ชุมนุมนักปฏิบัติ หรือ Community of Practice ( CoP )


ชุมนุมนักปฏิบัติ หรือ Community of Practice ( CoP ) นับเป็นกุญแจสำคัญในการเคลื่อนกระบวนการจัดการความรู้ ( Knowledge Management ) ที่ทรงพลังและสร้างความยั่งยืน เนื่องจากการเกิดขึ้นของชุมชนนักปฏิบัตินั้น สะท้อนให้เห็นถึงระบบความสัมพันธ์ทางสังคมในแนวรวม ที่เชื่อว่าจะสามารถเอื้อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ( Share and Learn ) มีการพัฒนาและจัดการเพื่อยกระดับองค์ความรู้ขององค์กรหรือสังคมได้อย่างมีประสอทธิผล ซึ่งเห็นได้ว่าปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญและผู้ปฏิบัติการจัดการความรู้ในองค์การกำลังให้ความสนใจกันอย่างกว้างขวางอีกทั้งองค์การต่างๆกำลังนำแนวคิดนี้มาใช้ปฏิบัติในองค์กรอย่างจริงจัง

ความหมายของนักชุมชนปฏิบัติ
ชุมชนนักปฏิบัตินี้นิยมเรียกกันย่อๆว่า CoP หมายถึง ชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่รวบรวมกลุ่มคนซึ่งมีความรู้ความสนใจในเรื่องเดียวกัน มาร่วมแลกเปลี่ยน แบ่งปัน เรียนรู้ในเรื่องนั้นๆ ร่วมกัน เพื่อให้ได้มาในเรื่องชุมชนความรู้ในเรื่องนั้นๆ ( Knowledge Assets ) สำหรับคนในชุมชนนำไปทดลองใช้ แล้วนำผลที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิก ส่งผลให้ความรู้นั้นๆ ได้รับการยกระดับขึ้นเรื่อยๆ ผ่านการปฏิบัติ ประยุกต์ และปรับใช้ตามแต่สภาพแวดล้อมและสถาการณืที่หลากหลาย อันทำให้งานบรรลุผลดีขึ้นเรื่อยๆ


ลักษณะที่สำคัญของ CoP
- เป็นกลุ่มคนที่รวมตัวกันโดยมีความสนใจและความปรารถนา ( Passion) ร่วมกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งเรียกว่ามีประเด็นหรือกลุ่มความสนใจความรู้ร่วมกัน ( Knowledge Domain)
- มีปฏิสัมพันธ์และสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่ม เป็นชุมชนช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านต่างๆโดยเฉพาะความรู้ ซึ่งเรียกว่าชุมชน ( Community )
- มีการแลกเปลี่ยนและพัฒนาความรู้ใหม่ๆร่วมกัน และต้องมีการสร้างฐานข้อมูล ความรู้ และแนวปฏิบัติ ที่มีการแลกเปลี่ยนกันในระบบคลังความรู้ และนำความรู้นั้นไปปฏิบัติเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานอย่างต่อเนื่อง ( Practice)


รูปแบบหรือประเภทของ CoP
ชุมชนเพื่อการช่วยเหลือ ( Helping Communities ) เป็นชุมชนที่มีการร่วมแก้ปัญหาการทำงานที่ประสบในแต่ละวัน โดยช่วยกันแลกเปลี่ยนแนวคิด ประสบการณ์ และมุมมองต่างๆในกลุ่มสมาชิก
ชุมชนเพื่อการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ( Best Practice Communities ) เป็นชุมชนที่เน้นการแสวงหาพัฒนา และเผยแพร่แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศจากชุมชนอื่นๆ ปรือการสร้างแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดขึ้นมาเอง
ชุมชนเพื่อพัฒนายกระดับความรู้ ( Knowledge-stewarding Communities ) เป็นชุมชนที่มีการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ มีการจัดระเบียบความรู้และยกระดับความรู้ความคิดของสมาชิกอยู่ประจำ
ชุมชนนวัตกรรม ( Innovation Communities) เป็นชุมชนที่มีการพัฒนาแนวคิดจากการผสมผสานแนวคิดของสมาชิกที่มีมุมมองต่างกัน เพื่อหาแนวทางใหม่ๆ ในการปฏิบัติงาน หรือสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่เป็นนวัตกรรม


ปัจจัยที่สำคัญต่อความสำเร็จของ CoP
การร่วมปัญหา ( Head) สมาชิกใน CoP ต้องใส่ใจในเรื่องการแลกเปลี่ยนความรู้เป็นเรื่องสำคัญ โดยสมาชิกต้องมีพฤติกรรมในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพื่อจะนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่กัน ซึ่งจะถือว่าชุมชนนั้นยึดความรู้หรือปัญหาเป็นศูนย์กลางที่สนใจร่วมกัน
การร่วมใจ ( Heart) สมาชิกมีการเสริมสร้างสายสัมพันธ์อันดีบนพื้นฐานของการให้เกียรติ เคารพ และเชื่อถือซึ่งกันและกัน เป็นแรงผลักดัน ช่วยสร้างแรงจูงใจ และความเต็มใจในการแลกเปลี่ยนความรู้ เปิดโอกาศให้ทุกคนมีส่วนร่วม
การร่วมมือ ( hand ) สมาชิกมีการแสดงออกด้วยการกระทำหรือแสดงพฤติกรรมในลักษณะกระตือรือร้น ในการเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน อีกทั้งมีการอุทิศตัวหรือเสียสระรับผิดชอบในกิจการต่างๆของชุมชนด้วยความเต็มใจ


ประโยชน์ของ CoP
- เสริมสร้างวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขององค์กร
- เป็นแหล่งรวบรวมและเผยแพร่วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ
- เกิดโอกาศพัฒนาองค์กรอย่างก้าวกระโดด
- เกิดเครือข่ายของกลุ่มวิชาชีพต่างๆในองคฺกรและภายนอก

อ้างอิง : http://www.kmcop.com/community-of-practice/%E0%B8%...

หมายเลขบันทึก: 581184เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2014 14:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2014 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท