อัตราส่วนทางการเงิน (financial ratio)


อัตราส่วนทางการเงิน (financial ratio) เป็นการนำตัวเลขที่อยู่ในงบการเงินมาหาอัตราส่วนเพื่อใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกิจการอื่น หรือ เปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานในอดีต ช่วยให้ผู้วิเคราะห์ประเมินผลการดำเนินงาน แนวโน้ม และความเสี่ยงของกิจการได้ดียิ่งขึ้นสามารถนำมาหาความสัมพันธ์ระหว่างทรัพย์สิน หนี้สิน ทุน รายได้ และค่าใช้จ่ายต่างๆ ว่าเหมาะสมหรือไม่อย่างไร

อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ ซึ่งในมุมมองของนักวางแผนทางการเงิน ต้องเข้าใจอัตราส่วนทุกตัวดังต่อไปนี้เป็นอย่างดีเพื่อความมั่นคงและก้าวหน้าขององกรค์ การวิเคราะห์อัตราส่วนต่างๆ

อัตราส่วนสภาพคล่องทางการเงิน (Current Ratio)

Current ratio = สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน

อัตราส่วนสภาพคล่องทางการเงิน อย่างถึงแก่น(Quick Ratio)

Quick ratio = (สินทรัพย์หมุนเวียน – สินค้าคงเหลือ)/ หนี้สินหมุนเวียน

อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า (Account receivable turnover)

Account receivable turnover = ยอดขายเชื่อ/ ลูกหนี้การค้า

ระยะเวลาเก็บหนี้โดยเฉลี่ย (Day receive)

Day receive= 365 วัน/ Account receivable turnover

อัตราการหมุนเวียนสินค้าคงคลัง (Inventory Turnover)

Inventory turnover= ต้นทุนสินค้าขาย/ สินค้าคงคลัง

ระยะเวลาผลิตโดยฉลี่ย (Inventory days)

Inventory days = 365 วัน/ Inventory turnover

อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนทุน (Debt to Equity Ratio)

Debt to Equity Ratio = Total liabilities/ Shareholder equity

กำไรสุทธิต่อยอดขาย (Net Profit Margin)

Net Profit Margin = (กำไรสุทธิ * 100)/ ยอดขาย

สำหรับ RATIO ANALSIS ในส่วนที่เป็นมุมมองของเจ้าของธุรกิจประโยชน์สำหรับตัวเลขพวกนี้แน่นอนว่าก็ต้องวิเคราะห์ถึงเป้าหมายของกิจการว่าควรจะเดินหน้าธุรกิจอย่างไง มีสภาพคล่องแค่ไหน กลยุทธ์วิธีการดำเนินงานของผู้บริหารจะกำหนดอย่างไงต้องวิเคราะห์ตัวเลขพวกนี้เป็นตัวประกอบ

สำหรับในมุมมองของนักลงทุน ก็ต้องแน่นอนเลยว่านักลงทุนต้องการผลตอบที่มากที่สุด คุ้มค่าที่สุด

เสี่ยงน้อยที่สุด อัตราส่วนทางการเงินจะช่วยพวกคุณในการตัดสินใจลงทุนในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง

คำสำคัญ (Tags): #aokk
หมายเลขบันทึก: 584128เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2015 16:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มกราคม 2015 16:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท