ไอที


ไอทีกับการเรียนรู้
ไอทีกับการเรียนรู้                   ไอซีทีนั้น หากมองกันให้ลึกซึ้งจริงๆแล้ว การจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด สำหรับการเรียนการสอนนั้น ไม่ใช่เรื่องที่จะทำกันได้ง่ายๆ การจะนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นสื่อ ในการเรียนกโดยเฉพาะเพื่อให้สอดคล้องกับการศึกษาของเยาวชนไทย จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาแนวทางประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เพื่อนำมาปรับใช้กับระบบการศึกษาของไทย               ประเทศไทย กับ สาธารณรัฐสิงคโปร์นั้น มีการร่วมมือด้านการศึกษากันมาตั้งแต่ พ.ศ. 2542 และมีการเจรจาความร่วมมือแบบ ทวิภาคีมาโดยตลอด ซึ่งโดยภาพรวมจะเน้น ไปที่การพัฒนาครู ความร่วมมือในการส่งครู มาสอนภาษาจีนที่ประเทศไทย และการให้ทุนศึกษาต่อยัง สาธารณรัฐสิงคโปร์              แต่การเดินทางเยือนสาธารณรัฐสิงคโปร์ครั้งนี้ เป้าหมายชัดเจน คือ ต้องการศึกษาด้าน เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในระบบ การศึกษาของสาธารณรัฐสิงคโปร์ล้วนๆ เพื่อเรียนรู้ถึงวิธีการ ประยุกต์ใช้กับระบบการศึกษา การเรียนรู้ ตลอดจนการสร้างความน่าสนใจใน การเรียนการสอนแต่ละระดับชั้น หรือแต่ละภาคส่วนของการศึกษาได้อย่างดี             ศูนย์ ไบโอโปลิสซึ่งเป็นศูนย์ที่ผลิตนักวิจัยของสาธารณรัฐสิงคโปร์, พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์, โรงเรียน “Crecent Girls School”, โรงเรียนประถมศึกษา Nan Chiau, สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมครูของสิงคโปร์ หรือ National Institute of Education, มหาวิทยาลัยแห่งชาติของสิงคโปร์ (NUS), Nanyang Polytechnic และห้องสมุดแห่งชาติของสิงคโปร์ คือจุดที่คณะได้ ไปเยี่ยมชม       สิ่งหนึ่งที่ทีมการศึกษาสัมผัสได้ และมองว่าน่าจะเป็นจุดหนึ่งที่ทำให้ ระบบการศึกษาของ สาธารณรัฐสิงคโปร์ มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ อย่างแพร่หลาย คือ การให้ความสนับสนุน ของบริษัทเอกชน ซึ่งก็จะหมายถึงการเข้ามาของเงินทุนสนับสนุนด้วย แต่เมื่อหันกลับมามองที่ประเทศไทย เรื่องความสนับสนุนของบริษัทเอกชน แทบจะเรียกได้ว่าเกือบจะมองไม่เห็นเอาเลยทีเดียว       “ไอทีกับการศึกษา จะต้องมีการผลิต สื่อการเรียนการสอนทันสมัย รวมทั้งการอบรมพัฒนาครู ให้ใช้สื่อที่ทันสมัยใหม่ได้นั้น เราต้องทำแข่งกับเวลา เพราะต้องทำให้ทัน กับการแจกคอมพิวเตอร์ 250,000 เครื่อง ให้กับโรงเรียนตามพื้นที่ ห่างไกลทั่วประเทศ แม้จะไม่สมบูรณ์ในช่วงแรก แต่จำเป็นต้องรีบทำเท่าที่จะทำได้ โดยหลักๆจะต้องให้ครูมีความเข้าใจ ในโปรแกรม ในวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ซึ่งสามารถขอลิขสิทธิ์จากต่างประเทศได้เลย ส่วนวิชาที่ต้องใช้ภาษาไทยนั้น เราจะต้องพัฒนาขึ้นมาเอง ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลา                         นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ ยอมรับว่าการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นแรงกระตุ้นให้เด็กเกิดการอยากเรียนรู้เป็นเรื่องสำคัญ และเมื่อมองในภาพรวมของโรงเรียนชั้นนำของสิงคโปร์ สิ่งที่ยังแตกต่างจากของไทย คือ เรื่องของการพัฒนาครู และเรื่องนำเทคโนโลยี มาใช้ในการเรียนการสอน โดยเฉพาะการพัฒนาครู ที่สิงคโปร์จะให้มีการ อบรมครูทุกคน คนละ 100 ชั่วโมงต่อปี ทุกปี และอัตราส่วนครูต่อนักเรียน คือ 1 : 12.5 ขณะที่ประเทศไทยนั้น ครูทุกคน หรือส่วนใหญ่จะอบรม กันแค่ครั้งเดียว และเพียง 30 ชั่วโมงเท่านั้น แถมมีอัตราส่วนอยู่ที่ 1 : 25       “ส่วนในเรื่องเทคโนโลยี ต้องยอมรับในเรื่องนี้ เพราะบางโรงเรียนมีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ แทป เลต พีซี ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์คล้ายกับ โน้ตบุ๊ก แต่สามารถใช้ปากกาที่ติดมากับ ตัวเครื่องเขียนบนจอภาพได้ มาให้นักเรียนใช้เรียนและในพื้นที่ในโรงเรียนจะมีระบบไวร์เลส ซึ่งถ้านักเรียนมีคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก จะสามารถเชื่อมเข้าระบบอินเตอร์เน็ตได้ทุกที่ในโรงเรียนทีมการศึกษา เห็นด้วยเต็มที่ และมองว่าเป็นเรื่องที่ดี กับการ ที่กระทรวงศึกษาธิการจะนำเทคโนโลยีด้านต่างๆมาใช้ในการเรียนการ สอน แต่ก็ควรที่จะนำมาใช้ตามความเหมาะสม             เพราะคงไม่มีใครปฏิเสธว่า การศึกษานั้นต้องมีการพัฒนา ไปตามยุคสมัย และหากหยุดอยู่กับที่ ก็ไม่ต่างจากการถอยหลังลงคลอง สิ่งที่เราห่วงและไม่ต้องการ ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย คือ การหลงใหลกับเทคโนโลยี จนลืมการเรียนการสอนที่มีค่า และไม่มีเทคโนโลยีใด จะมาทดแทนส่วนนี้ได้ นั่นคือ ความเชื่อมั่น เคารพ รัก และศรัทธาระหว่างศิษย์กับครูเพราะเราเชื่อว่าไม่ว่าโลกจะทันสมัยเพียงใด ครูยังต้องเป็นหัวใจ หลักในการสร้างเยาวชนของชาติ โดยเฉพาะเรื่องจิตสำนึก คุณธรรม และจริยธรรม        และไม่ว่าจะกี่ยุคกี่สมัย คอมพิวเตอร์ก็คือเครื่องจักร ไม่ รู้สึกรู้สม และห่วงใยศิษย์เหมือนกับคนเป็นครูแน่นอน!!!!  อ้างอิงจาก  http://dek-d.com/content/view.php?id=293
หมายเลขบันทึก: 58259เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2006 20:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดี ครับ

มาเรียนรู้...นะครับ

พ่อเคยบอกว่า...ญาติพี่น้องทางพ่ออยู่ที่นี่หลายคน

....

ไอที...ทำให้ คนที่เป็นทั้งญาติ และไม่ใช่ญาติ ได้มาเรียนรู้ร่วมกัน

สิ่งที่ได้... หากคิดและมองให้ลึกแล้ว กลับไปไปได้มากกว่า... ญาติ

ขอบพระคุณ ครับ

 

สิ่งที่ได้... หากคิดและมองให้ลึกแล้ว กลับไปเป็นไปได้มากกว่า... ญาติ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท