐกิจพอเพียง

ผังมโนทัศน์หน่วยการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5




Text Box: การนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับครอบครัว Text Box: ทฤษฎีใหม่กับเกษตรกรไทยOval: Oval: เศรษฐกิจพอเพียงOval: Text Box: ตัวฉันกับเศรษฐกิจพอเพียงOval: Text Box: รวมพลังสหกรณ์ Oval: Oval: Text Box: ภูมิปัญญาท้องถิ่นOval: Oval: Text Box: การนำทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนมาใช้อย่างสมดุล Oval: Text Box: ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมOval:


การบูรณาการหน่วยการเรียนรู้กับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม

หน่วยการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

แผนการจัด

การเรียนรู้ที่

เนื้อหา

สาระ

ที่นำมาบูรณาการ

การบูรณาการ

กับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

1

เศรษฐกิจพอเพียง

- ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง

- ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

- ความเป็นมาของเศรษฐกิจพอเพียง

สาระที่ 1 (ส 1.3.1)

สาระที่ 2(ส 2.1.2)

สาระที่ 3(ส 3.1.4)

สาระที่ 4(ส 4.3.3)

สาระที่ 3(ส 5.2.3)

1.ความพอประมาณ

สำรวจตนเองว่ามีศักยภาพความสามารถด้านใดฐานะการเงินเป็นอย่างไรอยู่ในภูมิสังคมอย่างไรเพื่อที่จะได้ประมาณตนก่อนที่จะทำอะไร

2.ความมีเหตุผล

รู้ว่าการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทำให้ตนเองและครอบครัวมีความสุขและไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือยใช้จ่ายและดำรงชีวิตด้วยความระมัดระวังจะได้ไม่เดือดร้อนภายหลัง

3.การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

เห็นความสำคัญและการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต รู้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงและดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข

4.เงื่อนไขความรู้

รู้ความหมาย ความสำคัญหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงรู้วิธีปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

5.เงื่อนไขคุณธรรม

ความมีวินัยการพึ่งตนเองความขยันหมั่นเพียรและความรับผิดชอบต่อหน้าที่และงานตามที่ได้รับมอบหมาย

แผนการจัด

การเรียนรู้ที่

เนื้อหา

สาระ

ที่นำมาบูรณาการ

การบูรณาการ

กับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

2

ทฤษฎีใหม่กับเกษตรกรไทย

- แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงทฤษฎีใหม่

- แนวทางการดำเนินงานตามทฤษฎีใหม่

- ประโยชน์ของการดำเนินชีวิตตามแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่

สาระที่ 1(ส 1.3.1)

สาระที่ 2(ส 2.1.2)

สาระที่ 3(ส 3.1.4)

สาระที่ 4(ส 4.3.3)

สาระที่ 5(ส 5.2.3)

1.ความพอประมาณ

สำรวจตนเองว่ามีความรู้เรื่องแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงทฤษฎีใหม่เพื่อเป็นการประมาณตน

2.ความมีเหตุผล

รู้ว่าการปฏิบัติตนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงทฤษฎีใหม่จะช่วยให้ประหยัดเลี้ยงตนเองได้และพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

3. การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

เห็นความสำคัญของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงทฤษฎีใหม่

4.เงื่อนไขความรู้

มีความรู้เกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงทฤษฎีใหม่แนวทางการดำเนินงานตามทฤษฎีใหม่และประโยชน์ของการดำเนินชีวิตตามแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่

5.เงื่อนไขคุณธรรม

ความมีวินัยการพึ่งตนเองความขยันหมั่นเพียรและการรู้จักช่วยเหลือผู้อื่น

แผนการจัด

การเรียนรู้ที่

เนื้อหา

สาระ

ที่นำมาบูรณาการ

การบูรณาการ

กับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

3

ทรัพยากร

ธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อม

- ความหมายประเภทและประโยชน์

ของสิ่งแวดล้อม

- ความหมายประเภทและประโยชน์

ของทรัพยากร

ธรรมชาติ

สาระที่ 1(ส 1.3.1)

สาระที่ 3(ส 3.1.4)

สาระที่ 5(ส 5.1.1,

ส 5.2.3)

1.ความพอประมาณ

สำรวจทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติในชุมชนของตนเองมีความพอประมาณในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้เหมาะสมกับตนเอง

2. ความมีเหตุผล

คำนึงถึงความจำเป็นและประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพและสูงสุด

3. การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัดตลอดจนช่วยกันอนุรักษ์และดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมจะทำให้มีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดีในอนาคต

4.เงื่อนไขความรู้

ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแนวทางการแก้ปัญหาในเรื่องของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเมื่อจะนำทรัพยากรต่าง ๆเช่นพลังงาน ฯลฯมาใช้ให้รอบคอบ คุ้มค่าและไม่ทำลาย

5.เงื่อนไขคุณธรรม

มีความตระหนักในการร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อม(การใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต)ความสามัคคีและการมีจิตสาธารณะ

แผนการจัด

การเรียนรู้ที่

เนื้อหา

สาระ

ที่นำมาบูรณาการ

การบูรณาการ

กับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

4

การนำทรัพยากร

ธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อม

ในชุมชนมาใช้อย่างสมดุล

- ลักษณะการใช้ทรัพยากร

ธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อม

ในชุมชน

- การอนุรักษ์ทรัพยากร

ธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อม

สาระที่ 3(ส 3.1.4)

สาระที่ 5(ส 5.1.1,

ส 5.2.3, 5.2.4)

1.ความพอประมาณ

สำรวจการนำทรัพยากรอย่าง

ประหยัดและคุ้มค่าเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดรู้วิธีการรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนไม่ให้เสื่อมโทรมก่อนถึงเวลาอันสมควร

2.ความมีเหตุผล

รู้จักใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่าทำให้ใช้ทรัพยากรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุดและรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนเพื่อให้เกิดความสมดุลตามธรรมชาติ

3.การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

ใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าเกิดประโยชน์สูงสุดและรู้จักวิธีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติ

4.เงื่อนไขความรู้

รู้จักการใช้ทรัพยากรและการรักษาสิ่งแวดล้อมตามแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง

5.เงื่อนไขคุณธรรม

มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และประหยัด

แผนการจัด

การเรียนรู้ที่

เนื้อหา

สาระ

ที่นำมาบูรณาการ

การบูรณาการ

กับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

5

ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้

- การใช้จ่ายในครอบครัว

- แนวทางการใช้จ่ายให้สมดุล

- รายได้ประจำ - รายได้เสริม

สาระที่ 1(ส 1.3.3)

สาระที่ 3(ส 3.1.4)

1. ความพอประมาณ

รู้สภาพรายได้และรายจ่ายครอบครัวของตนเองเพื่อที่จะรู้จักพอประมาณในการใช้จ่ายให้เพียงพออย่างเหมาะสมกับฐานะของตนเอง

2.ความมีเหตุผล

1) นักเรียนรู้จักใช้จ่ายอย่างพอประมาณเกิดความมั่นคงยั่งยืนในการดำเนินชีวิตตามฐานะของตนเอง

2) นักเรียนหาแนวทางเพิ่มรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวเพื่อป้องกันภาวะรายจ่ายเกินรายได้

3.การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

1) นักเรียนรู้จักและเห็นคุณค่าของการใช้จ่ายอย่างพอประมาณเหมาะสมกับฐานะของตนเอง

2) นักเรียนรู้แนวทางเพิ่มรายได้เพื่อเป็นการป้องกันภาวะรายจ่ายเกินรายได้ภายในครอบครัว

4.เงื่อนไขความรู้

ใช้จ่ายเงินอย่างพอประมาณเหมาะสมกับฐานะของตนเองและหาวิธีเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว

5.เงื่อนไขคุณธรรม

มีความซื่อสัตย์ความขยันหมั่นเพียรประหยัดและอดออม

แผนการจัด

การเรียนรู้ที่

เนื้อหา

สาระ

ที่นำมาบูรณาการ

การบูรณาการ

กับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

6

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

- ประเภทของ

ภูมิปัญญา

- ความหมาย

ของภูมิปัญญา

- การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

สาระที่ 1(ส 1.2.1,

ส 1.2.2)

สาระที่ 3(ส 3.1.4)

สาระที่ 4(ส 4.2.2, 4.2.3, 4.3.2, 4.3.3)

1. ความพอประมาณ

รู้จักสภาพภูมิปัญญาในท้องถิ่นของตนที่มีผลงานและมีคุณธรรมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

2.ความมีเหตุผล

รู้แนวทางในการปฏิบัติตนของภูมิปัญญาในท้องถิ่นตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงทำให้บุคคลนั้นประสบความสำเร็จและสร้างชุมชนให้เข้มแข็งขึ้น

3.การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

รู้ด้วยตนเองว่าภูมิปัญญาช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเพิ่มรายได้แก่ชุมชนได้ทำให้ชุมชนเข้มแข็งเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนอีกทั้งเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

4.เงื่อนไขความรู้

ความคิดและแนวปฏิบัติของภูมิปัญญาในท้องถิ่น

5.เงื่อนไขคุณธรรม

ความขยันหมั่นเพียรการรู้จักช่วยเหลือแบ่งปันความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

แผนการจัด

การเรียนรู้ที่

เนื้อหา

สาระ

ที่นำมาบูรณาการ

การบูรณาการ

กับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

7

ตลาดนัดเศรษฐกิจพอเพียง

- ความหมายของตลาด

- องค์ประกอบของตลาด

- หน้าที่ของตลาด

- ประเภทของตลาด

สาระที่ 1(ส 1.3.1)

สาระที่ 2(ส 2.1.3)

สาระที่ 3(ส 3.1.4, 3.2.2)

1. ความพอประมาณ

การขายสินค้าโดยเอากำไรแต่พอควรไม่เอารัดเอาเปรียบต่อผู้บริโภครวมถึงการใช้จ่ายที่จำเป็นเป็นสิ่งที่ผู้ขายและผู้ซื้อควรกระทำ

2.ความมีเหตุผล

ควรเลือกซื้อสินค้าที่จำเป็นและเลือกใช้ทรัพยากรที่ผลิตได้ในท้องถิ่นเป็นการสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์ความเป็นไทย

3.การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

รู้จักเลือกสินค้าอุปโภคและบริโภคที่ได้มาตรฐานตลอดจนการมีเงินออม

4.เงื่อนไขความรู้

-ความหมายของตลาด

-องค์ประกอบของตลาด

-ประเภทของตลาด

-มีความรู้ด้านการวางแผนในการทำงานและการวางแผนในการผลิตสินค้าเพื่อจำหน่าย

5.เงื่อนไขคุณธรรม

ความซื่อสัตย์ต่อผู้บริโภคในฐานะผู้ขายและการมีความสามัคคีในการทำงานเป็นกลุ่มเป็นการสร้างความรับผิดชอบต่อตนเอง

แผนการจัด

การเรียนรู้ที่

เนื้อหา

สาระ

ที่นำมาบูรณาการ

การบูรณาการ

กับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

8

สถาบันการเงิน

- ความหมายของสถาบันการเงิน

- บทบาทธนาคารในระดับจังหวัด

สาระที่ 3(ส 3.1.2,

ส 3.1.4, ส 3.2.3)

สาระที่ 3 (ส 4.1.2)

1. ความพอประมาณ

ตรวจสอบความรู้ในเรื่องสถาบันการเงินสถาบันการเงินในชุมชนว่ามีความรู้มากน้อยเพียงใด

2.ความมีเหตุผล

ประโยชน์ที่จะได้รับจากการออมเงิน

3.การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากการใช้บริการสถาบันการเงิน

4.เงื่อนไขความรู้

ความหมายความสำคัญบทบาทและหน้าที่ของสถาบันการเงิน

5.เงื่อนไขคุณธรรม

ความซื่อสัตย์คุณธรรมจริยธรรม

9

รวมพลังสหกรณ์

- ความหมาย

ของสหกรณ์

- วัตถุประสงค์ของสหกรณ์

- หลักการสหกรณ์

สาระที่ 3(ส 3.1.4, 3.1.5)

สาระที่ 4(ส 4.1.2, ส 4.3.3)

1.ความพอประมาณ

สำรวจวิธีการดำเนินงานของสหกรณ์ต่าง ๆตามความเหมาะสม

2.ความมีเหตุผล

สหกรณ์เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการช่วยเหลือสมาชิกและไม่แสวงกำไร

3.การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

รู้จักพึ่งพาตนเองและเอื้ออาทรผู้อื่น

4.เงื่อนไขความรู้

รู้และเข้าใจระบบและวิธีการของสหกรณ์

5.เงื่อนไขคุณธรรม

ความซื่อสัตย์การประหยัดและการอดออม

แผนการจัด

การเรียนรู้ที่

เนื้อหา

สาระ

ที่นำมาบูรณาการ

การบูรณาการ

กับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

10

คุณธรรมนำชีวิตพอเพียง

- ความเพียร

- ความซื่อสัตย์สุจริต

สาระที่ 1(ส 1.2.1,

ส 1.3.1)

สาระที่ 2(ส 2.1.1)

สาระที่ 3(ส 3.1.4)

1.ความพอประมาณ

สำรวจรวบรวมผู้ที่เป็นแบบอย่างด้านความเพียรความซื่อสัตย์สุจริตหรือผู้ที่มีคุณธรรมในชุมชน

2.ความมีเหตุผล

เพื่อนำไปเป็นแบบอย่างและยกย่องคุณงามความดีให้เป็นเกียรติประวัติสืบไป

3.การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

คนดีสังคมดีส่งผลให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรือง

4.เงื่อนไขความรู้

รู้และเข้าใจเรื่องราวของบุคคลที่เป็นแบบอย่างด้านความเพียรความซื่อสัตย์สุจริตหรือผู้ที่มีคุณธรรมในชุมชน

5.เงื่อนไขคุณธรรม

ความเพียรความซื่อสัตย์สุจริตคุณธรรม

แผนการจัด

การเรียนรู้ที่

เนื้อหา

สาระ

ที่นำมาบูรณาการ

การบูรณาการ

กับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

11

ตัวฉันกับเศรษฐกิจพอเพียง

- การนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้

- การนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับตนเอง

สาระที่ 1(ส 1.3.1)

สาระที่ 2(ส 2.1.1,

ส 2.1.2)

สาระที่ 3(ส 3.1.4)

1. ความพอประมาณ

สำรวจแนวทางการนำเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของตนเอง

2.ความมีเหตุผล

นำเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองได้อย่างเหมาะสม

3.การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

หากนำเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองได้อย่างเหมาะสมจะทำให้เรารู้จักการประหยัดไม่ฟุ้งเฟ้อลดความฟุ่มเฟือยรู้จักตัดทอนรายจ่ายที่ไม่จำเป็นใช้จ่ายในสิ่งที่เป็นประโยชน์และมีความจำเป็นต่อการดำรงชีพได้

4.เงื่อนไขความรู้

รู้และเข้าใจแนวทางการนำเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของตนเอง

5.เงื่อนไขคุณธรรม

รู้จักประหยัดไม่ฟุ้งเฟ้อลดความฟุ่มเฟือยมีความเพียรและมีความซื่อสัตย์สุจริต

แผนการจัด

การเรียนรู้ที่

เนื้อหา

สาระ

ที่นำมาบูรณาการ

การบูรณาการ

กับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

12

การนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับครอบครัว

- การนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับครอบครัว

สาระที่ 1(ส 1.3.1)

สาระที่ 2(ส 2.1.1,

ส 2.1.2)

สาระที่ 3(ส 3.1.4)

1. ความพอประมาณ

สำรวจแนวทางการนำเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้กับครอบครัว

2.ความมีเหตุผล

นำเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้กับครอบครัวของตนเองได้อย่างเหมาะสม

3.การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

หากนำเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้กับครอบครัวได้อย่างเหมาะสมจะทำให้คอบครัวและทุกคนในครอบครัวเรารู้จักการประหยัดไม่ฟุ้งเฟ้อลดความฟุ่มเฟือยรู้จักตัดทอนรายจ่ายที่ไม่จำเป็นใช้จ่ายในสิ่งที่เป็นประโยชน์และมีความจำเป็นต่อการดำรงชีพและส่งผลให้ครอบครัวมีความสุข

4.เงื่อนไขความรู้

รู้และเข้าใจแนวทางการนำเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้กับครอบครัว

5.เงื่อนไขคุณธรรม

รู้จักประหยัดไม่ฟุ้งเฟ้อลดความฟุ่มเฟือยมีความเพียรและมีความซื่อสัตย์สุจริตการช่วยเหลือซึ่งกันและกันความร่วมมือ



แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 12


กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

หน่วยการเรียนรู้ที่7เศรษฐกิจพอเพียงเวลา24ชั่วโมง

เรื่องการนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับครอบครัว เวลา2ชั่วโมง

สอนวันที่18เดือนกุมภาพันธ์พ.ศ.2553ถึงวันที่24เดือนกุมภาพันธ์พ.ศ.2553


1.สาระสำคัญ

ครอบครัว เป็นสถาบันพื้นฐานของสังคมประกอบด้วยสามีภรรยารวมถึงลูกด้วยแต่ละครอบครัวอาจมีสมาชิกมากน้อยไม่เท่ากันครอบครัวที่มีสมาชิกมากอาจมีรายจ่ายมากกว่าครอบครัวที่มีสมาชิกน้อยกว่าเพราะทุกคนต่างมีรายจ่ายในการดำรงชีพทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นค่าอาหาร ค่าเสื้อผ้าค่าของใช้ที่จำเป็นค่าผ่อนบ้าน ฯลฯรายจ่ายของแต่ละครอบครัวมีมากมายขณะที่รายได้มีจำกัดดังนั้นเราต้องมีการจัดสรรรายได้และรายจ่ายของครอบครัวของเราให้สมดุลกัน

2.มาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ 1ศาสนาศีลธรรมจริยธรรม

มาตรฐาน ส 1.3.1รู้และปฏิบัติตนตามหลักศีลธรรมจริยธรรมค่านิยมที่ดีงามหลักธรรมทางศาสนาที่ตนนับถือในเรื่องที่เกี่ยวกับตนเองกลุ่มสังคมที่ตนเป็นสมาชิกและสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวชุมชนและประเทศชาติเพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

สาระที่ 2หน้าที่พลเมืองวัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม

มาตรฐาน ส 2.1.1ภูมิใจและชื่นชมในความเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยของตนเองและบุคคลอื่นในระดับกลุ่มสังคมท้องถิ่นและประเทศชาติ

มาตรฐาน ส 2.1.2ตระหนักถึงสถานภาพบทบาทสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ในฐานะพลเมืองดีในท้องถิ่นและประเทศรวมทั้งเข้าใจในเรื่องสิทธิเด็กเพื่อคุ้มครองปกป้องตนเองและผู้อื่นตลอดจนปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองครอบครัวและชุมชน

สาระที่ 3เศรษฐศาสตร์

มาตรฐาน ส 3.1.4 เข้าใจระบบและวิธีการของเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

3.ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

ประยุกต์ใช้แนวคิดของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการทำกิจกรรมต่าง ๆในครอบครัวโรงเรียนและชุมชน

4.จุดประสงค์การเรียนรู้

เมื่อนักเรียนเรียนเรื่องการนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับครอบครัวแล้วนักเรียนสามารถ

1.บอกแนวทางในการนำเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้กับครอบครัวได้

2.นำเสนอข้อมูลการนำเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้กับครอบครัวได้

3.เห็นคุณค่าและความสำคัญของการนำเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้กับครอบครัว

5.สาระการเรียนรู้

การนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับครอบครัว

ครอบครัวเป็นสถาบันพื้นฐานของสังคมประกอบด้วยสามีภรรยารวมถึงลูกด้วยแต่ละครอบครัวอาจมีสมาชิกมากน้อยไม่เท่ากันครอบครัวที่มีสมาชิกมากอาจมีรายจ่ายมากกว่าครอบครัวที่มีสมาชิกน้อยกว่าเพราะทุกคนต่างมีรายจ่ายในการดำรงชีพทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นค่าอาหาร ค่าเสื้อผ้าค่าของใช้ที่จำเป็นค่าผ่อนบ้าน ฯลฯรายจ่ายของแต่ละครอบครัวมีมากมายขณะที่รายได้มีจำกัดดังนั้นเราต้องมีการจัดสรรรายได้และรายจ่ายของครอบครัวเราให้สมดุลกัน

แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่เราจะสามารถนำมาใช้เป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิตประจำวันของครอบครัวของเราได้การดำเนินชีวิตตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสามารถทำได้หลายแนวทางเช่น

1.การรู้จักใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นและมีประโยชน์ต่อครอบครัวการใช้จ่ายควรจะยึดหลักพออยู่พอกินพอใช้ก่อนที่จะซื้อสิ่งของเครื่องใช้จะต้องพิจารณาให้ละเอียดรอบคอบก่อนว่าสิ่งที่จะซื้อนั้นมีประโยชน์และมีความจำเป็นต่อเราและครอบครัวมากน้อยเพียงใดหากคิดว่ามีความจำเป็นและมีประโยชน์จึงซื้อวิธีการซื้อจะต้องซื้อในปริมาณที่พอเหมาะไม่ซื้อมากเกินความจำเป็นเช่นเราจะซื้ออาหารก็ควรซื้ออาหารที่มีประโยชน์ซื้อในปริมาณที่พอดีไม่ควรซื้ออาหารมากเกินกว่าที่จะรับประทานหมดจนเหลือทิ้งเราควรจะประกอบอาหารรับประทานเองที่บ้านการออกไปรับประทานอาหารตามร้านอาหารราคาแพงเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายควรจะออกไปรับประทานอาหารตามร้านอาหารราคาแพงในบางโอกาสเท่านั้น

2. การใช้จ่ายด้วยเงินที่เก็บสะสม หากต้องการซื้อสินค้าที่มีราคาสูงกว่ารายได้ที่ได้รับเราต้องรู้จักเก็บสะสมและแบ่งเงินบางส่วนไว้สำหรับใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นหรือต้องการเช่นมีรายได้ เดือนละ 8,500 บาทแต่ต้องการซื้อเครื่องปรับอากาศราคา 18,000 บาทก็ต้องเก็บสะสมเงินไว้หากเก็บเงินได้ครบเมื่อไรค่อยนำไปซื้อเป็นต้นไม่ควรซื้อสินค้าเงินผ่อนที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราสูงหรือไปกู้ยืมผู้อื่นมาซื้อซึ่งจะต้องจ่ายดอกเบี้ยและทำให้เรามีหนี้สิน

3.การใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศไทยและมีวัตถุดิบอยู่ในประเทศสินค้าบางประเภทมีทั้ง

สินค้าที่ผลิตในประเทศและสินค้าที่ผลิตจากต่างประเทศคนส่วนหนึ่งหลงเชื่อว่าสินค้าที่ผลิตจากต่างประเทศที่มีราคาแพงกว่าจะมีคุณภาพดีกว่าสินค้าที่ผลิตในประเทศซึ่งความจริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่สินค้าต่าง ๆทั้งสินค้าอุปโภคบริโภคยารักษาโรคที่ผลิตในประเทศส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่มีคุณภาพมีการรับรองคุณภาพจากหน่วยงานของรัฐเพียงแต่เราต้องรู้จักพิจารณาเลือกใช้ให้เป็นก็จะได้สินค้าที่มีคุณภาพราคาเหมาะสมเราจึงควรซื้อสินค้าที่ผลิตในประเทศการใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศเป็นการประหยัดและลดค่าใช้จ่ายได้มากเนื่องจากสินค้าที่ผลิตในประเทศไม่ต้องเสียค่าภาษีนำเข้าทำให้เราได้ใช้สินค้าที่มีราคาไม่แพงและยังเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมคนไทยด้วยกันอีกด้วย

4. การรู้จักลงทุนในสิ่งที่มีประโยชน์และได้ความรู้อาจเป็นการลงทุนที่เป็นงานประจำ หรือเป็นการลงทุนเพื่อหารายได้เสริมเช่นการปลูกพืชผักสวนครัวการเลี้ยงปลาการทำสวนมะม่วงการทำไร่อ้อยการทำนาเป็นต้น

6.กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นนำ

1.นักเรียนเล่นเกม"ครอบครัวสุขสันต์"โดยครูให้นักเรียนสมมติว่าทุกคนเป็นสมาชิก

ในครอบครัวเดียวกันซึ่งจะต้องช่วยเหลือกันดูแลกันร่วมมือกันในทุก ๆ เรื่องแล้วนักเรียนทุกคนออกมายืนบนกระดาษหนังสือพิมพ์ 1 แผ่นให้ได้ครบทุกคนจากนั้นครูพับครึ่งอีกให้นักเรียนยืนบนกระดาษให้ได้ครบทุกคนอีกแล้วครูพับครึ่งหนึ่งอีกครั้ง (ขนาดของหนังสือพิมพ์จะเล็กลงอีก)และให้นักเรียนยืนบนกระดาษให้ได้ครบทุกคน

2. ครูใช้คำถามถามนักเรียนเกี่ยวกับเกม"ครอบครัวสุขสันต์"เพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการร่วมมือร่วมใจกันของครอบครัวว่าจะเกิดผลดีต่อครอบครัวอย่างไร

3.นักเรียนอ่านจุดประสงค์การเรียนรู้เรื่องการนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับครอบครัวพร้อมกันโดยครูติดแถบประโยคจุดประสงค์การเรียนรู้บนกระดาน

4.ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับจุดประสงค์การเรียนรู้ในด้านเนื้อหาขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รวมทั้งกระบวนการวัดผลและประเมินผลในประเด็นที่จะประเมินวิธีการประเมินเครื่องมือวัดและประเมินและเกณฑ์การวัดและประเมิน

5.นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนเรื่องการนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับครอบครัว

จำนวน 5 ข้อ

ขั้นให้ประสบการณ์

1. ครูแจกกระดาษรูปหัวใจสีขาวให้นักเรียนคนละ 1 แผ่นแล้วให้นักเรียนเขียนสิ่งที่นักเรียนสามารถทำให้รายรับของครอบครัวเพิ่มขึ้นและรายจ่ายของครอบครัวลดลงท่ามกลางสภาพสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบัน

2.นักเรียนแต่ละคนออกมาอ่านข้อความในหัวใจที่ตนเองเขียนให้เพื่อน ๆ ฟังแล้วนำไปแขวนบนต้นไม้ในกระถางที่ครูเตรียมไว้หน้าห้องเรียน

3.ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยและสรุปถึงสิ่งที่นักเรียนสามารถทำให้รายรับของครอบครัวเพิ่มขึ้นและรายจ่ายของครอบครัวลดลงตามที่นักเรียนและเพื่อน ๆ อ่าน

4. ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่มโดยแบ่งตามความสามารถของนักเรียนคือเก่งปานกลาง และอ่อนคละกันโดยยึดคะแนนจากสมุด ปพ.5ของภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552แล้วจัดโต๊ะนั่งเป็นกลุ่มเลือกประธานเลขานุการกรรมการผู้นำเสนองานตั้งชื่อกลุ่มโดยใช้กระบวนการประชาธิปไตยพร้อมส่งรายชื่อสมาชิกในกลุ่มให้ครูเพื่อแจ้งให้ทุกคนในห้องทราบ

5.ตัวแทนกลุ่มรับใบความรู้เรื่องการนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับครอบครัวสมาชิกในกลุ่มร่วมกันศึกษาใบความรู้ตามเวลาที่กำหนด

6.นักเรียนร่วมกันระดมความคิดตอบคำถามใบงานที่ 1ในประเด็นต่อไปนี้

-เราจะสามารถนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิตประจำวันของครอบครัวของเราได้หรือไม่เพราะอะไร

- การดำเนินชีวิตตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสามารถทำได้หลายแนวทางเช่นแนวทางใดบ้าง

-ประโยชน์ของการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของครอบครัวตนเอง

ใบงานที่ 2สมาชิกในกลุ่มร่วมกันใช้ความคิดสร้างสรรค์เขียนแผนผังความคิดในหัวข้อ"ประโยชน์ของการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับครอบครัว"

7.นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานกลุ่มของตนเองโดยส่งตัวแทนนำเสนอผลงานการอภิปรายและการคิดคำตอบของกลุ่มตนเองพร้อมส่งผลงานของกลุ่มในขั้นนี้นักเรียนจะได้ชื่นชมผลงานของกลุ่มตนเองและกลุ่มอื่นด้วย

8.ครูช่วยเติมเต็มส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์และให้เพื่อนต่างกลุ่มซักถามจนเข้าใจครบทุกกลุ่ม

ขั้นสรุป

1.นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายสรุปการนำเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้กับครอบครัวโดยทุกคนออกไปเขียนเป็นแผนผังความคิดบนกระดานในหัวข้อ"ครอบครัวของฉันกับเศรษฐกิจพอเพียง"

2.นักเรียนบันทึกสรุปเนื้อหาเรื่องการนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับครอบครัวที่ได้จากการเรียนครั้งนี้ลงในแบบบันทึกสรุปเนื้อหา

ขั้นวัดผล

1.นักเรียนแต่ละคนทำแบบทดสอบหลังเรียนจำนวน 5 ข้อ

2.นักเรียนและครูร่วมกันเฉลยคำตอบ

7.สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้

1.ใบความรู้เรื่องการนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับครอบครัว

2.ใบงานที่ 1(ระดมความคิดตอบคำถาม)

3.ใบงานที่ 2(เขียนแผนผังความคิดในหัวข้อ"ประโยชน์ของการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับครอบครัว")

4.เกม"ครอบครัวสุขสันต์"

5.กระถางต้นไม้กระดาษรูปหัวใจ

6.แบบบันทึกการสรุปเนื้อหาเรื่องการนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับครอบครัว

7.แบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน

8.การวัดผลและประเมินผล

1.วิธีการประเมิน

1.1สังเกตความสนใจในการร่วมกิจกรรม(อภิปรายถาม-ตอบนำเสนอผลงานร่วมกิจกรรมกลุ่ม)

1.2ตรวจผลงาน

1.3การทดสอบความรู้

2.เครื่องมือวัดและประเมิน

2.1แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้รายบุคคล

2.2แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

2.3แบบประเมินการตรวจผลงานกลุ่ม

2.4แบบบันทึกคะแนนทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน

2.5แบบตรวจผลงานการบูรณาการกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3.เกณฑ์การวัดและประเมิน

3.1การร่วมกิจกรรม(ทุกรายการต้องผ่านร้อยละ 75)

3.1.1การอภิปราย/แสดงความคิดเห็น

3.1.2การถาม – ตอบ

3.1.3การนำเสนอผลงาน

3.1.4การร่วมกิจกรรมกลุ่ม

3.2การตรวจผลงาน(ทุกรายการต้องผ่านร้อยละ 75)

3.2.1การจัดทำผังความคิดครอบคลุมหลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง

3.2.3เอกสารรายงาน

























แบบทดสอบท้ายวงจรปฏิบัติที่ 1


กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมหน่วยการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

.........................................................

คำชี้แจง

1.แบบทดสอบมีทั้งหมด 15 ข้อ

2.เวลาในการทำแบบทดสอบ 15 นาที

3.นักเรียนทำเครื่องหมาย Ï ลงในช่องตัวเลือกคำตอบที่ถูกต้องในกระดาษคำตอบ

1.เศรษฐกิจพอเพียงเป็นพระราชดำริของใคร

ก.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

ข.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

ค.สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ

ง.เกษตรกรดีเด่น ปี 2540

2.ข้อใดคือแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

ก.การดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง

ข.การดำเนินชีวิตแบบฟุ่มเฟือยตามฐานะ

ค.การดำเนินชีวิตแบบประหยัดอดมื้อกินมื้อ

ง.การดำเนินชีวิตตามความต้องการเพื่อให้ตนเองมีความสุข

3.ข้อใดหมายถึงเศรษฐกิจพอเพียง

ก.พอมีพอกิน

ข.ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย

ค.ฟุ้งเฟ้อหรูหรา

ง.โลภน้อยเบียดเบียนผู้อื่นน้อย

4.หลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเหมาะสมกับผู้ประกอบอาชีพใด

ก.ยาม

ข.ชาวนา

ค.ทหาร

ง.ทุกอาชีพ

5.ข้อใดนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิต

ก.พรเทพเลือกซื้อสินค้าเฉพาะจากห้างสรรพสินค้าเท่านั้น

ข.พรศักดิ์แบ่งเงินรายได้บางส่วนไว้เป็นเงินออม

ค.พรเทวาชอบเสี่ยงโชคโดยการซื้อลอตเตอรี่

ง.พรชัยยืมเงินเพื่อนใช้อยู่เป็นประจำ

6.ข้อไม่ใช่ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ

ก.พึ่งพาตนเองเป็นหลัก

ข.รวมพลังในรูปของสหกรณ์

ค.สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้

ง.แสวงหาผลกำไรจากการประกอบอาชีพ

7.การจัดสรรที่อยู่อาศัยและำที่ทำกินตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงทฤษฎีใหม่มีอัตราส่วนอย่างไร

ก.30 : 30 : 30 : 10

ข.10 : 30 : 30 : 30

ค.40 : 30 : 10 : 20

ง.20 : 30 : 20 : 30

8.หากมีพื้นที่ 20 ไร่ส่วนของที่ดินสำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัยตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงทฤษฎีใหม่คือข้อใด

ก.6 ไร่

ข.4 ไร่

ค.3 ไร่

ง.2 ไร่

9.แหล่งน้ำจากธรรมชาติข้อใดที่ไม่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ก.ฝาย

ข.ทะเล

ค.บ่อน้ำ

ง.ทะเลสาบ

10.ข้อใดเป็นพฤติกรรมที่ถูกต้องเกี่ยวกับการประหยัดน้ำ

ก.รดน้ำต้นไม้โดยเปิดน้ำทิ้งไว้

ข.เปิดน้ำทิ้งไว้ในช่วงเวลากลางคืน

ค.อาบน้ำโดยการนอนแช่ในอ่างอาบน้ำ

ง.นำน้ำที่เหลือจากการล้างผ้าไปใช้รดน้ำต้นไม้

11. ขนบธรรมเนียมประเพณีจัดเป็นสิ่งแวดล้อมประเภทใด

ก.สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ

ข.สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น

ค.สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่มีชีวิต

ง.สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่ไม่มีชีวิต

12.ประเพณีที่ขึ้นชื่อของจังหวัดขอนแก่นคือข้อใด

ก.ประเพณีผูกเสี่ยว

ข.ประเพณียี่เป็ง

ค.ประเพณีโยนบัว

ง.ประเพณีแห่ผีตาโขน

13.ทรัพยากรในข้อใดที่สามารถสร้างใหม่ทดแทนได้

ก.ป่าไม้

ข.น้ำมัน

ค.แร่ธาตุต่าง ๆ

ง.ก๊าซธรรมชาติ

14. "วิธีการปรับปรุงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมให้กลับมีคุณภาพและใช้ประโยชน์ได้"หมายถึงข้อใด

ก.การนำกลับมาใช้ใหม่

ข.การใช้สิ่งอื่นทดแทน

ค.การใช้อย่างประหยัด

ง.การบำบัดและฟื้นฟู

15. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหน้าที่ของใคร

ก.เฉพาะผู้นำชุมชน

ข.เฉพาะผู้มีจิตอาสา

ค.สมาชิกทุกคนในชุมชน

ง.เฉพาะเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้



แบบทดสอบท้ายวงจรปฏิบัติที่ 2


กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมหน่วยการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

.........................................................

คำชี้แจง

1.แบบทดสอบมีทั้งหมด 15 ข้อ

2.เวลาในการทำแบบทดสอบ 15 นาที

3.นักเรียนทำเครื่องหมาย Ï ลงในช่องตัวเลือกคำตอบที่ถูกต้องในกระดาษคำตอบ

1.ข้อใดหมายถึงรายจ่ายที่ไม่จำเป็น

ก.รายจ่ายที่เกิดจากความต้องการ

ข.รายจ่ายที่นอกเหนือจากที่จ่ายเพื่อการยังชีพ

ค.รายจ่ายที่ต้องจ่ายเพื่อยังชีพหรือรายจ่ายที่จำเป็นต้องจ่าย

ง.ถูกทุกข้อ

2.ข้อใดคือความหมายของรายจ่ายที่จำเป็น

ก.รายจ่ายที่จ่ายเพื่อยังชีพ

ข.รายจ่ายที่เกิดจากความต้องการ

ค.รายจ่ายที่นอกเหนือจากการยังชีพ

ง.รายจ่ายที่เกิดจากความต้องการ

3.ข้อใดไม่มีผลทำให้รายจ่ายของครอบครัวเพิ่มขึ้น

ก.ราคาสินค้า

ข.จำนวนสมาชิก

ค.รายได้ของครอบครัว

ง.ความเป็นมาของครอบครัว

4.ข้อใดคือผลของรายได้น้อยกว่ารายจ่าย

ก.หนี้สิน

ข.มีเงินออม

ค.ไม่มีเงินออม

ง.มีเงินฝากในธนาคาร

5.การกระทำของบุคคลในข้อใดเป็นการประหยัดรายจ่ายได้เหมาะสม

ก.สมพรประหยัดน้ำด้วยการอาบน้ำวันละครั้ง

ข.สมศักดิ์ประหยัดไฟด้วยการจุดเทียนอ่านหนังสือ

ค.สมศรีประหยัดค่าโทรศัพท์โดยการแอบใช้โทรศัพท์ของคนอื่น

ง.สมชาติประหยัดค่าใช้จ่ายด้วยการห่อข้าวไปรับประทานที่โรงเรียน

6.การจดบันทึกรายรับรายจ่ายจะช่วยให้เราเป็นคนอย่างไร

ก.ขยันหมั่นเพียร

ข.ซื่อสัตย์สุจริต

ค.รอบคอบ

ง.อดทน

7.ข้อใดเป็นอาชีพเสริมที่สามารถเพิ่มรายได้ให้ครอบครัว

ก.สถาปนิก

ข.ค้าขาย

ค.ทหาร

ง.ครู

8.รำมโนราห์จัดเป็นภูมิปัญญาด้านภาษาและวรรณกรรมของภาคใด

ก.ภาคใต้

ข.ภาเหนือ

ค.ภาคกาง

ง.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

9.ใครคือภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนปัจจุบัน

ก.พิมพ์ผกาขายสมุนไพรที่ตลาด

ข.ยายเนียมเป็นหมอดูประจำหมู่บ้าน

ค.ลุงเชยมีความสามารถด้านการทำลูกประคบ

ง.จุลีรัตน์เป็นทันตแพทย์ที่โรงพยาบาลในเมือง

10.สมชายมีความสามารถด้านการถนอมอาหารแสดงว่าสมชายเป็นภูมิปัญญาด้านใด

ก.ด้านปรัชญาศาสนาและประเพณี

ข.ด้านโภชนาการ

ค.ด้านศิลปกรรม

ง.ด้านเกษตรกรรม

11. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของตลาด

ก.กำหนดมาตรฐานของสินค้าและบริการ

ข.รับจ่ายเงินตามขั้นตอนของการตลาด

ค.จัดหาสินค้าและบริการ

ง.ขายเฉพาะสินค้า

12.ข้อใดจัดเป็นตลาดแบบผูกขาด

ก.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

ข.โรงเรียนสังกัดรัฐบาล

ค.ตลาดสดเทศบาล

ง.ร้านค้าในชุมชน

13.ธนาคารในข้อใดเป็นสถาบันการเงินของรัฐบาล

ก.ธนาคารออมสิน

ข.ธนาคารทหารไทย

ค.ธนาคารกรุงไทย

ง.ธนาคารนครหลวง

14. หากต้องการกู้ยืมเงินเพื่อทำการเกษตรควรไปติดต่อที่ธนาคารใดจึงจะเหมาะสมที่สุด

ก.ธนาคารออมสิน

ข.ธนาคารกสิกรไทย

ค.ธนาคารทหารไทย

ง.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

15. โรงรับจำนำจัดเป็นสถาบันการเงินประเภทใด

ก.สถาบันการเงินที่ให้กู้ยืมเงินระยะสั้น

ข.สถาบันการเงินที่ให้กู้ยืมเงินเพื่อคนจน

ค.สถาบันการเงินที่ประกอบกิจการธนาคาร

ง.สถาบันการเงินที่ไม่ประกอบกิจการธนาคาร



แบบทดสอบท้ายวงจรปฏิบัติที่ 3


กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมหน่วยการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

.........................................................

คำชี้แจง

1.แบบทดสอบมีทั้งหมด 15 ข้อ

2.เวลาในการทำแบบทดสอบ 15 นาที

3.นักเรียนทำเครื่องหมาย Ï ลงในช่องตัวเลือกคำตอบที่ถูกต้องในกระดาษคำตอบ

1.พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทยคือใคร

ก.พระราชวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์

ข.พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

ค.สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1

ง.พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

2.สหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยคือข้อใด

ก.สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้

ข.สหกรณ์ออมทรัพย์ครู

ค.สหกรณ์ของเหลือใช้

ง.สหกรณ์ข้าวไทย

3.ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของสหกรณ์

ก.ให้สมาชิกได้รับประโยชน์ร่วมกัน

ข.ระดมเงินทุนเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง

ค.ยกระดับค่าครองชีพของสมาชิกให้อยู่ดีกินดีสูงขึ้น

ง.ดำเนินธุรกิจหรือบริการช่วยเหลือสมาชิกโดยไม่หวังผลกำไร

4.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของผู้ที่มีความเพียร

ก.ไม่เกียจคร้าน

ข.ซื่อตรงและจริงใจ

ค.ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง

ง.แข็งแกร่งและอ่อนโยน

5.ถ้าอยากได้รับความไว้วางใจจากเพื่อน ๆนักเรียนควรมีคุณธรรมข้อใด

ก.ความขยัน

ข.ความเพียร

ค.ความอดทน

ง.ความซื่อสัตย์สุจริต

6."………………..เป็นคุณธรรมสำคัญที่ช่วยผลักดันให้คนเราก้าวไปสู่ความสำเร็จได้ตามเป้าหมายที่ได้วางไว้"คำที่ควรนำมาเติมในช่องว่างคือข้อใด

ก.ความซื่อสัตย์สุจริต

ข.ความแข็งแกร่ง

ค.ความเพียร

ง.ความดี

7.ประชันตั้งใจศึกษาเล่าเรียนจนจบระดับปริญญาตรีแสดงว่าประชันมีความซื่อสัตย์ตามข้อใด

ก.ต่อหน้าที่

ข.ต่อตนเอง

ค.ต่อครอบครัว

ง.ต่อประเทศชาติ

8.ถ้าเรามีความซื่อสัตย์สุจริตเราจะได้รับผลตามข้อต่อไปนี้ยกเว้นข้อใด

ก.การเป็นคนดี

ข.การเป็นคนเก่ง

ค.การมีชีวิตที่สะอาด

ง.การมีชีวิตที่เจริญมั่นคง

9.เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนระดับใด

ก.ระดับครอบครัว

ข.ระดับชุมชน

ค.ระดับรัฐ

ง.ทุกระดับ

10.หลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงยึดหลักตามข้อต่อไปนี้ยกเว้นข้อใด

ก.การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

ข.ความพอประมาณ

ค.ความมีเหตุผล

ง.ความใจเย็น

11. การซื้อสิ่งของในข้อใดเป็นการซื้อในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์

ก.ซื้ออุปกรณ์การเรียนเพราะใกล้จะเปิดเทอมแล้ว

ข.ซื้อบัตรเติมเงินเพื่อใช้ส่ง SMS โหวตให้นักร้อง

ค.ซื้ออาหารกลางวัน

ง.ทุกข้อที่กล่าวมาถูกต้อง

12.คำกล่าวข้อใดไม่ถูกต้อง

ก.สินค้าที่ผลิตจากต่างประเทศจะขายได้ง่ายกว่าสินค้าที่ผลิตในไทย

ข.สินค้าที่ผลิตจากต่างประเทศจะดูดีกว่าสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย

ค.สินค้าที่ผลิตในประเทศไทยมักจะมีราคาแพงกว่าสินค้าที่ผลิตจากต่างประเทศ

ง.สินค้าที่ผลิตในประเทศไทยมีคุณภาพไม่แตกต่างจากสินค้าที่ผลิตจากต่างประเทศ

13.ข้อควรคำนึงถึงในการซื้ออาหารคือข้อใด

ก.คนขายใจดี

ข.อาหารนั้นน่าอร่อย

ค.ลดแลกแจกแถม

ง.อาหารนั้นมีประโยชน์

14. ข้อใดคือผลเสียของการรับประทานอาหารนอกบ้าน

ก.สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย

ข.ประหยัดเวลา

ค.ไม่ต้องทำเอง

ง.สะดวก

15. ทำไมเราจึงควรสนับสนุนสินค้าที่ผลิตในประเทศ

ก.เพราะเงินตราจะได้ไม่รั่วไหลไปต่างประเทศ

ข.เพราะส่งเสริมการสร้างงานภายในประเทศ

ค.เพราะสร้างรายได้ให้คนในประเทศ

ง.ทุกข้อที่กล่าวมาถูกต้อง



แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน


กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมหน่วยการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

.........................................................

คำชี้แจง

1.แบบทดสอบมีทั้งหมด 40 ข้อ

2.เวลาในการทำแบบทดสอบ 60 นาที

3.นักเรียนทำเครื่องหมาย Ï ลงในช่องตัวเลือกคำตอบที่ถูกต้องในกระดาษคำตอบ

1.ข้อใดคือความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง

ก.การพึ่งพาผู้อื่น

ข.การพึ่งพาตนเอง

ค.การอาศัยซึ่งกันและกัน

ง.การพึ่งพาซึ่งกันและกัน

2.แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเน้นเรื่องใดมากที่สุด

ก.หลักการออม

ข.หลักการพึ่งตนเอง

ค.หลักการสร้างเศรษฐกิจ

ง.หลักการสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง

3."เป็นวิธีการที่บุคคลในทุกสาขาอาชีพสามารถนำไปปฏิบัติได้เพื่อให้ครอบครัวสังคมและชุมชนของตนเกิดการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอนและมั่นคง"จากข้อความดังกล่าวข้อใดไม่ใช่วิธีการปฏิบัติของเศรษฐกิจพอเพียง

ก.พออยู่ พอกินพอใช้

ข.ใช้ชีวิตด้วยความมั่นใจ

ค.ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องและสุจริต

ง.นำความรู้ความเข้าใจมาปรับใช้กับวิถีชีวิตสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

4.ใครเป็นเจ้าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ก.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

ข.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

ค.สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ

ง.เกษตรกรดีเด่น ปี 2540

5.ทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฎีใหม่เป็นตัวอย่างของการพัฒนาการเกี่ยวกับข้อใด

ก.การขนส่ง

ข.เกษตรกรรม

ค.อุตสาหกรรม

ง.ทุกข้อที่กล่าวมา

6.จงเรียงขั้นตอนของแนวทางการดำเนินงานตามทฤษฎีใหม่ต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1.ขั้นการติดต่อประสานงานเพื่อจัดหาทุนหรือแหล่งเงิน

2.ขั้นการผลิต

3.ขั้นการรวมพลังในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์

ก.23 1

ข.123

ค.3 21

ง.132

7.การจัดสรรที่อยู่อาศัยและที่ทำกินตามแนวทางการดำเนินงานตามทฤษฎีใหม่ส่วนที่สี่ร้อยละ 10คือข้อใด

ก.ที่อยู่อาศัย

ข.ทำนาข้าว

ค.ขุดสระกักเก็บน้ำ

ง.ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น

8.ข้อใดเป็นประโยชน์ของการดำเนินชีวิตตามแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่

ก.พออยู่พอกินไม่อดอยาก

ข.พออยู่พอกินพึ่งตนเองได้

ค.พออยู่พอกินเลี้ยงตนเองได้

ง.ทุกข้อถูกต้อง

9."สิ่งต่าง ๆที่อยู่รอบตัวเรา ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต"หมายถึงข้อใด

ก.ทรัพยากร

ข.สิ่งแวดล้อม

ค.ทรัพยากรธรรมชาติ

ง.สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ

10.ข้อใดไม่ใช่กระบวนการทางธรรมชาติและเป็นปัจจัยเกื้อหนุนซึ่งกันและกันของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ

ก.ต้นไม้เจริญเติบโตต้องอาศัยน้ำ

ข.พืชบางชนิดช่วยกำจัดแมลงศัตรูพืช

ค.รากของต้นไม้ช่วยลดการพังทลายของดิน

ง.การกำจัดศัตรูพืชด้วยสารเคมีทำให้ได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์

11. ขนบธรรมเนียมประเพณีจัดเป็นสิ่งแวดล้อมประเภทใด

ก.สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ

ข.สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น

ค.สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่มีชีวิต

ง.สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่ไม่มีชีวิต

12.ข้อใดเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไปทั้งหมด

ก.น้ำอากาศแสงแดด

ข.ก๊าซธรรมชาติน้ำอากาศ

ค.น้ำมันก๊าซธรรมชาติแร่ธาตุ

ง.น้ำมันก๊าซธรรมชาติแสงแดด

13.ข้อใดเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนอย่างไม่ระมัดระวัง

ก.ทำลายวัชพืช

ข.ใส่ปุ๋ยหมักในดิน

ค.ตัดไม้จนป่าไม้โล่งเตียน

ง.กำจัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงในแหล่งน้ำ

14. ข้อใดไม่ใช่ผลเสียของการทำลายทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน

ก.ชุมชนน่าอยู่

ข. ส่งผลเสียต่อสุขภาพ

ค.สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม

ง.ธรรมชาติเสียความสมดุล

15. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหน้าที่ของใคร

ก.เฉพาะผู้นำชุมชน

ข.เฉพาะผู้มีจิตอาสา

ค.สมาชิกทุกคนในชุมชน

ง.เฉพาะเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้

16.ข้อใดเป็นรายจ่ายที่ไม่จำเป็น

ก.ค่าน้ำ

ข.ค่าดอกเบี้ยธนาคาร

ค.ค่าใช้จ่ายของสมาชิกในบ้าน

ง.ค่ารักษาพยาบาลเมื่อลูกป่วยไข้

17.หากครอบครัวของนักเรียนมีรายได้มากกว่ารายจ่ายจะเกิดผลเช่นข้อใด

ก.มีหนี้สิน

ข.มีเงินออม

ค.ไม่มีเงินออม

ง.เป็นครอบครัวที่ขยันมาก ๆ

18.ข้อใดไม่ใช่ "7 วิธีมีเงินเก็บออม"

ก.การไม่ก่อหนี้ด้วยการกู้ยืม

ข.กำหนดเป้าหมายการใช้จ่าย

ค.กำหนดเป้าหมายการเก็บออม

ง.การสร้างรายได้ด้วยการกู้ยืม

19.ใครคือผู้มีรายได้เสริม

ก.ตู่ทำไร่กาแฟมาสิบปีแล้ว

ข.แต๋มเอาเวลาหลังเลิกงานไปรับจ้างล้างถ้วยชาม

ค.ต๋อมเป็นพยาบาลที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง

ง.ติ๊กไม่ชอบขายกาแฟในตอนเช้าถึงแม้จะเป็นอาชีพหลักก็ตาม

20.แบบแผนการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่าแสดงถึงความเฉลียวฉลาดของบุคคลและสังคมที่ได้สั่งสมและปฏิบัติสืบต่อกันมาหมายถึงข้อใด

ก.ความรู้

ข.ความเชื่อ

ค.ภูมิปัญญา

ง.ความสามารถ

21.ข้อใดเป็นภูมิปัญญาด้านเกษตรกรรม

ก.การนวดแผนโบราณ

ข.การแกะสลักเทียน

ค.การรำมโนราห์

ง.การประมง

22.การปลูกพืชคลุมดินเพื่อใช้รักษาหน้าดินเป็นภูมิปัญญาด้านใด

ก.การกินอยู่

ข.การรักษาโรค

ค.การทำมาหากิน

ง.การประดิษฐ์เทคโนโลยี

23.ข้อใดคือประเพณีที่สำคัญของภาคเหนือ

ก.ผีตาโขน

ข.บุญบั้งไฟ

ค.เดือนยี่เป็ง

ง.ตักบาตรดอกไม้

24."การก่อให้เกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการโดยมีสถานที่หรือไม่มีก็ได้"หมายถึงข้อใด

ก.ตลาด

ค.สหกรณ์

ข.ธนาคาร

ง.โรงรับจำนำ

25.ข้อใดกล่าวถึงองค์ประกอบของตลาดได้ถูกต้อง

ก.ผู้ซื้อผู้ขายสินค้าและราคา

ข.ผู้ซื้อผู้ขายสินค้าเงินและราคา

ค.ผู้ซื้อผู้ขายสินค้าราคาและการขนส่ง

ง.ผู้ซื้อผู้ขายสินค้าราคาและเจ้าของตลาด

26. หากกำลังตกงานและต้องการงานทำนักเรียนจะไปตลาดประเภทใด

ก.ตลาดแรงงาน

ข.ตลาดสินค้าอุตสาหกรรม

ค.ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด

ง.ตลาดสินค้าสำหรับผู้บริโภค

27.ธกส.เป็นชื่อย่อของสถาบันการเงินข้อใด

ก.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

ข.ธนาคารอาคารสงเคราะห์

ค.ธนาคารกสิกรไทย

ง.สหกรณ์การเกษตร

28.ข้อควรคำนึงถึงในการซื้ออาหารคือข้อใด

ก.คนขายใจดี

ข.อาหารนั้นน่าอร่อย

ค.ลดแลกแจกแถม

ง.อาหารนั้นมีประโยชน์

29. การเก็บดอกเบี้ยจะต้องเก็บจากใคร

ก.ผู้ซื้อสินค้า

ข.ผู้กู้ยืม

ค.ผู้ขาย

ง.ผู้ฝาก

30. ข้อใดคือหลักการของสหกรณ์

ก.เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตย

ข.เป็นไปตามตามนโยบายของผู้จัดการ

ค.ยึดหลักเสียงข้างมาก

ง.โอนอ่อนผ่อนตาม

31.พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทยคือใคร

ก.พระราชวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์

ข.พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

ค.สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1

ง.พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

32.สหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยคือข้อใด

ก.สหกรณ์ข้าวไทย

ข.สหกรณ์ของเหลือใช้

ค.สหกรณ์ออมทรัพย์ครู

ง.สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้

33.ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของสหกรณ์

ก.ดำเนินธุรกิจหรือบริการช่วยเหลือสมาชิกในการแก้ปัญหาต่าง ๆโดยไม่หวังผลกำไร

ข.ให้สมาชิกได้รับประโยชน์ร่วมกันทั้งในฐานะเป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคให้ได้สินค้าในราคายุติธรรม

ค.ยกระดับค่าครองชีพของสมาชิกให้อยู่ดีกินดีสูงขึ้น

ง.จุดมุ่งหมายของสหกรณ์เพื่อแบ่งผลกำไรให้เท่ากัน

34.ข้อใดกล่าวถึงความเพียรได้ถูกต้อง

ก.ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น

ข.ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว

ค.ความลับไม่มีในโลก

ง.ขนทรายเข้าวัด

35.การเคารพและเชื่อฟังพ่อแม่ถือเป็นความซื่อสัตย์สุจริตต่อใคร

ก.ความซื่อสัตย์สุจริตต่อผู้อื่น

ข.ความซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเอง

ค.ความซื่อสัตย์สุจริตต่อครอบครัว

ง.ความซื่อสัตย์สุจริตต่อประเทศชาติ

36.บุคคลใดรู้จักใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นและมีประโยชน์ต่อครอบครัว

ก.ศักดิ์เลือกซื้อเฉพาะอาหารที่มีประโยชน์

ข.ศิริเลือกซื้อเฉพาะอาหารที่ตนเองชอบ

ค.ศรีเลือกซื้อเฉพาะอาหารที่ราคาแพง

ง.ศาลเลือกซื้อเฉพาะอาหารที่อร่อย

37.ข้อใดมีการจัดสรรรายได้และรายจ่ายของครอบครัวให้สมดุลกัน

ก.รายรับน้อยกว่ารายจ่าย

ข.รายจ่ายมากกว่ารายรับ

ค.มีแต่รายจ่ายไม่มีรายรับ

ง.รายจ่ายน้อยกว่ารายรับ

38.สถาบันพื้นฐานของสังคมคือข้อใด

ก.สถาบันพระมหากษัตริย์

ข.สถาบันครอบครัว

ค.สถาบันศาสนา

ง.สถาบันชาติ

39.บุคคลในข้อใดนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับครอบครัวได้อย่างเหมาะสม

ก.ไก่ปลูกผักไว้รับประทานเอง

ข.กบเปิดไฟทั่วบ้าน

ค.กี้ชอบใช้ของแพง

ง.กาบใช้เงินเปลือง

40.หลักเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งเน้นให้นักเรียนมีนิสัยอย่างไร

ก.แข็งแกร่ง

ข.อดทน

ค.ตระหนี่

ง.มีระเบียบวินัย



เฉลยแบบทดสอบวงจรปฏิบัติที่ 1


กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมหน่วยการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

……………………………………….

ข้อ

คำตอบ

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15



เฉลยแบบทดสอบวงจรปฏิบัติที่ 2


กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมหน่วยการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

……………………………………….

ข้อ

คำตอบ

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15



เฉลยแบบทดสอบวงจรปฏิบัติที่ 3


กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมหน่วยการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

……………………………………….

ข้อ

คำตอบ

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15



เฉลยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน


กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรมหน่วยการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

……………………………………….

ข้อ

คำตอบ

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

ข้อ

คำตอบ

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

3

39

40

หมายเลขบันทึก: 584339เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2015 00:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มกราคม 2015 11:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท