​m-learning


m-learning

m-learning คือ การศึกษาทางไกลผ่านทางอุปกรณ์เคลื่อนที่แบบไร้สายต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ , PDA และ laptop computer

สำหรับในประเทศไทยนั้น มีการใช้ m-Learning ในการเรียนรู้ได้ทุกที่ผ่านโทรศัพท์ ได้แก่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยมีการให้บริการการเรียนการสอนผ่านโทรศัพท์มือถือ ในโครงการ RU Mobile Learning โดยมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวก และประหยัดเวลาในค่าใช้จ่าย รวมทั้งเป็นการขยายช่องทางการศึกษาหนึ่งให้แก่นักศึกษาจำนวนมากกว่า 60,000 คน นับได้ว่าเป็นการพัฒนาระบบการศึกษาของประเทศไทยไปสู่ประชาชนอย่างทั่วถึงและไร้ขีดจำกัด ด้วยระบบเครือข่ายอัจฉริยะ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักศึกษาสามารถตรวจสอบผลการเรียน หรือลงทะเบียนได้ในทุกวิชาตลอดภาคการศึกษาผ่านโทรศัพท์มือถือที่รองรับการใช้งานแบบมัลติมีเดียเสมือนนั่งเรียนอยู่ในห้องเรียน และช่วยลดปัญหาเรื่องการเดินทางไปเรียนที่มหาวิทยาลัย ซึ่งก่อให้เกิด "มิติใหม่ของวงการศึกษาไทย" ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนในสังคมฐานความรู้

รูปที่ 6.10 ระบบ m-learning ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง

จากที่ได้กล่าวไปข้างต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารสำหรับการจัดการความรู้ โดยเน้นถึงเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ที่สามารถประยุกต์ใช้กับการจัดการความรู้ เช่น ไอพีทีวี การเรียนรู้ผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นแนวโน้มของการนวัตกรรมที่จะใช้เพิ่มมากขึ้นในอนาคต เพื่อใช้การสื่อสารเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องของคนในสังคม และรองรับการพัฒนาเข้าสู่ยุค "ระบบนิเวศดิจิตอล" ของสังคมฐานความรู้ในที่สุด

m-Learning (mobile learning)

คือ การจัดการเรียนการสอนหรือบทเรียนสำเร็จรูป (Instruction Package) ที่นำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีไร้สาย (wireless telecommunication network) และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่และทุกเวลา โดยไม่ต้องเชื่อมต่อโดยใช้สายสัญญาณ ผู้เรียนและผู้สอนใช้เครื่องมือสำคัญ คือ อุปกรณ์ประเภทเคลื่อนที่ได้โดยสะดวกและสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องใช้สายสัญญาณแบบเวลาจริง ได้แก่ Notebook Computer, Portable computer, Tablet PC, Cell Phones ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

ลักษณะเด่น / ลักษณะด้อย ของการศึกษาแบบ m-learning

1. มีความเป็นส่วนตัวสูง
2. สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลาและสถานที่ เพราะใช้เทคโนโลยีแบบไร้สาย

ลักษณะด้อย

1. อุปกรณ์แบบไร้สายมีหลายรุ่น หลายยี่ห้อ คุณสมบัติของแต่ละเครื่องก็แตกต่างกัน การใช้งานก็ย่อมแตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น หน้าจอที่เล็ก หน่วยความจำที่มีจำกัดและน้อย ทำให้ไม่เอื้ออำนวยต่อการ ดาวน์โหลด ข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลรูปภาพ และเสียง ที่ต้องใช้หน่วยความจำมาก
2. ค่าใช้จ่ายสูง เพราะ
• การ ออนไลน์ ผ่านอุปกรณ์ไร้สายจำพวกโทรศัพท์มือถือและ PDA มีค่าใช้จ่ายที่มากกว่าการเล่น อินเทอร์เน็ต บนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ PC หลายเท่า
• อุปกรณ์เชื่อมต่อ (input / output ต่างๆ ) ก็ต้องเป็นอุปกรณ์เฉพาะของรุ่นใดรุ่นหนึ่งเท่านั้น ทำให้สิ้นเปลือง

อนาคตของ m-learning

เนื่องจากข้อด้อยของการเรียนรู้แบบ m-learning อุปกรณ์ไร้สายส่วนมากมีหน้าจอเล็ก , การประมวลผลช้า ,หน่วยความจำที่จำกัดและน้อยกว่าในเครื่องคอมพิวเตอร์ PC และ มีค่าใช้จ่ายที่สูงมากหากเทียบกับการเรียนรู้ทางไกลแบบอื่นๆ (d-learning และ e-learning) ข้อจำกัดเหล่านี้ทำให้การพัฒนาวิธีการเรียนรู้โดยผ่านโทรศัพท์มือถือ และ PDA นั้นอาจเติบโตได้ช้า แต่หากเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาจริงๆ การเรียนแบบนี้ ก็จะเอื้อประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวในการเรียนและสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการเข้าสังคม เรียกได้ว่าเป็นการขยายโอกาสการเรียนรู้ให้กว้างขวางขึ้น ซึ่งคาดว่าคงอีกไม่นานที่ผู้พัฒนาทั้งหลายจะสามารถผลิตอุปกรณ์ไร้สายที่เหมาะสำหรับการเรียนและวิธีการเรียนที่มีประสิทธิภาพได้

ที่มาจาก :เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการจัดการความรู้ (อ.สารภี จุลแก้ว) หน้า 19

: http://blog.prachyanun.com/view.php?article_id=122

คำสำคัญ (Tags): #​m-learning
หมายเลขบันทึก: 581191เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2014 14:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2014 15:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท