๖ เทคนิคบริหาร (สุขภาพ) ใจ


บริหารสุขภาพใจด้วย ๖ เทคนิคเป็นประจำ รับรองว่าอารมณ์ดี ไม่มีความเครียด

เป็นที่รู้กันดีว่า หากอยากเป็นเจ้าของสุขภาพกายแข็งแรง ต้องหมั่นออกกำลังกาย เช่นเดียวกับสุขภาพใจ ที่ต้องหมั่นฝึกฝนให้เป็นผู้ที่มีสุขภาพจิตดีเสมอ

เทคนิคบริหารใจ เพื่อลดความตึงเครียดและเสริมกำลังใจให้เข้มแข็ง ดังนี้

๑. ออกกำลังกาย การได้เคลื่อนไหวร่างกายจะช่วยระบายความเครียด เพิ่มความแข็งแรงของหัวใจ เสริมการทำงานของระบบไหลเวียนเลือด และกระตุ้นการหลั่งสารเคมีแห่งความสุขในสมอง

๒. ชื่นชมความงามรอบตัว มองหาความงามรอบตัว เช่น ความงามจากธรรมชาติ และความงามของคน วิธีนี้ช่วยฝึกให้มองเห็นข้อดีของผู้อื่นและสิ่งรอบตัว ลดความเกลียดชังและอคติต่อเพื่อนมนุษย์

๓. แสดงน้ำใจ กล่าวคำขอบคุณหรือมอบน้ำใจให้ผู้อื่น ทั้งที่รู้จักและไม่รู้จัก เช่น กล่าวขอบคุณพนักงานเสิร์ฟอาหาร สละที่นั่งให้คนชรา การแสดงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น ช่วยสร้างความรู้สึกดีๆให้แก่ตัวเอง คนรอบข้าง และสร้างสังคมให้น่าอยู่

๔. คิดสร้างสรรค์ ทำกิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น วาดรูป ร้องเพลง เขียนบทกลอน เป็นต้น เพื่อกระตุ้นจินตนาการ สร้างความแปลกใหม่ให้ชีวิตประจำวัน

๕. ให้อภัย ความโกรธแค้นเป็นปัจจัยทำลายสุขภาพจิต เพราะบั่นทอนอารมณ์และสร้างความขุ่นมัวในใจ การให้อภัยจึงช่วยยกระดับจิตใจ ลดความโกรธ และเพิ่มพลังด้านดีในชีวิต

๖. หัวเราะ การหัวเราะลดความดันโลหิต กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ลดปริมาณฮอร์โมนคอร์ติซอล ฮอร์โมนแห่งความเครียด

บริหารสุขภาพใจด้วย ๖ เทคนิคข้างต้นเป็นประจำ รับรองว่าอารมณ์ดี ไม่มีความเครียดค่ะ

ที่มา : ผานิต ธนะสุข. "๖ เทคนิคบริหาร(สุขภาพ) ใจ".ชีวจิต. ๑๖, ๓๖๑ (๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๖) หน้า ๒๐

หมายเลขบันทึก: 582467เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2014 13:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ธันวาคม 2014 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จะทำให้ได้บ่อย ๆ นะคะ ดีแน่ ๆ ^_,^ ขอบคุณค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท