Facilitator Skill Practice (2)


"บันทึกบทบาทสมมติของวงสนทนา"
(ภายใต้หัวข้อ "ประสบการณ์การทำงานชุมชน")


(1) พี่คาวี - Facilitator / เบิม - ผู้ร่วมวง

Facilitator (คาวี) : วันนี้อยากจะมาตั้งวงคุยกัน อยากขอให้เบิมเล่าเรื่องโครงการ
ผู้ร่วมวง (เบิม) : การทำโครงการในชุมชนที่สำคัญ โครงการที่ดีสามารถบูรณาการความรู้หลากหลายด้านไปพัฒนาชุมชน
Facilitator (คาวี) : แล้วเบิมเข้าไปทำอะไรบ้าง
ผู้ร่วมวง (เบิม) : เข้าไปเชื่อมโยง ชี้ให้ชุมชนเห็น และสะท้อนกลับ
Facilitator : อะไรคือภูมิใจที่สุด
ผู้ร่วมวง (เบิม) : ความภาคภูมิใจ คือ เราได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน และเราสามารถกระตุกให้ชุมชนคิด (Empowerment)
Facilitator : ได้พัฒนาตัวเองอย่างไรบ้าง
ผู้ร่วมวง (เบิม) : ได้ฝึกตนเอง ฝึกทำงานร่วมกับผู้อื่น ฝึกการเชื่อมโยง พัฒนาอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก ทำให้เราโตขึ้น

(2) เบิม - Facilitator / เงิน - ผู้ร่วมวง

Facilitator (เบิม) : ประสบการณ์การทำงานชุมชนมีอะไรบ้าง
ผู้ร่วมวง (เงิน) : ไม่มีประสบการณ์ทำงานชุมชน แต่มีประสบการณ์การทำกิจกรรมนิสิต สโมสรนิสิต ในขอบรั้วมหาวิทยาลัย จึงเกิดคำถามและนิยามกับตัวเองว่า "ชุมชนคืออะไร" ... ชุมชนของเราคือ ชุมชนในรั้วมหาวิทยาลัย หรือ นิสิตในรั้วมหาวิทยาลัย ซึ่งเราจะต้องดูแลพวกเขาให้ดูก่อน นั่นคือ ต้นน้ำ หรือ ชุมชน หรือ คณะ ของเรา จะต้องพัฒนานิสิตเหล่านี้ให้ดีก่อน เมื่อเขาดีแล้ว เวลาออกไปชุมชนภายนอก เขาก็จะมีความพร้อม ...พอออยู่ปี 4 ก็เลยได้ไปออกค่าย และก่อนจะจบปี 4 ได้ทำวิจัยเกี่ยวกับสิทธิชุมชน เกี่ยวกับการระเบิดภูเขาและการทำเหมืองหิน จึงเข้าไปดูว่าในฐานะนักกฎหมายจะเข้าไปช่วยเหลือเขาได้อย่างไรบ้าง จึงมีคำตอบว่า จะต้องเข้าไปให้ความรู้ทางด้านกฎหมายแก่ชุมชน จึงอยากเข้าไปตั้งโรงเรียนกฎหมายในชุมชน
Facilitator (เบิม) : แล้วในส่วนของโครงการรากแก้ว คิดว่าโครงการใดน่าจะเป็นโครงการที่โดดเด่น
ผู้ร่วมวง (เงิน) : โครงการบริบทเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ไม่ได้มองลึกว่าอันไหนโดดเด่นกว่ากัน แต่ทุกโครงการก็ล้วนมีจุดเด่นของตนเอง แต่อยากจะหาช่องทางว่าแต่ละโครงการจะเชื่อมต่อภาคีต่างๆได้อย่างไร

(3) เงิน - Facilitator / กล้วย - ผู้ร่วมวง

Facilitator (เงิน) : อยากให้สะท้อนแรงบันดาลใจในการทำงาน
ผู้ร่วมวง (กล้วย) : ต้องลงพื้นที่จริง ไปเอาไฟในชุมชนมาจุดพลังให้กับเรา
Facilitator (เงิน) : นอกจากการลงชุมชนแล้ว มีเรื่องอื่นอีกไหม
ผู้ร่วมวง (กล้วย) : เพื่อนร่วมงาน ... พอเรามีปัญหาหรือติดขัดอะไร เราก็จะมาปรึกษาเพื่อนร่วมงาน เขาก็จะแสดงความคิดเห็นและแนวคิดมาแลกเปลี่ยนกันเพื่อแก้ไขปัญหา

(4) กล้วย - Facilitator / จ๋อง - ผู้ร่วมวง
Facilitator (กล้วย) : นิยามของกิจกรรมจิตอาสา
ผู้ร่วมวง (จ๋อง) : จิตอาสาเริ่มต้นที่ตัวเรา ... จิตอาสาอาจเกิดขึ้นจากคำถามว่า ทำไมเราต้องทำอะไรเพื่อผู้อื่น จึงนำไปสู่คำตอบว่า เราไม่ได้อยู่คนเดียวบนโลกใบนี้นะ เราจึงอยู่คนเดียวไม่ได้ จะต้องช่วยเหลือผู้อื่นด้วย เราเป็นสัตว์สังคม
Facilitator (กล้วย) : ทำกิจกรรมจิตอาสาอะไรมาบ้างในช่วงมหาวิทยาลัย
ผู้ร่วมวง (จ๋อง) : จุดที่เปลี่ยนความคิด ตอนได้ไปเจอพี่ๆทีมงานรากแก้ว อาจารย์ได้มอบโจทย์ให้ไปช่วยดูแลพี่ทีมรากแก้ว พอได้ติดตามพี่ๆไป ก็มีคำถามเกิดขึ้นว่า ทำไมชุมชนเขาต้องพัฒนาตนเองด้วย ... แล้วก็กลับมาถามตนเองว่า เราก็มีความรู้ เรียนมหาวิทยาลัย แต่ทำอย่างไรเราจะเอาความรู้ไปช่วยคนอื่นได้
Facilitator (กล้วย) : จ๋องได้ไปทำอะไรที่พร้าวบ้าง
ผู้ร่วมวง (จ๋อง) : ผมเป็นคนที่โตในเมือง แต่พอผมได้ไปสัมผัสชุมชนชนบท ผมจึงอยากเข้าไปอยู่ แล้วไปเจอเยาวชนที่พร้าว แต่เขาไม่สนใจของดีๆในชุมชนเขาเลย จึงอยากทำอย่างไรก็ได้ให้เยาวชนในชุมชนได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของสิ่งดีๆ ของดีๆ ในหมู่บ้าน แล้วผมก็ได้เชิญวิทยากรมาสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนในชุมชน
Facilitator (กล้วย) : ได้เรียนรู้อะไรบ้าง
ผู้ร่วมวง (จ๋อง) : ได้พัฒนาตนเอง ได้รู้ว่าเราต้องพัฒนาตนเองตลอด เรียนรู้ต่อการเปลี่ยนแปลง ต้องเรียนรู้ตลอดเวลา เช่น การเรียนรู้เรื่องการทำกระบวนการ และต้องเปลี่ยน mindset ของตนเอง และได้เรียนรู้ว่าสิ่งที่เราเห็นเราเจอนี่แหละ คือ โลกของความเป็นจริง ได้รู้ว่าทฤษฎีบางอย่างอาจไม่สามารถนำมาใช้จริงได้

(5) เก้า - Facilitator / คาวี - ผู้ร่วมวง
Facilitator (เก้า) : ช่วยแบ่งปันประสบการณ์ในการทำโครงการที่ภาคภูมิใจที่สุด
ผู้ร่วมวง (คาวี) : ...ประทับใจโครงการนาโยน ของ มมส. เพราะทุนเดิมของตนเองที่ชอบเรื่องการทำนา เนื่องจากว่าเป็นลูกชาวนา และได้ภูมิใจที่ตนได้แนะนำวิธีการทำนาให้กับน้องเจมส์ มมส. ซึ่งเป็นลูกชาวนา และน้องเจมส์ก็ได้นำไปทำและได้ไปแนะนำพ่อแม่ของเขา จึงรู้สึกภูมิใจที่สามารถสร้างคนใหม่ๆขึ้นมาได้
Facilitator (เก้า) : พี่คาวีมีบทบาทในการสร้างคน อยากให้พพี่คาวีแสดงมุมมองว่า ในฐานที่่มาอยู่รากแก้ว จะทำอย่างไรที่จะสามารถสร้างคนได้จำนวนมากขึ้น
ผู้ร่วมวง (คาวี) : น่าจะกระจายศูนย์การจัดการอำนาจของรากแก้วไปในระดับภูมิภาค และมุ่งเน้นงานด้านคุณภาพมากกว่าปริมาณ

ข้อคิดเห็นจากพี่พนัสและอาจารย์ขจิต
1.การเป็น FA ทีดีต้องสังเกตอวัจนะภาษาประกอบด้วย
2.สร้างบรรยากาศที่ดีเพื่ออยากให้พูดคุย เช่น การปิดแอร์ การใช้สื่อเสียงเพลงสร้างบรรยากาศ การจัดผังการนั่ง ฯลฯ
3.การตั้งคำถามควรเป็นธรรมชาติ เช่น ทำไมถึงต้องทำโครงการนี้ มันมีแรงบันดาลใจอะไรที่ทำโครงการนี้ แล้วชาวบ้านเขามีปัญหาอย่างไรบ้างครับ แล้วทำไมเจอปัญหาอะไรบ้างครับ ฯลฯ
4.ไม่ควรทำให้ mono tone ต้องสร้างพลัง สร้างบรรยากาศในวงสนทนาด้วย เช่น งานของเราคือการสร้างคน เอ๊ แล้วเราจะเพาะพันธุ์ซุปเปอร์แมนของน้องต่ออย่างไรดี? Cloning ดีไหม ^^ หรือ ควาไม่แพ้อของเขา คือ มรรคผลแห่งการเรียนรู้ของคนอื่น
5.ตัวอย่างคำถาม เช่น ทำไมถึงทำโครงการนี้ แล้วเริ่มต้นอย่างไร ระหว่างทำเจออะไรบ้าง (Process/How to) อะไรคือสาเหตุของปัญหา มันสำเร็จเพราะอะไร อะไรทำให้มันไม่สำเร็จ ใครเป็นภาคีช่วยบ้าง แล้วจะเดินต่ออย่างไร คุณได้เรียนรู้อะไร แล้วสิ่งที่ได้เรียนรู้จะนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง
6.FA อาจหยิบยกคำถม สุภาษิต เข้ามาประกอบ สร้างบรรยากาศ
7.แทรกระหว่างพูดได้ แต่ต้องดูจังหวะ ให้เกียรติ เป็นธรรมชาติ
8.FA ต้องสังเกตพฤติกรรมของคนโดยรอบ ไม่ใช่ผู้พูดอย่างเดียว ต้องสังเกตผู้ฟังด้วย
9.FA ต้องมีปฏิกิริยาและมีแววตาที่ดีต่อคนเล่า
10.ชวนคนอื่นเติมข้อมูล เติมกำลังใจ และเชิดชู
11.เป็นธรรมชาติ
12.การถอดบทเรียน ต้องถอดตอนสดๆ ตอนร้อนๆ ... ตรงนี้สำคัญมากๆ
13.เมื่อทุกคนพูดจบแล้ว ... FA ควรยึดโยงและพูดสรุปว่ามันมีประเด็นอะไรบ้าง

คำถามเพิ่มเติม

การคุมและบริหารเวลา
- กำหนดกติกาก่อนเริ่มสนทนา เช่น เราจะคุยกันในประเด็นต่อไปนี้นะครับ ขอให้ช่วยรักษาเวลากันนิดนึงนะครับ
- ถ้าเป็นผู้ใหญ่มากๆ แล้วเขาพูดเกินเวลา เทคนิด การแทรกโดยการขยับร่างกาย การพูด "ครับ" บ่อยๆ จะสามารถช่วยได้

ประเด็นที่เราอยากได้รับจากเวที
- เป็นสิ่งที่ต้องเตรียมการ และผู้จัดจะต้องส่งให้ FA เพื่อไปออกแบบก่อนเสมอ แล้ว FA จะออกแบบวิธีการที่เหมาะสมเพื่อใช้จัดการกับแขกรับเชิญที่เชิญมาเข้าร่วมการสนทนา

หมายเลขบันทึก: 581134เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2014 13:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2014 13:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

บันทึกนี้เป็นการรายงานสดเลยครับ

ขอบคุณมากๆครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท