สวนพอเพียง ของลุงนัน 3 ไร่ ปลูกไม้ 1300 ต้น


"ต้องทำของดี ทำของแพง ของดีทุกคนอยากได้ ของแพงคนแย่งกันซื้อ" คือตลาดสินค้าคุณภาพลุงนัน

สวนอินทผาลัม ลุงนัน

หลังจากที่กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ปากพะยูน ได้ร่วมโครงการ พอเพียง ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ

พอเพียง ของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดพัทลุง ก็ได้รับงบประมาณมาหนุนเสริมกิจกรรม ผู้เขียนในฐานะ

ประธานกลุ่มเกษตร จึงต้องศึกษาดูพื้นที่ ที่ทำเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง พื้นที่แรกที่ลงไปศึกษา คือ สวน

สละลุงนัน บ้านในกลอย ตามข้อมูลที่ร่วมสรุปกันที่ สำนักงาน สหกรณ์จังหวัด บอกว่า ที่นี้มีการแปรรูป

สละลอยแก้ว

ผู้เขียนจึงได้ประสานทีมงานเพื่อลงพื้นที่พร้อมกัน

มีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

สภาพัฒนาการเมืองพัทลุง

สภาองค์กรชุมชนพัทลุง

TPBS ไทยพีบีเอส


และนักข่าวพลเมืองชุมชน

บูรณาการ (พลอยกัน)ไปบ้านลุงนัน



บูรณาการ(พลอย)กันเป็นทีม ไม่ให้เสียเวลาทำมาหากินของพื้นที่ที่ไปศึกษา

ดูงาน ณ.บ้านลุงนัน ชูเอียด ลุงนันได้เล่าให้ฟังว่า คนชนบทมีความพอเพียงเป็นทุนเดิม แต่ถูกแรงเหวียง

ของการพัฒนาและกระแสสังคม ทำให้หลักหลุดลอยไปจากความพอเพียง คนบ้านในกลอยส่วนใหญ่

อบยพมา จากพัลุงหลายครัวเรือน มาทำเกษตร ทำนา ในพื้นที่รวม500 กว่าไร่ ลุงนันก็ทำนาตามฤดูกาล

ได้แบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งปลูกยาง เมื่อยางราคาตกก็โค่นยางมาปลูกทุเรียน ปาล์ม มาสรุปความคดว่า พืช

สวนผลไม้ ให้ผลผลิตตามฤดูกาล รายได้ก็ได้ตามฤดูกาล และผลผลิตก็ออกมาพร้อมกัน ทำให้ราคาตก

จึงมาคิดหาหนทางสร้างรายได้ให้มีความมั่นคงตลอด ปี

ไปศึกษาดูงานการปลูกสละ ได้คำตอบว่า สละให้ผลผลิตตลอดปี ก่อนปลูกสละก็คิด ตอบโจทย์ตัว

เองว่า จะเดินไปทางไหนในเศรษฐกิจพอเพียง ตอบโจทย์ตัวเอง ตอบโจทย์สังคม ได้ข้อสรุปว่า พืช

เชิงเดี่ยวอยู่ไม่ได้ ทำนาก็มีหนี้ ปลูกยางก็มีหนี้ ทำสวนทุเรียนก็มีหนี้ เพราะเราไม่ได้กำหนดราคาผลผลิต

ของตัวเอง

ลุงนัน เสื้อขาว กำลังให้คำแนะนำ การปลูกสละพันธ์สุมาลี

ปลูกยาง 1 ไร่ ให้ผลผลิตประมาณ 17000 ถึง 20000 บาทต่อไร่

ปาล์มให้ผลผลิต ประมาณ 20000บาทต่อไร่ต่อปี ตอบโจทย์ตัวเองได้จึงลงมือปลูกสละ ปัจจุบัน 60%

ของครัวเรือนที่ปลูกสละทั้งพุทธและมุสลิมอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และปลูกผักเหลียงเป็นพืชร่วมสละ จุด

เปลี่ยนของชุมชนคือรายได้ มีความ

หลากหลายเป็นตัวเกื้อกูล

"มีกติกาของการมาดูงานว่า ห้ามนำขยะมาในพื้นที่" หมายถึงห้ามนำข้าวห่อ

มากิน มาที่นี้ต้องกินของที่นี้ ผักเหลียงเป็นอาหารที่ทุกคนชอบ เมื่อชอบแล้ว ก็ซื้อผัก ซื้อกล้าพันธ์ผักเห

ลี่ยงไปปลูกต่อ ผลิตสินค้าคุณภาพ เดิมทีปลูกก่อนหาตลาด ปัจจุบันหาตลาดแล้วปลูก สละลุงนั้น

ขึ้นห้างเทสโก้ โกตัส แมคโคร ลุงนันบอก

"ต้องทำของดี ทำของแพง ของดีทุกคนอยากได้ ของแพงคนแย่งกันซื้อ"

คือตลาดสินค้าคุณภาพลุงนัน แล้วลุงนันก็ชวนทีมงานไปชม แปลงสละตัวใหม่ที่นำมาปลูกคือ พันธ์

สุมาลี ในเนื้อที่ 3 ไร่ ปลูกไม้ 1300 ต้น มีสละสุมาลี นำ ตามด้วยหมาก และต้นจำปา มะละกอ กล้วยเป็น

ตัวตาม แล้วทำรายได้กับผักเหลียง รวมกัน 1300 ต้นในเนื้อที่ 3ไร่

ลุงนันฝากไว้ว่า วันนี้ต้องทำให้

อำเภอป่าบอน พอเพียงทั้งอำเภอ เป็นป่าบอนโมเดล ป่าบอนศูนย์การเรียนรู้ ใครทำอะไรก็มาเรียนรู้กัน

ได้ เจ้าภาพต้องเป็นอำเภอ ที่ผ่านมาเป็นเพียงส่วนตัว เพียง สวนสละลุงนัน ศูนย์เรียนรู้ในกลอย มันเล็ก

ไป เศรษฐกิจพอเพียงต้องขยายให้ทั่วอำเภอ ทั่วประเทศ เป็นความมั่นคงทางด้านอาหารของประเทศ

เกิดเภทภัยพิบัติ เราอยู่ได้เรามีผลผลิตทางเกษตร ประเทศปลอดภัย ก็หวังว่าจะได้เห็นโมเดลป่าบอนพอ

เพียงในไม่ช้านี้ ชาวป่าบอนช่วยกันสานฝันให้ลุงนันกัน

วิวัฒน์ หนูมาก สพม.พัทลุง พี่ใหญ่ของน้องๆ

ชิมสดจากต้น


ผักเหลียง("ผักหลากชื่อ มีชื่อเสียง ที่ปักษ์ใต้

ทุกคนได้ ลองชิม หรอยราสา

บ้างเรียกผัก เขรียง เหมรียง เหลียง เรียงกันมา

เอาเป็นว่า ชื่อนั้น สำคัญไฉน" ให้มันหรอย ให้มันหร)


ต้นจำปา

สละพันธ์สุมาลี

นี้คนเฝ้าสวน เปดเพลงให้สวนฟังทั้งปี

หมายเลขบันทึก: 582975เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2014 06:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 ธันวาคม 2014 07:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

ชอบครับที่เปิดเพลงให้พืชฟัง..

สวัสดีค่ะท่านวอญ่า ชอบอ่านเรื่องนี้มากค่ะ ปลูกพืชเชิงเดี่ยวเป็นการเสียโอกาสเหมือนกันนะคะ เดี๋ยวคงมีคนเปลี่ยนแนวคิดเป็นปลูกแบบพหุพืชมากขึ้น ปลูกของแพงคนแย่งกันซื้อ น่าจะจริง เข้าห้างเห็นพืชผัก ผลไม้จากต่างประเทศ (ไม่ใช่จีน) ราคาแพงแสนแพงก็ยังขายได้

ผักเหลียงผัดไข่หรอยจั่งฮู้ ค่ะ

ชอบใจตรงที่มีผักผลไม้หลายอย่างมากๆ

ดีใจที่ชาวป่าบอนจะทำแบบนี้บ้างครับ

ขอบคุณบังมากๆ

ปีใหม่ว่างช่วงไหนบ้างครับ

แวะมาสวัสดีปีใหม่เจ้าค่ะ..ท่าน วอญ่า ผู้เฒ่า."ขอให้ท่านจงประสพแด่ความสุขสมหวังกับการทำงานและมีสุขภาพดีๆตลอดไป..

มีรักมาฝากมีดอกไม้มามอบให้..

ยายธีค่ะ..

(ชอบบันทึกนี้ค่ะ)

ขอบคุณ ท่าน ส.รตนภักดิ์

ลุงนัน ลองผิดลองถูกมาหลายอย่างในการ ทำสวน

สุดท้ายก็พบว่าปลูกพืชที่เกื้อกูลกัน ปรับสภาพดินตามธรรมชาติ

สวัสดีอาจารย์ GD

พัทลุงเมืองเกษตรสีเขียว

ตอนนี้ลงเก็บข้อมูล เกษตรกร ที่ทำเกษตรแบบพอเพียง

และลดการทำเกษตรเคมี

เปิดพื้นที่เกษตรธรรมชาติ สร้างตลาดพืชผักปลอดสารพิษ

ที่คิดและทำโดยชุมชน

สวัสดีท่านอาจารย์ ขจิต

หลังปีใหม่คงได้มีเวลา แวะไปเยี่ยมหมอเปิ้ล

แล้วจะนัดหมายอีกทีครับ

ขอบคุณ ยายธี

คงมีโอกาสได้สนทนาเรื่องเกษตร เรื่องต้นไม้

คุณยายธีกลับเมืองไทย อยากไปเยี่ยมสวนคุณยาย

สวัสดีน้องมะเดื่อ

ชอบบรรยากาศ สวนผลไม้ วันหลังจะพาไปชมสวนลุงนัน

ขอส่งสุขภาวะปีใหม่ด้วยความเคารพ นับถือ และขอบพระคุณมากครับผม

ส่งความงดงามมาเติมสุขจากธรรมชาติเนื่องในปีใหม่ ขอตั้งจิตอธิษฐาน ให้ผู้เป็นกัลยาณมิตร เป็นเครือญาติ เป็นครูแห่งชีวิต ผู้ตั้งมั่นในความดี เข้าถึงความเย็นใจ ทุกเมื่อทุกวัน


สวัสดีปีใหม่ อาจารย์ป็อบ

แม้ไม่เคยพบ ก็คุ้นชิน ทางบันทึก

ขอส่งความ ปราถานาดี ด้วยสำนึก

ที่ได้เรียนรู้ จากบันทึก อาจารย์ป็อบ

สวัสดีปีใหม่ ครับคุณหมอเจ๊

ขอให้คุณหมอและครอบครัว มีความสุข มีสุขภาพดี

สวัสดีปีใหม่ 2558 เช่นกันครับNursing Administration

ปีนี้เกษียณแล้ว แต่ยังคงรับใช้ สธอยู่ในคณะกรรมการ สช

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท