จิตสังคมในเด็ก


เมื่อวานได้เล่าแบบยาวมากๆถึงเรื่องจิตบำบัดในผู้ป่วยจิตเวช ซึ่งเนื้อหายาวมากๆแต่ที่ยาวก็เพราะไม่อยากให้พลาดสิ่งใดไปเพราะประสบการณ์ที่อาจารย์ได้ถ่ายทอดมาดีมากๆ แต่วันนี้จะเล่าแบบสั้นๆเพื่อไม่ให้เบื่อ เลยมาเล่าถึงการบำบัดฟื้นฟูในเด็ก วิทยากรที่เป็นผู้สอนให้แก่เราคืออาจารย์แพทย์หญิงหัทยา ดำรงค์ผล ซึ่งอาจารย์ก็ทำงานเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์มากในเด็ก



อาจารย์ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับเด็กสมาธิสั้น ซึ่งพ่อแม่จะพาเด็กเข้ามาหาพร้อมกับคำถามที่ว่า " ทำไมลูกเรียนไม่เก่ง " ซึ่งที่นี้ก็ต้องมาหาว่าเด็กมีความบกพร่องด้านใด เช่น มีสมาธิสั้น บกพร่องด้านการอ่าน การเขียน กล้ามเนื้อไม่แข็งแรงสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นข้อที่เราต้องรักษาให้ตรงจุด โดยสังเกตพฤติกรรม ให้ผู้ปกครองทำแบบสอบถาม อาจจะมีการถามถึงพฤติกรรมในชั้นเรียนจากคุณครู แล้วนำมาประมวลผลวิเคราะห์รักษา โดยในเด็กที่สมาธิสั้นคุณหมอจะเป้นผู้วินิจฉัยและมีการรักษา

โดยเด็กที่สมาธิสั้นจะมี 3 ชนิด คือ

  • 1.สมาธิสั้นมากไม่สนใจรายละเอียด
  • 2.มีการเคลื่อนไหวมาก
  • 3.แบบผสม


โดยจะมีอาการแตกต่างกันไปเช่น ไม่อยู่นิ่ง ทำตามกฏเกณฑ์ไม่ได้ พูดมาก หรือไม่สามารถจดจ่อกับงานจนเสร็จได้ ยกเว้นการอยู่กับคอมพิวเตอร์ หรือโทรทัศน์ ซึ่งจัดเป็นสื่อที่เคลื่อนไหว แต่อาการเหล่านี้จะต้องไม่เกี่ยวข้องกับปัจจัยอื่นเช่น วิชาที่สอนน่าเบื่อ พึ่งย้ายโรงเรียน เศร้าจากเหตุการณ์ต่างๆ โดยเราต้องดูว่าเด็กมีอาการเหล่านี้มานานหรือยัง หรือพึ่งเกิด เป็นกับทุกกิจกรรมหรือไม่ หรือเป็นเฉพาะบางกิจกรรม เกิดอาการเหล่านี้มากกว่า2 สถานที่ ซึ่งพฤติกรรมของเด็กจะส่งผลกระทบต่อครอบครัวทำให้รู้เหนื่อย เครียด หรือกังวล

การรักษาการคือให้ยาควบคู่กับการทำกิจกรรมและ ปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม อาจจะแบ่งงานให้เป็นช่วงๆมีพักบ้าง แนะนำผู้ปกครองให้มีวินัยในการให้เด็กกินยาเพื่อควบคุมอาการอยู่ไม่นิ่ง ส่งผลทำให้เด็กมีสมาธิและมีความมั่นใจมากขึ้นในการเรียน การรักษาอาจมีการปรึกษากับแพทย์และทีมเพื่อให้ยาเพื่มสมาธิ และมีการทำความเข้าใจกับผู้ปกครองเรื่องพฤติกรรมของเด็ก ให้ผู้ปกครองเข้าใจโรคและอาการที่เด็กเป็น ไม่หงุดหงิดใส่ลูก ช่วยกันแก้ไขอารมณ์และพฤติกรรมที่ไม่ดี ให้รางวัลทันทีเมื่อเด็กทำพฤติกรรมดี ทำกิจกรรมครั้งละสั้นๆ ควรมีตารางเวลาให้เด็ก ส่วนคุณครูก็อาจจะจัดตำแหน่งโต๊ะเรียนใหม่ หรือจับคู่กับเพื่อนที่ตั้งใจเรียน ลดระยะเวลาการทำงานให้สั้นลงแต่อาจจะบ่อยขึ้น มีการสอนพิเศษในวิชาที่อ่อน โดยทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันเพื่อรักษาและบำบัดเด็ก

หมายเลขบันทึก: 584300เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2015 13:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มกราคม 2015 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท