การจัดการความรู้


ความหมายของความรู้

มีผู้ให้ความหมายของความรู้ ( Knowledge ) ทั้งในภาษาอังกฤษและภาษาไทยไว้น่าสนใจดังนี้

  • โกลด์แมน ( Goldmann, 1999 ) กล่าวว่า ความรู้ คือ การพิสูจน์ความเชื่อที่เป็นจริง
  • ดาเวนพอร์ตและพรูเซค ( Davenport & Prusak, 1998 ) กล่าวว่า ความรู้ หมายถึง ส่วนผสมของกรอบประสบการณ์ คุณค่า สารสนเทศ ที่เป็นสภาพแวดล้อม และกรอบการทำงานสำหรับการประเมินและรวมกันของประสบการณ์ และสารสนเทศใหม่
  • เอลเล ( Alle, 1997 ) ระบุว่า ความรู้ คือประสบการณ์หรือสารสนเทศที่สามารถสื่อสารและแบ่งปันกันได้
  • ดาเวนพอร์ตและพรูเซค ( Davenport & Prusak, 1995 ) ระบุว่า ความรู้ เป็นการผสมผสานของกรอบสำหรับการประเมิน และการนำประสบการณ์และสารสนเทศใหม่มาผสมรวมกัน
  • อาร์กริส ( Arghris, 1993 ) กล่าวว่า ความรู้ คือความสามารถในการปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ระบุว่า ความรู้ ( Knowledge ) คือสิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ ความเข้าใจ หรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือการปฏิบัติตามองค์วิชาในแต่ละวิชา
  • ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล ( 2549, น. 340 ) ระบุว่า ความรู้ เป็นการผสมผสานของประสบการณ์ สารสนเทศ ความเข้าใจ ทักษะ และความเชี่ยวชาญ รวมถึงสิ่งที่ได้รับการสั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน ค้นคว้า และถ่ายทอด ที่นำมาสู่การกำหนดกรอบความคิดสำหรับการประเมิน ความเข้าใจ และการนำสารสนเทศและประสบการณ์ใหม่มาผสมรวมกัน
  • จากคำนิยามข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า ความรู้ หมายถึงสิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติ และทักษะ ความเข้าใจ หรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ สภาพแวดล้อมที่สามารถสื่อสารและแบ่งปันกันได้ ผู้เขียนขอสรุปว่า "ความรู้ไม่มีนิยามที่แน่ชัดแน่นอนตายตัว จะเปลี่ยนไปตามบริบทและสภาวการณ์ และขอสรุปในมุมมองตนเองว่า ความรู้ คือสิ่งที่สั่งสมมาจากการเล่าเรียน การค้นคว้าจากประสบการณ์และทักษะ ที่สามารถสื่อสารและแบ่งปันกันได้ และการนำเอาความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการสรุป การตัดสินใจ และการคาดการณ์ข้างหน้า รวมถึงการแก้ปัญหาต่าง ๆ " ( เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมสำหรับการจัดการความรู้, ผศ.ดร.พรรณี สวนเพลง, น.15 )

พีระมิดแสดงลำดับของความรู้

ที่มา www.stou.ac.th/knowledgemanagement/aboutKM.asp

รูปที่ 1 พีระมิดแสดงลำดับของความรู้

ประเภทของความรู้

ชู ( Choo, 2000 ) ได้แบ่งประเภทของความรู้ออกเป็น 2 ประเภท

  1. ความรู้โดยนัย หรือความรู้ที่มองเห็นไม่ชัดเจน
  2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง หรือความรู้ที่เป็นทางการ
    1. ความรู้โดยนัย หรือความรู้ที่มองเห็นไม่ชัดเจน ( Tacit Knowledge ) จัดเป็นความรู้อย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งเป็นทักษะหรือความรู้เฉพาะตัวของแต่ละบุคคลที่มาจากประสบการณ์ ความเชื่อ หรือความคิดสร้างสรรค์ในการปฏิบัติงาน ( เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมสำหรับการจัดการความรู้, ผศ.ดร.พรรณี สวนเพลง, น.18 )
    2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง หรือความรู้ที่เป็นทางการ ( Explicit Knowledge ) เป็นความรู้ที่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและใช่ร่วมกันโดยอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น สิ่งพิมพ์ เอกสารขององค์กร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์ และอินทราเน็ต ( เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมสำหรับการจัดการความรู้, ผศ.ดร.พรรณี สวนเพลง, น.18 )

การปรับเปลี่ยนและสร้างความรู้จะเกิดขึ้นได้ 4 รูปแบบ ดังนี้

      1. การแลกเปลี่ยนความรู้ ( Socialization ) การแบ่งปันและสร้างความรู้โดยนัย หรือความรู้ที่มองเห็นไม่ชัดเจนจากการสร้างความรู้โดยนัย หรือความรู้ที่มองเห็นไม่ชัดเจนของผู้ที่สื่อสารกัน โดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยตรง ( เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมสำหรับการจัดการความรู้, ผศ.ดร.พรรณี สวนเพลง, น.20 )
      2. การถอดความรู้ ( Externalization ) การสร้างและแบ่งปันความรู้จากสิ่งที่เผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นการแปลงความรู้โดยนัยหรือความรู้ที่มองเห็นไม่ชัดเจนมาเป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง หรือความรู้ที่เป็นทางการ ( เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมสำหรับการจัดการความรู้, ผศ.ดร.พรรณี สวนเพลง, น.21 )
      3. ผสมผสานความรู้ (Combination) เป็นการแปลงความรู้ที่ชัดแจ้งหรือความรู้ที่เป็นทางการมาเป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง ซึ่งอาจจะเป็นการนำความรู้ที่ชัดแจ้งจากหลายๆ แหล่งความรู้ มาบูรณาการให้เป็นความรู้ที่เป็นทางการใหม่ๆ เช่น กรณีหัวหน้านักฟุตบอล ซึ่งต่อมาได้ไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิคการเล่นฟุตบอลแบบใหม่ ซึ่งเกิดจากการรวบรวมความรู้จากแหล่งต่างๆ และความรู้ของตนเอง
      4. การประมวลความรู้ (Internalization) เป็นการแปลงความรู้ที่ชัดแจ้งหรือความรู้ที่เป็นทางการมาเป็นความรู้โดยนัย หรือความรู้ที่มองเห็นไม่ชัดเจน มักจะเกิดจากการนำความรู้ที่เป็นทางการมาเป็นความรู้โดยนัย หรือความรู้ที่มองไม่ชัดเจน


ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท