ระบบการจัดการความรู้


ระบบการจัดการความรู้

ในการจัดระบบการจัดการความรู้นั้น ทฤษฎีที่สำคัญที่สุดในการจัดระบบการจัดการเป็นการใช้แนวความคิดว่า ระบบการจัดการความรู้เป็นระบบที่แทรกหรือกลืนเป็นเนื้อเดียวกันกันกับงานประจำและระบบอื่นๆในลักษณะที่เรียกว่า KM Inside คือมีการจัดการความรู้แทรกอยู่ทั่วไป การจัดการความรู้จึงเป็นเครื่องมือ ซึ่งมีเป้าหมายคือผลงาน ดังนั้นจึงมีการตั้งคณะกรรมการ หรือคณะทำงานจัดการความรู้ ซึ่งถือว่าเป็นแกนนำในการจัดการความรู้กระจายอยู่ในทุกส่วนขององค์การในทุกกิจกรรมของการจัดการความรู้เป็นการพัฒนางาน พัฒนาคน และพัฒนาองค์การอย่างต่อเนื่องในภาพรวม

ดังนั้นการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงเป็นกิจกรรมแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ ซึ่งเป็นหัวใจของการจัดการความรู้ ต้องพัฒนาพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เป็นพื้นที่เสมือน (Virtual Space) ที่ง่ายต่อการใช้งานของพนักงานในองค์การ และเป็นที่จัดเก็บขุมความรู้และแก่นความรู้ บรรลุเป้าหมายขององค์การ ซึ่งระบบการจัดการความรู้มีหลายรูปแบบ ดังนี้

1.ระบบฝึกอบรม

ระบบฝึกอบรมเป็นหลักการสำคัญ คือ ไม่แยกการฝึกอบรมออกจากการปฏิบัติจริงของการจัดการความรู้ และการปฏิบัติงานประจำ และหน่วยพัฒนาบุคลากรต้องเข้ามามีส่วนดำเนินการ ซึ่งบางกรณีอาจเป็นผู้รับผิดชอบหลัก และในบางกรณีเป็นผู้ร่วมจัด

2.ระบบแทรกซึมหรือบูรณาการอยู่กับงานประจำ

ระบบการจัดการความรู้แบบนี้เป็นกลไกที่ช่วยให้หลักการเป็นจริงในเชิงปฏิบัติ ดังนี้

2.1 เป้าหมายของการจัดการความรู้ต้องสอดคล้อง หรือไปในทิศทางเดียวกับเป้าหมายขององค์กรเสมอ ทั้งในระดับองค์กร และในระดับหน่วยงานย่อย

3.ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

จะต้องมีการออกแบบระบบสารสนเทศและการสื่อสารให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้และใช้งานง่าย เพื่อการใช้ประโยชน์ดังต่อไปนี้


หมายเลขบันทึก: 581175เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2014 14:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2014 14:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท