การทำให้สำเร็จ


การทำให้สำเร็จ คือระบบค้นหาความจริง แล้วจัดการอย่างเหมาะสม (Execution is a systematic way of exposing reality and acting on it.)

การทำให้สำเร็จ

Execution: The Discipline of Getting Things Done

พันเอก มารวย ส่งทานินทร์

[email protected]

16 มกราคม 2558

บทความเรื่อง การทำให้สำเร็จนำมาจากหนังสือเรื่อง Execution: The Discipline of Getting Things Done ประพันธ์โดย Larry Bossidy เขาเกิดในปี พ.ศ. 2478 เป็นอดีตประธาน และผู้บริหารสูงสุด Honeywell International และผู้ร่วมคิดค้น 6σ (six sigma) ค่าบรรยายครั้งละ $ 70,000

ผู้ที่สนใจเอกสารแบบ PowerPoint (PDF file) สามารถ Download ได้ที่ http://www.slideshare.net/maruay/execution-31373929

กุญแจสำคัญ

  • การทำให้สำเร็จเป็นหลักการ เป็นการบูรณาการกับแผนกลยุทธ์
  • การทำให้สำเร็จเป็นหน้าที่หลักของผู้นำ
  • การทำให้สำเร็จเป็นวัฒนธรรมขององค์กร

เกี่ยวกับหนังสือ

  • ตอนแรก - ทำไมต้องทำให้สำเร็จ
  • ตอนที่สอง - การสร้างความสำเร็จ
  • ตอนที่สาม - สามหลักการของความสำเร็จ

ตอนที่หนึ่ง - ทำไมต้องทำให้สำเร็จ ?

  • มีช่องว่างของสัญญา กับความจริงที่ทำได้
  • ทำให้ความน่าเชื่อถือลดลง ถ้าทำตามที่พูดไม่ได้
  • เป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหาร
  • เพราะกลยุทธ์มีไว้เพื่อปฏิบัติให้สำเร็จ

ทำไมกลยุทธ์ไม่ได้ผล ?

  • ไม่ปฏิบัติตาม
  • ไม่มีการติดตาม
  • ไม่ให้ความสำคัญของผลสำเร็จ

หน้าที่ของผู้นำ

  • คัดสรรผู้นำ (Picking other leaders)
  • วางแผนกลยุทธ์ (Setting the strategic direction)
  • ควบคุมแผนปฏิบัติการ (Conducting operation)

ผู้นำที่ประสบความสำเร็จ

  • รู้จักบุคลากรและพันธกิจขององค์กร
  • รู้และพูดในสิ่งที่เป็นจริง
  • รู้รายละเอียด
  • ตื่นตัวในการทำงาน
  • ต้องการผลลัพธ์

การทำให้สำเร็จ

  • ผู้นำต้องการคำอธิบายอย่างรู้จริง
  • โดยการตั้งคำถามว่า จะบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร ต้องใช้เวลาเท่าใด งบประมาณที่ใช้เท่าใด แล้วประโยชน์ที่ได้คืออะไร

ตอนที่สอง - หลักการสร้างความสำเร็จ

1.คุณสมบัติผู้นำเจ็ดประการ

2.การปรับเปลี่ยนโครงสร้างวัฒนธรรมองค์กร

3.หน้าที่สำคัญของผู้นำ - ใช้คนตรงกับงาน

1.คุณสมบัติผู้นำเจ็ดประการ (The leader's seven essential behaviors)

1.รู้จักบุคลากรและธุรกรรมขององค์กร (Know your people and your business)

  • รู้จักหน่วยงานทั้งหมด
  • มีการรู้จักบุคคลเป็นส่วนตัวด้วย
  • ต้องการมาช่วยเหลือมากกว่ามาจับผิด

2.ยืนหยัดบนความจริง (Insist on realism)

  • รู้จุดแข็ง จุดอ่อนขององค์กร
  • ความเป็นจริงเป็นอย่างไร ? เริ่มที่ตัวคุณเอง

3.ตั้งเป้าหมายชัดเจนและลำดับความสำคัญ (Set clear goals and priorities)

  • ตั้งเป้าหมายสำคัญเพียง 2-3 ประการ
  • พูดตรงไปตรงมา อธิบายอย่างง่าย ๆ
  • ใช้สามัญสำนึก

4.มีการติดตามผล (Follow through)

  • การติดตามผล เป็นหลักกิโลเมตรของความสำเร็จ
  • คำถามที่ใช้ในการติดตามคือ ใครเป็นคนทำ เมื่อไร อย่างไร ต้องใช้งบประมาณเท่าใด จะต้องรายงานการประชุมครั้งต่อไปเมื่อใด และกับใครบ้าง

5.ให้รางวัลคนตามผลงาน (Rewards the doers)

  • ควรให้รางวัลกับผู้ปฏิบัติงานตามผลงาน
  • รางวัลที่ให้ตามผลงาน ต้องโปร่งใสและเป็นธรรม

6.เพิ่มศักยภาพบุคลากร (Extend people's capabilities)

  • ความรู้เป็นสิ่งสำคัญ
  • 80 % ของการเรียนรู้ เกิดนอกห้องเรียน

7.รู้จักตนเอง (Know yourself)

  • ต้องมีอารมณ์ที่มั่นคงอดทน จึงจะได้ใช้คนสมดั่งใจ (Without emotional fortitude, you will have a hard time hiring the best people to work for you.)
  • มีอารมณ์ที่มั่นคงอดทน
    • ซื่อตรง (Authenticity) : ไม่หลอกลวง
    • ระวังตน (Self-awareness) : รู้ตนเอง
    • เรียนรู้ (Self-mastery) : หมั่นศึกษา
    • ถ่อมตน (Humility) : ไม่โอ้อวด

2.การปรับเปลี่ยนโครงสร้างวัฒนธรรมองค์กร (Creating the framework for cultural change)

ทำไมจึงเปลี่ยนวัฒนธรรมไม่ได้ ?

  • เพราะขาดการเชื่อมโยง กับการทำผลลัพธ์ให้ดีขึ้น (ขาดการเชื่อมโยงเข้ากับงานประจำที่ทำ)

ผู้นำจักต้อง

  • แน่วแน่
  • ให้รางวัลผู้ปฏิบัติ
  • เป็นผู้ฝึกสอนผู้คน
  • มีแผนงานและมีการติดตาม
  • เข้มแข็ง (มั่นคงในอารมณ์)

มีวิธีการสื่อสาร

  • อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
  • ใช้การประชุม การนำเสนอ บันทึกข้อความ จดหมายอิเล็กโทรนิก
  • เกี่ยวกับค่านิยมของผู้นำ
  • และสังเกตพฤติกรรมการพูดคุยของคนองค์กร

การพูดอย่างจริงจัง

  • ถ้าไม่พูดเอาจริง ก็ไม่สำเร็จ
  • เริ่มจากการเปิดใจคุยกัน อนุญาตมีการโต้แย้ง และการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง
  • การพูดอย่างเปิดเผย มีการตั้งคำถาม
  • ต้องการให้ใช้ความคิดวิเคราะห์
  • จบด้วยใครต้องทำอะไร เมื่อใด

หลักการทำให้สำเร็จโดย

  • การตั้งคำถาม
  • การวิเคราะห์และมีการติดตาม
  • มีหลักการที่ทำให้กลยุทธ์อยู่บนความจริง และสอดคล้องกับเป้าหมายและผลลัพธ์

งานของผู้นำ

  • คัดสรรผู้นำ (Picking other leaders)
  • ตั้งทิศทางกลยุทธ์ (Setting strategic direction)
  • ควบคุมการปฏิบัติงาน (Conducting operation)

แนวคิด

  • การทำให้สำเร็จ คือ การตั้งคำถาม และติดตามอย่างไม่ลดละ (Execution is a systematic process of rigorously questioning and tenaciously following through.)

คำถามใช้ติดตาม

  • คุณจะทำอย่างไร
  • จะต้องประสานงานกับใครบ้าง
  • ใช้งบประมาณเท่าใด
  • ระยะเวลาที่ใช้
  • มีผลอย่างไร ถ้าทำสำเร็จ

3.หน้าที่สำคัญของผู้นำ – ใช้คนตรงกับงาน (The job no leader should delegate – Having the right people in the right place)

ทำไมจึงใช้คนไม่ถูกกับงาน

  • ไม่รู้
  • ไม่กล้า
  • ไม่ไว้วางใจ
  • ท้ายสุด - ขาดความมุ่งมั่น

ควรมองหาคนประเภทใด

  • มีไฟ
  • ตัดสินใจเฉียบขาด
  • ฉลาดใช้ผู้อื่น
  • มีการติดตามงาน

วิธีดูคนให้เหมาะอย่างไร ?

  • เขาลำดับความสำคัญอย่างไร ?
  • เขามีสามารถด้านใด ?
  • ฟังความเห็นผู้อื่นหรือไม่ ?
  • นิสัยการทำงาน และความขยัน ?

ตอนที่สาม – สามหลักการของความสำเร็จ (บุคลากร กลยุทธ์ การปฏิบัติ)

ด้านบุคลากร (เชื่องโยงกับกลยุทธ์ และการปฏิบัติ)

เป้าหมายด้านบุคลากร

  • การประเมินแต่ละบุคคลอย่างถูกต้อง
  • การระบุและพัฒนาภาวะผู้นำ
  • แผนการสืบทอด

วิธีประเมินภาวะผู้นำ

  • เปรียบเทียบผลงาน และพฤติกรรม
  • ใครมีศักยภาพ ที่สมควรได้รับการเลื่อนตำแหน่ง

คะแนนทักษะ (ดีมาก มาตรฐาน ต่ำกว่ามาตรฐาน)

  • ความรู้เรื่องธุรกิจ
  • เน้นลูกค้า
  • มีแผนกลยุทธ์
  • วิสัยทัศน์ และ วัตถุประสงค์
  • ค่านิยมและศีลธรรม
  • การปฏิบัติ
  • ความมุ่งมั่น
  • ทำงานเป็นทีม
  • การค้นคว้า
  • ทีมงาน
  • การพัฒนาบุคลากร
  • ผลงาน

สรุปภาพรวมแต่ละบุคคล

  • ผลงานโดดเด่น
  • พลาดเป้าหมาย
  • สิ่งท้าทาย
  • จุดแข็ง
  • สิ่งที่ต้องพัฒนา
  • แผนการพัฒนา
  • ศักยภาพความก้าวหน้า (ระยะสั้น และระยะยาว)

ด้านกลยุทธ์ (เชื่อมโยงกับบุคลากร และการปฏิบัติ)

คำถามเรื่องกลยุทธ์

  • คุณรู้อะไรเกี่ยวกับตลาดและลูกค้า ? (โดยมากมักประเมินจากภายในองค์กรเอง)
  • กลยุทธ์ที่วางไว้สามารถทำให้สำเร็จอย่างไร ? (กลยุทธ์ล้มเหลวเนื่องจากผู้นำไม่ได้ประเมินสภาพตามที่เป็นจริง ว่าจะทำได้ตามแผนหรือไม่)
  • อะไรคือหลักกิโลเมตร (ตัววัด) ของแผนงานนี้ ? (หลักกิโลเมตรเป็นการนำกลยุทธ์สู่ความจริง)
  • ธุรกิจดำเนินต่อเนื่องได้อย่างไร ? (แผนกลยุทธ์ต้องวางไว้ให้สอดคล้องกับโครงสร้างหลักขององค์กร)

การทบทวนกลยุทธ์

  • เป็นแผนที่เป็นจริงและทำได้
  • มีความมั่นคงและสม่ำเสมอ
  • เหมาะสมกับงานหลักขององค์กร
  • บุคลากรมุ่งมั่นกับแผนที่วางไว้

คำถามเฉพาะของกลยุทธ์

  • เทียบหน่วยต่อหน่วยกับคู่แข่งเป็นอย่างไร ?
  • องค์กรมีความเข้มแข็งในการทำให้สำเร็จหรือไม่ ?
  • แผนกระจัดกระจายหรือไม่ ?
  • คัดเลือกแนวคิดดีแล้วหรือยัง ?
  • ความเชื่อมโยงกับบุคลากร และแผนปฏิบัติเป็นอย่างไร ?

การปฏิบัติ (เชื่อมโยงกับบุคลากร และกลยุทธ์)

สรุปง่าย ๆ

  • กลยุทธ์ = จะไปไหน
  • บุคลากร = ใครจะเป็นผู้ไป
  • การปฏิบัติ = แนวทางที่จะไป

แผนการปฏิบัติ

  • ผู้นำต้องรับผิดชอบ ในการทำแผนกลยุทธ์ไปสู่แผนปฏิบัติการ
  • ผู้นำต้องตั้งเป้าหมาย มีการเชื่อมโยงบุคลากร กลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการเข้าด้วยกัน
  • ผู้นำต้องควบคุม โดยการพูดอย่างเอาจริง และสอนผู้คนในการทำงาน

แผนงานกับงบประมาณ

  • โบราณ : แผนงานขึ้นกับงบประมาณที่จัดสรรให้
  • วิธีใหม่ : งบประมาณขึ้นกับแผนปฏิบัติการที่วางไว้ และแผนงานที่เกี่ยวเนื่องกัน

การสร้างแผนปฏิบัติการ

  • ตั้งเป้าหมาย
  • สร้างแผนปฏิบัติการ
  • วางแผนการติดตามงาน

หลังการประชุมทุกครั้ง

  • จบด้วยแผนการติดตามงาน
  • ผู้นำต้องแน่ใจว่า ผู้เข้าประชุมได้ข่าวสารที่ถูกต้อง และทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย (วิธีที่ดีหนึ่งคือ ส่งใบบันทึกถึงผู้ได้รับมอบหมาย เกี่ยวกับโครงการและรายละเอียดของข้อตกลง)

พูดความจริง

  • เราพูดถึงแผนปฏิบัติการ ไม่ได้พูดถึงความหวังหรือความฝัน นี่คือตัวเลขที่เป็นจริงในปัจจุบัน และนี่คือเป้าหมายที่เราจะต้องทำให้สำเร็จ

เป็นความท้าทาย

  • ถ้าคุณทำไม่สำเร็จตามที่พูด คุณจะทำร้ายตัวคุณเองและทีมของคุณทั้งหมด
  • ถ้าคุณต้องการทำให้ดีขึ้น ตัวคุณเอง เป็นคนตัดสินว่าคุณสามารถทำให้ดีได้เพียงใด

สรุป

  • การทำให้สำเร็จ คือระบบค้นหาความจริง แล้วจัดการอย่างเหมาะสม (Execution is a systematic way of exposing reality and acting on it.)
  • Execution is not just tactics – it is a discipline and a system. Larry Bossidy

*************************************************

หมายเลขบันทึก: 584050เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2015 19:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มกราคม 2015 19:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท