​พัฒนาการของการจัดการความรู้


การพัฒนาการจัดการความรู้ มีรูปแบบและวิธีการที่ใช้ได้ในหลายแนวทาง แต่ละองค์กรจะมีวิธีการจัดการกับความรู้ที่มีอยู่ภายในองค์กรที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งในการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนและการพัฒนาในเรื่องต่างๆ ดังนี้

1. ผู้นำ จะต้องตระหนักและความเข้าใจในคุณค่าของความรู้ มีการสนับสนุนให้เกิดนโยบายหรือกลยุทธ์ต่างๆ ในการจัดการความรู้ โดยให้การสนับสนุนทั้งในด้านความรู้ งบประมาณ เวลา และสถานที่ และที่สำคัญคือมีความพร้อมในการนำนโยบายหรือกลยุทธ์เหล่านี้มาปฏิบัติ

2. วัฒนธรรมองค์กร ซึ่งเป็นระบบความเชื่อและค่านิยมร่วมที่มีการพัฒนาขึ้นมาภายในองค์กรและเป็นตัวกำหนดความประพฤติและพฤติกรรมในการทำงานของบุคคลในองค์กร จึงจำเป็นที่จะต้องทำให้บุคคลทุกคนในองค์กรมีวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตในการแลกเปลี่ยนความรู้ และมีการถ่ายทอดความรู้ที่ตนเองมีอยู่ให้กับบุคคลอื่น โดยให้มีการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนกลายเป็นวิถีชีวิตของบุคคลเหล่านั้น มีการปรับเปลี่ยนแนวคิดและทัศนคติ การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ตลอดจนการสร้างให้เกิดความไว้วางใจเพื่อให้บุคคลมีความเต็มใจที่จะแลกเปลี่ยนกับบุคคลอื่น

3. เทคโนโลยีสารสนเทศ มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วทั้งองค์กร เช่น การพัฒนาระบบ เพื่อให้สมาชิกในองค์กรทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูล มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนี้เป็นกลไกหลักในการเผยแพร่ความรู้ทั่วทั้งองค์กร และมีการใช้เครื่องมือสื่อสารที่ช่วยทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลเป็นไปได้อย่างทั่วถึง และรวดเร็ว ตลอดจนการ พัฒนาระบบฐานข้อมูลที่สามารถเก็บรวบรวมความรู้ต่างๆ ขององค์กรไว้อย่างเป็นระบบ ทำให้ง่ายต่อการนำไปใช้

4. สมาชิกในองค์กร มีการเตรียมความพร้อมของ สมาชิก ก่อนที่จะเริ่มต้นการจัดการความรู้ ทั้งในเรื่องของการให้ความรู้ การประชาสัมพันธ์ถึงแนวทางในการดำเนินการในเรื่องการจัดการความรู้ เพื่อให้สมาชิกในองค์กรมีแนวคิดและแนวปฏิบัติที่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน การจัดการความรู้ มีทัศนคติที่ดีและมีความเต็มใจที่จะถ่ายทอดความรู้ไปสู่ระบบหรือบุคคลอื่น

5. การประเมินผล มีการจัดทำตัวชี้วัดความสำเร็จของการจัดการความรู้ และการประเมินกระบวนการที่ใช้ โดยเป็นการทบทวนวิธีการทำงานทั้งในด้านความสำเร็จและปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อนำผลที่ได้มาใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานใหม่

พัฒนาการของการจัดการความรู้

ขั้นที่ 1 เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีใหม่บรรลุผลสำเร็จและบรรลุเป้าหมาย

Best practice คือ วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จ เป็นผลมาจากการนำความรู้ไปปฏิบัติจริง

ขั้นที่ 2 เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของมนุษย์และมิติทางวัฒนธรรม

ขั้นที่ 3 เน้นความสำคัญของเนื้อหา (Content)

การจัดหมวดหมู่และเนื้อหาโดยให้ความสำคัญของความสามารถในการสืบค้นสารสนเทศ

พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดความรู้

  • นำมาใช้ตั้งแต่ 1950 ที่มีการนำระบบสารสนเทศแบบประมวลผลรายการ มาใช้สำหรับประมวลผลสารสนเทศที่มีลักษณะเป็นงานประจำ เป็นความรู้ระดับต่ำ
  • ศตวรรษ 1960 พัฒนาระบบสารสนเทศแบบรายงานการบริหาร (MRS) จัดทำรายงานที่จัดเตรียมรูปแบบไว้ล่วงหน้า รวมทั้งใช้สำหรับการตัดสินใจคาดการณ์ได้ล่วงหน้า เป็นความรู้ระดับต่ำถึงปานกลาง
  • 1970 ระบบสารสนเทศเพื่อการการตัดสินใจ (DSS) สำหรับตัดสินใจกลยุทธ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน ความรู้ที่ใช้ในระบบนี้เป็นระบบความรู้แบบพรรณนาให้เหตุผลในการใช้ แก้ปัญหาและตัดสินใจ
  • 1980 ระบบสารสนเทศสำหรับผู้ใช้หลายคนในองค์กรได้เผยแพร่ขึ้น ความรู้ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
  • 1990 เป็นต้นมา เทคโนโลยีสารสนเทศใช้แอพพลิเคชั่นผ่านเว็บ รวมทั้งการนำชิป (Chip) ไปฝั่งในอุปกรณ์ต่างๆ

อ้างอิง

พรธิดา วิเชียรปัญญา, "การจัดการความรู้ พื้นฐานและการประยุกต์ใช้ Knowledge management, ธรรกมลการพิมพ์, กรุงเทพฯ, 2547.

คำสำคัญ (Tags): #เพื่อการศึกษา
หมายเลขบันทึก: 581205เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2014 15:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ธันวาคม 2014 14:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท