ถอดบทเรียน จิตเวชน่ารู้


เมื่อวานนี้ ที่ชั้นเรียนกิจกรรมบำบัดปีที่3 ม.มหิดล ในคาบเรียนจิตสังคม ได้มีอาจารย์พิเศษที่ให้เกียรติมาแชร์ประสบการณ์ในเรื่องของผู้ป่วยจิตเวชที่โรงพยาบาลศรีธัญญา คือ อ.พญ.สมรัก ชูวานิชวงศ์ ซึ่งวันนี้จะมาถอดบทเรียนบางส่วนให้ได้อ่านกันค่ะ

การใช้ยาจำเป็นหรือไม่กับคนไข้จิตเวช? เป็นคำถามที่ชวนสงสัยอยู่สำหรับนศ.กิจกรรมบำบัดอย่างเราที่จะใช้กิจกรรมในการบำบัดคนไข้ อ.หมอก็ให้ความกระจ่างมาว่า การใช้ยาจะทำให้อาการทางโรคที่กำเริบอยู่บรรเทาเบาบางลงได้เพราะยาจะทำให้เคมีในตัวสมดุลย์ขึ้น บางโรคที่คนไข้เคยเป็นและคิดว่าตนเองหายแล้ว อาการก็อาจเกิดซ้ำได้อีก จึงควรกินยาให้สม่ำเสมอ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการกินยาอย่างเดียวก็คงไม่ได้ผลสัมฤทธิ์ในการรักษาดีเท่าการได้ทำกิจกรรมเพื่อฟื้นฟูควบคู่ไปด้วย

นอกจากการใช้ยา การทำกิจกรรมบำบัดแล้ว ก็ยังมีการทำETCหรือการช็อตไฟฟ้าด้วย การช็อตไฟฟ้าฟังดูน่ากลัวแต่อ.หมอบอกว่าการทำETCกลับได้ผลดีกว่าการใช้ยาในผู้ป่วยบางรายเสียอีก เพราะการช็อตไฟฟ้าจะเป็นเหมือนการรีเซ็ตคลื่นสมองใหม่ทำให้คนไข้ที่คิดฆ่าตัวตายก่อนหน้านี้จำไม่ได้ว่าตัวเองเคยคิดอะไร และจะไปกดอาการทางบวกบางอย่าง เช่น การหลงผิด

จะเห็นได้ว่าการรักษาผู้ป่วยจิตเวชนั้นมีหลากหลายวิธี และเมื่อผู้ป่วยฟื้นฟูได้ดีขึ้น ยอมรับความเจ็บป่วยของตัวเองได้ ทานยาอย่างสม่ำเสมอและมีทักษะในการดำเนินชีวิตระดับหนึ่งแล้ว เค้าก็สามารถกลับไปทำงานใช้ชีวิตในชุมชนได้ ทั้งนี้คนในสังคมก็ต้องปรับทัศนคติกับผู้ป่วยจิตเวชใหม่ว่าเค้าไม่ได้น่ากลัวอย่างภาพที่เราเคยคิดกัน เค้าสามารถดูแลตัวเองได้ สามารถทำงานร่วมกับคนปกติได้ เราต้องคิดว่าผู้ป่วยไม่ได้เลือกที่จะเกิดมาเป็นแบบนี้ เราต้องมีจิตใจเมตตาอารีต่อเค้า สังคมไทยจึงจะอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขมากขึ้นนะคะ :))


หมายเลขบันทึก: 584308เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2015 16:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มกราคม 2015 16:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท