* บทความทางด้าน STEM education ในประเทศไทย


แน่นอนว่า สสวท. เป็นหน่วยงานหลักที่ริเริ่ม ส่งเสริม และดำเนินการด้านสะเต็มศึกษาประเทศไทยอย่างเต็มรูปแบบ

สสวท. จึงเป็นแหล่งข้อมูลแรกที่ครู นิสิตและนักศึกษาครู นักวิจัย และนักการศึกษา นึกถึง

และเข้าถึงได้ง่ายเพียงแค่ใจใฝ่รู้ ....

ลิ้งสำหรับ นิตยสาร สสวท ออนไลน์ กดที่นี่

ปี 2557 ที่ผ่านพ้นไป ถือว่าเป็นปีของการเริ่มต้นของสะเต็มศึกษาอย่างแท้จริง ...


เปิดต้นปี ปักษ์แรก มกราคม - กุมภาพันธ์ 2557 (ปีที่ 42 ฉบับที่ 186)

ดร.สุพรรณี ชาญประเสริฐ ผู้อำนวยการสาขาเคมี สสวท. แนะนำเราให้รู้จัก

สะเต็มศึกษากับการจัดการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 (p. 3-5)

ดร.อลงกต ใหม่ด้วย นักวิชาการ สาขาคณิตศาสตร์มัธยมศึกษา สสวท. แสดงให้เห็นสิ่งที่

เชื่อมโยงความคิดคณิตสะเต็ม (p. 16-20)

และ สมชาย พัฒนาชวนชม ผู้ชำนาญ ฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สสวท.

เชื่อมต่อ STEM ด้วยโครงงานและ ICT (p. 25-31)


ปักษ์สอง มีนาคม - เมษายน 2557 (ปีที่ 42 ฉบับที่ 187)

สุรัชน์ อินทสังข์ อาจารย์ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์และการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ชวนครูประถมมาออกแบบกิจกรรมทำวุ้นและเล่นว่าว ด้วย

เบื้องหลังการออกแบบกิจกรรม steM คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา (p.19-22)

สุวินัย มงคลธารณ์ นักวิชาการ สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมโลก (โครงการ GLOBE) พาผู้อ่านไปวิเคราะห์ S TE และ M ที่บูรณาการเข้าด้วยกันในการทำโครงงาน อุปกรณ์กำจัดวัชพืชอนุรักษ์น้ำ บทความนี้จึงช่วยให้ผู้อ่าน

เรียนรู้ STEM ผ่านงานวิจัย


ปักษ์สาม พฤษภาคม - มิถุนายน 2557 (ปีที่ 42 ฉบับที่ 188)

แม้ว่าปักษ์นี้ไม่ได้มีเรื่องของสะเต็มเป็นเรื่องหลัก แต่ก็ยังมีเรื่องราวของ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project - Based Learning: PBL)

โดย ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว นักวิชาการสาขาปฐมวัย สสวท.

ให้ผู้อ่านได้ทบทวนและตรวจสอบความเข้าใจ เพื่อจะได้นำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ปักษ์สี่ กรกฎาคม - สิงหาคม 2557 (ปีที่ 42 ฉบับที่ 189)

ครึ่งปีผ่านไป สะเต็มกลายเป็นหัวข้อสำคัญที่มีการพูดถึงกันมากทั้งในด่านยโยบาย การวางแผน การปฏิบัติในชี้นเรียน

ฉบับนี้ ดร.สนธิ พลชัยยา นักวิชาการ สาขาเคมี ระบุผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาให้เห็นชัดเจนใยด้าน

สะเต็มศึกษา กับการคิดขั้นสูง (p.7-10)

จากนั้น ดร.อลงกต ใหม่ด้วง นักวิชาการ สาขาคณิตศาสตร์มัธยมศึกษาตอนต้น

แนะนำแนวคิดการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้สิ่งรอบตัว เช่นเหรียญบาท หรือลูกเต่า มาจัดกรรมกรรมให้ผู้เรียน สนุกสนาน และเรียนรู้

สนุกกับความน่าจะเป็น: เรียนๆ เล่นๆ อย่างสะเต็มศึกษา (p.27-32)


ปักษ์ห้า กันยายน - ตุลาคม 2557 (ปีที่ 42 ฉบับที่ 190)

E ใน STEM มีบทบาทสำคัญอย่างไร และจะนำมาใช้ในชั้นเรียนได้อย่างไร

ในฉบับนี้ กมลวรรณ พฤฒินันทกุล ผู้ชำนาญ สาขาเคมี สสวท. ได้ตั้งคำถามให้ผู้อ่านคิดและติดตามต่อว่า

กระบวนการออกแบบทางวิศวกรรมนำมาใช้ในห้องเรียนได้หรือไม่ (p.9-12)

และจุฑามาส สรุปราษฎร์ ผู้ชำนาญ สาขาวิจัย สสวท. ให้ข้อมูลที่แสดงถึงบทบาท ความจำเป็น และแนวทางในการพัฒนาศักยภาพครู

ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะสำหรับครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี (p.47 - 50)


ปักษ์สุดท้าย พฤศจิกายน - ธันวาคม 2557 (ปีที่ 42 ฉบับที่ 191)

ฉบับส่งท้ายปีสะเต็มมารัวๆ เต็มๆ เน้นๆ

เริ่มด้วยการตามล่าหาขโมยไปกับนักสืบ ดร.สนธิ พลชัยยา นักวิชาการสาขาเคมี กับ

กิจกรรมสะเต็มศึกษาจากลายนิ้วมือ (p.10-15)

จากนั้น ดร. อุมาพร จารุสมบัติ ชวนผู้อ่านขุดและมุดเข้าไปใต้ผิวโลก แหวกว่ายดำดิ่งไปในมหาสมุทร และโบยบินไปในอากาศ ด้วย

โครงการ GLOBE กับสะเต็มศึกษา (p.16-19)

มาต่อกันที่ด้านคณิตศาสตร์ จากนั้น ดร.อลงกต ใหม่ด้วง นักวิชาการ สาขาคณิตศาสตร์มัธยมศึกษาตอนต้น กลับมาอีกครั้งด้วยตัวอย่างการจัดกิจกรรม

สะเต็มศึกษากับการแก้ปัญหาเรื่องความน่าจะเป็น(p.28-31)

และปิดท้ายกิจกรรมสะเต็มด้วย ดร.ภัทรวดี หาดแก้ว นักวิชาการสาขาคณิตศาสตร์ประถมศึกษา

เรียนวิทย์-คณิต ผ่านการทำวุ้น: กิจกรรม STEM ระดับประถมศึกษา (p.42-45)


หมดไป 1 ปี กับแนวทางสะเต็มศึกษาจากบทความโดย สสวท.

ปี 2558 นี้ เราคาดหวังที่จะได้เรียนรู้สะเต็มศึกษาจากงานเขียนที่เกิดจากการปฏิบัติของครูที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษามากขึ้น ๆ


หมายเลขบันทึก: 584216เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2015 13:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มกราคม 2015 15:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท