โรงเรียนในฝัน


การศึกษาไทยทำโรงเรียนในฝันกันแปลกๆ คือ ไม่ได้ทำมาจากภายใน คือ คนที่อยู่ในองค์กรทุกคน ย่อมต้องมีหน้าที่โดยตรงที่ต้องทำให้เกิดภาพที่ฝันไว้..สร้างฝัน หรือสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน แต่กลับกลายให้คนข้างบนเป็นผู้กำหนด มันจึงผิดทิศผิดทาง ผิดลู่ผิดเหลี่ยมกันไปได้ใหญ่โต..เลิกกันเสียทีได้ไหม

คำนี้เป็นมงคลดีนะครับ ฟังแล้วเคลิ้มดี เป็นฝันของครู หรือไม่ก็ทำให้เป็นฝันของเด็กที่สัมผัสได้ในโรงเรียน ในชุมชนท้องถิ่นที่เขาอาศัยอยู่ ทำให้มันเกิดขึ้นได้จริง ที่ไม่ต้องลงทุนสูง เป็นธรรมชาติและพอเพียง

ในปัจจุบัน เป็นที่กล่าวขาน และตลกขบขัน ถึงคำว่าโรงเรียนในฝัน หรือโรงเรียนดีศรีตำบล อะไรทำนองนี้แหละ บ้างก็ว่า เป็นแค่เพียง "นายฝัน" หรือไม่ก็ฝันแค่วันเดียว คือวันที่นายหรือกรรมการมาตรวจ

การศึกษาไทยทำโรงเรียนในฝันกันแปลกๆ คือ ไม่ได้ทำมาจากภายใน คือ คนที่อยู่ในองค์กรทุกคน ย่อมต้องมีหน้าที่โดยตรงที่ต้องทำให้เกิดภาพที่ฝันไว้..สร้างฝัน หรือสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน แต่กลับกลายให้คนข้างบนเป็นผู้กำหนด มันจึงผิดทิศผิดทาง ผิดลู่ผิดเหลี่ยมกันไปได้ใหญ่โต..เลิกกันเสียทีได้ไหม

เช่น พอกำหนดโรงเรียนนี้ว่าเป็นโรงเรียนในฝัน..โรงเรียนก็ไประดมทุน เป็นหนี้เป็นสิน เตรียมรับการประเมินแบบอลังการงานสร้างเพื่อให้ผ่านการประเมิน จากนั้นพอผ่านการประเมิน ก็ได้งบมากมาย อยากทำอะไรก็ได้ทำ อยากมีอะไรก็มีได้ดั่งประสงค์..แต่ขอโทษสิ่งที่หายากคือ "คุณภาพ" โดยเฉพาะโรงเรียนในสังกัด "สพฐ" เพราะเมื่อเป็นโรงเรียนดีมีคุณภาพ ตามชื่อที่เปลี่ยนกันไป และมีงบประมาณสนับสนุนอย่างนี้ต้องดี๑๐๐ % จึงเรียกว่าคุ้มทุน แต่ที่ไหนได้..บทสรุปของโรงเรียนเหล่านี้ กลับไม่ได้แตกต่างกับโรงเรียนธรรมดาทั่วไป ไม่ว่าจะผลโอเน็ต ผลประเมินสมศ. สถานศึกษาพอเพียง..งานวิจัยในชั้นเรียนและทักษะอาชีพ ฯลฯ

ทำไมไม่ไปสุ่มตรวจ แบบไม่บอกกันล่วงหน้าบ้าง เมื่อกรรมการกลับไปแล้ว ยังฝันกันอยู่หรือเปล่า ถ้ายังเอาแต่ฝันกันอยู่ แล้วไม่พัฒนางาน จะแขวนกันบ้างได้ใหม ..ประเภทว่า ผู้บริหารไม่ชอบอยู่โรงเรียน เดินตามนาย เดินตามก้นนักการเมือง มีธุระกิจอื่นแอบแฝง แถมโรงเรียนสกปรก ไม่มีบรรยากาศทางวิชาการ ครูไม่พัฒนางาน มีแต่จับกลุ่มนินทา และบ้าหวย...ขอป้ายชื่อโรงเรียน......คืนเลย แล้วไปประเมินโรงเรียนอื่นบ้าง เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษา

ร่ายมาซะยาว เพื่่อจะบอกว่า ผมกำลังทำโรงเรียนบ้านนอก ให้เป็นโรงเรียนในฝัน..ถามเด็กว่า เธอมีชุดสวยๆใส่ไหม...เด็กทำหน้างง งง ชุดที่เธอใส่ไปเที่ยวในเมืองน่ะ ใส่ไปเที่ยวงานปิดทองก็ได้ หรือที่เธอชอบใส่มางานวันเด็ก สรุปแล้วเด็กเข้าใจและมีกันทุกคน และใส่ปีละไม่กี่ครั้ง พับไว้ในตู้อย่างเรียบร้อยสวยงาม นานๆใส่ที แทบจะนับครั้งได้

อย่ากระนั้นเลย..ต่อไปนี้ ให้พวกเธอทุกคนใส่มาโรงเรียนทุกวันอังคาร ครูต้องการเห็นสีสันอันสดใสภายในโรงเรียน จะได้มองดูมีชีวิตชีวา ดังนั้น แต่ละวันจึงแต่งสลับกันไป วันจันทร์เสื้อขาว วันอังคารหลากสี วันพุธเสื้อกีฬา วันพฤหัสลูกเสือ วันศุกร์ผ้าไทย

โรงเรียนในฝัน..มันอยู่ที่วิธีคิด โดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง สร้างความสุขให้เด็กๆ แล้วเขาจะเกิดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน เกิดความภูมิใจในตนเองและรู้จักตนเองมากขึ้น..ภายใต้การกำกับดูแลของครู

ท้ายที่สุด..คุณครูถามว่า จะดีหรือคะ ผอ...วันอังคารนี้ มีคนมาศึกษาดูงาน..ก็เลยบอกไปว่า ดีที่สุดเลย เป้าหมายเราอยู่ที่ความสุขของเด็ก อยู่ที่องค์กรของเราที่กำลังเปลี่ยนแปลง มิใช่อยู่ที่หน้าตา หรือผักชีที่ชอบโรยหน้า..การศึกษาไทย

ชยันต์ เพชรศรีจันทร์

๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๗

</span></strong>

หมายเลขบันทึก: 581321เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2014 21:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2014 21:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

โรงเรียนนายฝัน

Another 'reform' coming to children from the top. When do we allow children to grow?

"ผักชีที่ชอบโรยหน้า."เป็นการกระทําที่เห็นได้เกือบทุกหน่วยราชการ และผู้นําในองค์กรณ์ชอบกันครับ

ชื่อ..แปลกดี"นาย ฝัน"เด็กๆที่เรียน.รร.นี้.คงมีบรรพบรุษเป็น..ทาส..เลยมาทิ้งท้าย.นาย มาฝันทิ้งท้าย..อิอิ

โรงเรียนของเรา

ครูนักเรียนชุมชนต้องฝันและทำเองครับ

สู้ๆครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท