เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร และการเขียนแผนภาพDFD


เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร

การใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network) อินทราเน็ต (intranet) อินเทอร์เน็ต (internet) เอ็กทราเน็ต (extranet) และเว็บบล็อก (web blog) รวมถึงเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่เช่น IPTV และเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย (mobile communication) ในรูปแบบต่างๆ เช่น การเรียนรู้ผ่านโทรศัพท์มือถือ (m-learning)

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

การใช้งานคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันได้มีการเชื่อต่อเป็นระบบเครือข่ายแทบทั้งสิ้น เพื่อให้สามารถเข้าถึงและใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ โดยทรัพยากรในที่นี้ก็คือ อุปกรณ์ต่างๆ ที่เชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องพิมพ์ ( printer ) ที่แต่ละคนสามารถเรียกใช้งานได้ทันทีผ่านเครือข่าย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทำให้การทำงานในปัจจุบันทำได้สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้การจัดการความรู้มีความสำคัญและมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในการปรับปรุง และขับเคลื่อนองค์การให้ไปสู่เป้าหมายได้

1.อินทราเน็ต (Intranet)

อินทราเน็ต คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบภายในองค์กร ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในการใช้งานอินทราเน็ตจะต้องใช้โปรโตคอลไอพีเหมือนกับอินเทอร์เน็ต สามารถมีเว็บไซต์และใช้เว็บบราวเซอร์ได้เช่นกัน รวมถึงอีเมล์ ถ้าเราเชื่อมต่ออินทราเน็ตของเรากับอินเทอร์เน็ต เราก็สามารถใช้ได้ทั้งอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ตไปพร้อมๆกัน แต่ในการใช้งานนั้น จะแตกต่างด้านความเร็ว ในการโหลดไฟล์ใหญ่ๆ จากเว็บไซต์ในอินทราเน็ต จะรวดเร็วกว่าการโหลดากอินเทอร์เน็ตมาก ดังนั้นประโยชน์ที่จะได้รับจากอินทราเน็ตสำหรับองค์กรหนึ่งคือ สามารถใช้ความสามารถต่างๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

อินทราเน็ตใช้เครือข่ายและเทคโนโลยีทีซีพี/ไอพีและเครื่องมือ ตลอดจนการบริการต่างๆของอินเตอร์เน็ตเช่น เวิลด์ไวด์เว็บ (world wide web ), อีเมล์ , เทลเน็ต และเอฟทีพี แต่เครือข่ายและบริการเหล่านี้จะใช้ได้เฉพาะภายในองค์กรเท่านั้น อินทราเน็ตจะถูกแยกออกจากระบบอินเทอร์เน็ตด้วยไฟร์วอลล์ ซึ่งเป็นส่วนผสมระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ สำหรับป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่ได้รับนุญาติเข้าสู่ระบบอินทราเน็ตได้ พนักงานซึ่งทำงานอยู่ในบริษัทนั้น สามารถเข้าใช้งานอินทราเน็ตและใช้บริการต่างๆได้ แต่ผู้บุกรุกจะถูกกันออกไปโดยไฟร์วอลล์ อินทราเน็ตจะมีทั้งซอฟต์แวร์ต่างๆที่หาได้ในท้องตลาดทั่วไป เช่น โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ ร่วมกับซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นโดยเฉพาะ

2. อินเทอร์เน็ต (Internet)

อินเทอร์เน็ต หมายถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์นานาชาติ ที่มีสารตรงต่อไปยังสถาบันหรือหน่วยงานต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ทั่วโลก ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ทางอีเมล์ สามารถสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้ อย่างไรก็ตาม มีผู้เปรียบเทียบว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเมืองทางหลวงระหว่างประเทศ แต่ละประเทศจะต้องมีถนนเข้ามาเชื่อมต่อเข้าไปในประเทศ กล่าวคือ จะต้องมีเครือข่ายภาพในรับช่วงต่ออีกทอดหนึ่ง (เช่น เครือข่ายภายในมหาวิทยาลัย องค์กร หรือเครือข่ายของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต) มิฉะนั้นก็จะใช้ไม่ได้ผล

อินเทอร์เน็ตเป็นระบบเครือขาย (Network) ที่เชื่อมโยงเครือข่ายมากมายหลายเครือข่ายเข้าด้วยกัน มนุษย์พยายามที่จะใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์มากที่สูงสุด จึงได้ทำการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถสื่อสาร แลกเปลี่ยน และใช้งานข้อมูลอื่น ๆ ร่วมกันได้โดยผ่านทางสัญญาณในระบบ จึงเกิดเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networks) ซึ่งองค์กรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา หรือห้างร้านต่าง ๆ ได้นำหลักการของระบบเครือข่ายนี้ไปติดตั้ง เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลภายในองค์กรของตน ลักษณะเครือข่ายที่ใช้งานภายในองค์กรแบบนี้เรียกว่า ระบบแลก (LAN)

2.เอ็กซ์ทราเน็ต

เครือข่ายภายนอกองค์กร หรือเอ็กซ์ทราเน็ต (Extranet) คือระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายภายในองค์กรหรืออินทราเน็ตเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายนอกองค์กร เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ของสาขาของผู้จัดจําหน่ายหรือลูกค้า เป็นต้น โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายอาจเป็นได้ทั้งการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่าง 2 จุด หรือการเชื่อมต่อแบบเครือข่ายเสมือน(Virtual Network) ระหว่างระบบอินทราเน็ตหลายๆ เครือข่ายผ่านอินเทอร์เน็ตก็ได้

ระบบเครือข่ายแบบเอ็กซ์ทราเน็ต โดยปกติแล้วจะอนุญาตให้ใช้งานเฉพาะสมาชิกขององค์กร หรือผู้ที่ได้รับสิทธิ์ในการใช้งานเท่านั้น โดยผู้ใช้จากภายนอกที่เชื่อมต่อเข้ามาผ่านเครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ตอาจถูกแบ่งเป็นประเภท ๆ เช่น ผู้ดูแลระบบ สมาชิก คู่ค้า หรือผู้สนใจทั่วๆไป เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้แต่ละกลุ่มจะได้รับสิทธิ์ในการเข้าใช้งานเครือข่ายที่แตกต่างกันไป

การเขียนแผนภาพDFD

แผนภาพ DFD (Data Flow Diagram)

ในการวิเคราะห์ระบบเชิงโครงสร้างมักจะใช้แผนภาพ DFD เป็นเครื่องมือแสดงทิศทางการส่งผ่านข้อมูลในระบบ โดยแผนภาพ DFD เป็นแผนภาพที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายที่ช่วยให้นักวิเคราะห์ระบบสามารถนำไปใช้เพื่อวิเคราะห์ระบบเพื่อเพิ่มเติมความต้องการเข้าไปใหม่ และยังสามารถนำไปใช้เพื่อการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจตรงกันระหว่างนักวิเคราะห์ระบบกับโปรแกรมเมอร์ หรือนักวิเคราะห์ระบบกับผู้ใช้ระบบ

ประโยชน์ที่ได้รับจากแผนภาพ DFD

1. เป็นแผนภาพที่ใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งที่ได้วิเคราะห์มา

2. สามารถนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างระบบย่อยและระบบใหญ่ ทำให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ต่างๆ ของระบบโดยรวมได้เป็นอย่างดี

3. เป็นเครื่องมือที่สามารถสื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันระหว่างนักวิเคราะห์ระบบ โปรอแกรมเมอร์ รวมถึงผู้ใช้ระบบ

4. ทำให้ทราบถึงข้อมูลที่ไหลไปตามกระบวนการต่าง ๆ

สัญลักษณ์ที่ใช้ในแผนภาพ DFD

แผนภาพ DFD เป็นแบบจำลองกระบวนการที่ใช้สัญลักษณ์ในการนำเสนอ ซึ่งสัญลักษณ์ที่สามารถนำมาเขียนแผนภาพ DFD จะมีทั้งของ Gane & Sarson และ Yourdon/Demarco แต่เว็บไซต์เราจะใช้แบบของ Gane & Sarson เป็นหลัก สัญลักษณ์และความหมายที่นำมาใช้เขียนแผนภาพ DFD ตามแบบของ Gane & Sarson

การนำสัญลํกษณ์มาใช้งานโดยมีเงื่อนไขว่าชื่อกระบวนการและเลขอ้างอิงกระบวนการ ต้องไม่ซ้ำกันหน่วยเก็บข้อมูล ซ้ำได้เอนทิตี้ภายนอก ซ้ำได้แต่จะใช้สัญลักษณ์พิเศษเพิ่มเติม

ส่วนประกอบของ DFD

DFD มีองค์ประกอบ 4 อย่าง ซึ่งใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ แทนดังต่อไปนี้

1.สัญลักษณ์แทนการประมวลผล (Process) เป็นวงกลม

2. สัญลักษณ์แทนกระแสข้อมูลเป็นลูกศร

3. สัญลักษณ์แทนแหล่งเก็บข้อมูลเป็นเส้นขนาน 2 เส้น โดยมีชื่อกำกับ

4. สี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งที่อยู่นอกระบบ

คำสำคัญ (Tags): #sa
หมายเลขบันทึก: 581207เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2014 15:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2014 15:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท