โมบายเลิร์นนิ่ง (Mobile-Learning) (K.M.)


โมบายเลิร์นนิ่ง (Mobile-Learning)

ในช่วงปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา การศึกษาแบบ e-Learning หรือบางคนอาจจะเรียกว่าการเรียนแบบออนไลน์ (Online Learnning) ได้รับความนิยมจากวงการศึกษาเรื่อยมา จนถึงปัจจุบันหลายท่านอาจจะคิดว่าการเรียนแบบออนไลน์นั้นคงเป็นเทคโนโลยีสุดท้ายที่ทันสมัยที่สุด

แต่เมื่อเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless) ได้เข้ามามีบทบาทและเติบโตอย่างมากในช่วงเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา อุปกรณ์แบบไร้สายต่างๆ ได้เข้ามาแทนที่อุปกรณ์แบบมีสาย (Wired) ที่เราเห็นได้ชัดเจนคือ โทรศัพท์มือถือ เมื่อมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีแบบไร้สาย เทคโนโลยีสำหรับอุปกรณ์ไร้สายต่างๆ ก็ถูกพัฒนาตามขึ้นไปด้วย ซึ่งได้แก่ Bluetooth, WAP(Wireless Application Protocol), GPRS (General Packet Radio System) และ UMTS (Universal Mobile Telecommunications System) เมื่อเทคโนโลยีได้ก้าวหน้าไป วิธีการศึกษาหาความรู้ก็ถูกพัฒนาตามไปด้วย ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาการเรียนรู้ผ่านทางโทรศัพท์มือถือหรือที่เรียกว่า m-Learning จึงเกิดขึ้น

โมบายเลิร์นนิ่งเป็นการพัฒนาอีกขั้นของ e-Learning เป็นการผสมผสานที่ลงตัวของการพัฒนาการศึกษาเรียนรู้ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วย เทคโนโลยีที่กล่าวถึงนี้ก็คือ เทคโนโลยีสื่อสารแบบไร้สาย เราเรียกการเรียนแบบนี้ว่า Wireless Learning, Mobile Learning หรือ m-Learning ดั้งนั้น m-Learning คือการศึกษาทางไกลผ่านทางอุปกรณ์เคลื่อนที่แบบไร้สาย ต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ ,PDA และแล็ปทอป โดยมีแอปพลิเคชั่นที่สำคัญต่างๆ เช่น มีคีบอร์ด เป็นการเรียนรู้ผ่านระบบ m-Learning โดยเน้นที่การทำกิจกรรมเป็นกลุ่มเพื่อส่งและรับข้อมูลแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างเพื่อนร่วมชั้นและครูผู้สอน

โดยสามารถส่งข้อมูลที่เป็นภาพ เสียง มัลติมีเดีย เว็บไซต์ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาหาหรือที่เรียกว่า Problem-Based Learning ได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ยังมีการเรียนรู้ผ่านเครื่อง PDA ซึ่งผู้เรียนสามารถที่จะเชื่อมต่อเข้าสู่แหล่งเรียนรู้ผ่านเครื่อง PDA ที่มีความสามารถที่จะเล่นแอนิเมชั่น ระบบเสียง และคลิปต่างๆ เพื่อทำให้สะดวกต่อผู้เรียนในการที่จะเป็นเครื่องมือในการทำโครงงาน และสืบค้นข้อมูลเพื่อมาสนับสนุนการศึกษาและวิจัย


สำหรับในประเทศไทยนั้น มีการใช้ m-Learning ในการเรียนรู้ได้ทุกที่ผ่านโทรศัพท์ ได้แก่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยมีการให้บริการการเรียนการสอนผ่านโทรศัพท์มือถือ ในโครงการ RU Mobile Learning โดยมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวก และประหยัดเวลาในค่าใช้จ่าย รวมทั้งเป็นการขยายช่องทางการศึกษาหนึ่งให้แก่นักศึกษาจำนวนมากกว่า 60,000 คน นับได้ว่าเป็นการพัฒนาระบบการศึกษาของประเทศไทยไปสู่ประชาชนอย่างทั่วถึงและไร้ขีดจำกัด ด้วยระบบเครือข่ายอัจฉริยะ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักศึกษาสามารถตรวจสอบผลการเรียน หรือลงทะเบียนได้ในทุกวิชาตลอดภาคการศึกษาผ่านโทรศัพท์มือถือที่รองรับการใช้งานแบบมัลติมีเดียเสมือนนั่งเรียนอยู่ในห้องเรียน และช่วยลดปัญหาเรื่องการเดินทางไปเรียนที่มหาวิทยาลัย ซึ่งก่อให้เกิด “มิติใหม่ของวงการศึกษาไทย" ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนในสังคมฐานความรู้

รูปที่ตัวอย่าง

จากที่ได้กล่าวไปข้างต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารสำหรับการจัดการความรู้ โดยเน้นถึงเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ที่สามารถประยุกต์ใช้กับการจัดการความรู้ เช่น ไอพีทีวี การเรียนรู้ผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นแนวโน้มของการนวัตกรรมที่จะใช้เพิ่มมากขึ้นในอนาคต เพื่อใช้การสื่อสารเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องของคนในสังคม และรองรับการพัฒนาเข้าสู่ยุค "ระบบนิเวศดิจิตอล" ของสังคมฐานความรู้ในที่สุด

สรุป

นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเครื่องมือที่องค์กรใช้ในการจัดการความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้องค์กรสามารถจัดหา จัดเก็บ แบ่งปัน และเผยแพร่ความรู้และสารสนเทศได้อย่างสะดวก ง่าย และ เห็นผลอย่างรวดเร็ว ช่วยในการสร้างคลังความรู้ ซึ่งสามารถจัดเก็บและค้นคืนความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากสถานที่ใดหรือในเวลาใดก็ได้ ช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อล่อสาร เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านเครื่องมือต่างๆ เช่น อีเมล เว็บบอร์ด

จากความเป็นมาและพัฒนาการพบว่า ปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมที่สนับสนุนการจัดการความรู้ ได้แก่ เทคโนโลยีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินทราเน็ต อินเทอร์เน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต และเว็บบล็อก รวมถึงเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ เช่น ไอพีทีวี (IPTV) เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สารในรูปแบบต่างๆ เช่น การเรียนรู้ผ่านโทรศัพท์มือถือ (m-Learning) และแนวโน้มของการใช้เทคโนโลยีในอนาคตนั้น จะเน้นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาร เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้เปิดรับข้อมูล ข่าวสารความรู้ต่างๆ จนเข้าสู้ "ระบบนิเวศดิจิตอล" ที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อจากยุคของการจัดการความรู้ต่อไป

หมายเลขบันทึก: 581071เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2014 00:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ธันวาคม 2014 12:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท