ประเด็นที่ควรบัญญัติไว้ในร่างรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับพรบ.บุคคลส่วนท้องถิ่น


ประเด็นที่ควรบัญญัติไว้ในร่างรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับพรบ.บุคคลส่วนท้องถิ่น

ประเด็นที่ควรบัญญัติไว้ในร่างรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับพรบ.บุคคลส่วนท้องถิ่น

สรณะ เทพเนาว์ [1], ๔ ธันวาคม ๒๕๕๗.

เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. ในที่ประชุมคณะกรรมาธิการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น (กมธ.) โดย นายทนงศักดิ์ ทวีทอง รองประธาน กมธ. คนที่สอง ปฏิบัติหน้าที่แทนประธาน กมธ. ณ ห้อง ๒๑๓-๒๑๔ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๒

นายสรณะ เทพเนาว์ สมาชิกสภาปฏิรูป ด้านการปกครองท้องถิ่น ได้นำเสนอต่อ ที่ประชุม กมธ. "ประเด็นที่ควรบัญญัติไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ" ตามหลักการเดิม ตามมาตรา ๒๘๘

สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๗ ๑๔.๐๐ น. ที่ประชุมคณะอนุกรรมาธิการพิจารณากรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญ การกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่น คณะที่ ๖ ครั้งที่ ๔/๒๕๕๗ โดย ศ.ดร.นพ. กระแส ชนะวงศ์ ประธาน อนุกรรมาธิการฯ ยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยการนำเสนอของกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ ทั้ง รศ.ดร.วุฒิสาร ตันไชย สปช.ด้านการปกครองท้องถิ่น และ ศ.ดร.จรัส สุวรรณมาลา สปช.ด้านการปกครองท้องถิ่น มิได้มีการกล่าวถึงหลักการที่ได้เคยมีบรรจุไว้ใน รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๐ และ ๒๕๕๐ เดิม มาตรา ๒๘๘ คือ

ดูของเดิม ดังนี้

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๒๘๘ "การแต่งตั้งและการให้พนักงานและลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ้นจากตำแหน่ง ต้องเป็นไปตามความต้องการและความเหมาะสมของแต่ละท้องถิ่นและต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการพนักงานส่วนท้องถิ่นก่อน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

คณะกรรมการพนักงานส่วนท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง จะต้องประกอบด้วยผู้แทนของหน่วย ราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยมีจำนวนเท่ากัน

การโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน และการลงโทษพนักงานและลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ"

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๘๘ "การแต่งตั้งและการให้พนักงานและลูกจ้างขององค์ กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่ง ต้องเป็นไปตามความต้อง การและความเหมาะสมของแต่ละท้องถิ่นและต้องได้รับความเห็นชอบ จากคณะกรรมการพนักงานส่วนท้องถิ่นก่อน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

คณะกรรมการพนักงานส่วนท้องถิ่นตามวรรคหนึ่งจะต้องประกอบ ด้วยผู้แทนของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยมีจำนวนเท่ากัน

การโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน และการลงโทษพนักงานและลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ"

จากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๘๘ ดังกล่าว ได้ระบุฐานที่มาในการออกกฎหมายระเบียบการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นไว้เฉพาะในเรื่อง (รัฐธรรมนูญกำหนดไว้เพียง ๖ ประการ) คือ (๑) การแต่งตั้ง (๒) การให้พ้น (๓) การโยกย้าย (๔) การเลื่อนตำแหน่ง (๕) การเลื่อนเงินเดือน (๖) การลงโทษ

เป็นที่น่ายินดีว่า ต่อมา คณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น ซึ่งมี นายพงศ์โพยม วาศภูติ ประธาน กมธ.การปกครองท้องถิ่น ได้พิจารณาความเห็นและข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ในการจัดทำรัฐธรรมนูญ "กลุ่มประเด็นด้านการปกครองถิ่น" หัวข้อที่ ๖ : "ระบบการบริหารงานบุคคล"กรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญ ได้เห็นชอบให้บัญญัติ หลักการเดิมตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๘๘ ไว้ใน "ร่างรัฐธรรมนูญปัจจุบัน" แล้ว

ทั้งนี้ ขอขอบคุณด้วยแรงผลักดันร่วมจาก สปช. ที่มาจากสายตัวแทนของ อปท. เช่น นายกฯ ส.ท.ท. นายเกรียงไกร ภูมิเหล่าแจ้ง นายธีรศักดิ์ พานิชวิทย์ เลขาธิการสมาคม อบต.แห่งประเทศไทย สปช.สายจังหวัดฯลฯ และสายนักวิชาการบางส่วน นายเชื้อ ฮั่นจินดา สมาพันธ์ปลัด อบต. แห่งประเทศไทย ที่ได้ร่วมเห็นด้วยสนับสนุนถึงความจำเป็นที่ต้องมีการบัญญัติหลักการดังกล่าว "ไว้ในรัฐธรรมนูญ" ด้วย เพื่อเป็นหลักประกันว่า รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายแม่บท ที่ต้องนำมีการตราบัญญัติเป็นกฎหมายลูกในรูปของ "พระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น" ตามเจตนารมณ์ของร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ต่อไป ทั้งนี้ ผู้เขียนได้นำเรียนท่านปรีชา วัชราภัย สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) อดีต เลขาธิการ ก.พ. และ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทราบและเห็นชอบด้วยแล้ว

ผู้เขียนค่อนข้างเห็นด้วยกับ ดร.วิษณุ เครืองาม ที่ว่า หัวใจของการพัฒนาประเทศไทยไปสู่ความยั่งยืนมี ๕ ข้อหลัก มีพิมพ์เขียว มีโรดแมปแม่น้ำ ๕ สาย "การทำทันที ทำต่อไป ทำอย่างยั่งยืน ทั้งต้นทาง กลาง ปลายทาง ไม่ใช่ทำแค่ต้นทางแล้วเลือกตั้งเลย สุดท้ายก็พัง ไปไม่รอด" [2]

++++++++++++++++++++++++++

หมายเหตุ

คนท้องถิ่นควรตระหนักถึง เหตุการณ์ในอดีตที่นักการเมืองไม่สนใจกฎหมายลูกร่าง พ.ร.บ. ๔ ฉบับ ของท้องถิ่นที่ประกอบตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐ ตามมาตรา ๓๐๕ (๗) ทำให้ท้องถิ่นไม่ก้าวหน้า ผู้เขียนคงไม่หวนถึงอดีตที่ผ่านมา ผู้เขียนพร้อมที่จะเดินหน้าสู่การปฏิรูปการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีในอนาคต [3]


[1] สรณะ เทพเนาว์, สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ด้านการปกครองท้องถิ่น, นายกสมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย, ปลัดเทศบาลตำบลแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน, ข่าวหนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน ฉบับวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๗ ปีที่ ๖๕ ฉบับที่ ๒๒๕๐๑ หน้า ๑๐ คอลัม <การเมืองท้องถิ่น> : บทความพิเศษ #ประเด็นที่ควรบัญญัติไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ

[2] "วิษณุ"ย้ำ 5 ข้อหัวใจสำคัญพัฒนาประเทศสู่ความยั่งยืน, ASTVผู้จัดการออนไลน์, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๗, http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9570000137708& ลม เปลี่ยนทิศ, "การเลือกตั้งเร็วก็พังเร็ว", ในไทยรัฐออนไลน์ หมายเหตุประเทศไทย , ๑ ธันวาคม ๒๕๕๗,
http://m.thairath.co.th/content/466365

[3] ดู "กฎหมายรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๘๘ วรรค ๓ และมาตร ๓๐๕(๗) เกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น", ใน ถาม-ตอบกับมีชัย, ๑๗ กันยายน ๒๕๕๑.

http://www.meechaithailand.com/ver1/?module=4&action=view&id=030983และ เมื่อ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕, http://www.meechaithailand.com/ver1/?module=4&action=view&id=046210


หมายเลขบันทึก: 581742เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2014 00:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 ธันวาคม 2014 19:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท